นวดแผนไทย มรดกภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย

การนวดแผนไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการยืดเส้น และการกดจุด ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “นวดแผนโบราณ” โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยและส่งทอดมาจนถึงปัจจุบัน การนวดแผนไทยแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์

  • การนวดแบบราชสำนัก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของการนวดนี้คือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่อยู่ในรั้วในวัง ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือและมือเท่านั้น และท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย มีข้อกำหนดในการเรียนมากมาย ผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะได้ทำงานอยู่ในรั้วในวังเป็นหมอหลวง มีเงินเดือนมียศมีตำแหน่ง
  • การนวดแบบเชลยศักดิ์ เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้านด้วยท่าทางทั่วไป ไม่มีแบบแผนหรือพิธีรีตองในการนวดมากนัก อีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆ เช่น เข่า ศอก เท้า เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการนวดแบบราชสำนักที่เน้นการใช้มือเพียงอย่างเดียว

นวดแผนไทย ได้รับการสืบทอดกันมานาน ซึ่งถือเป็นศาสตร์และศิลป์ ช่วยในเรื่อง สุขภาพของคนไทย แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอันทันสมัยของการแพทย์ แผนปัจจุบัน จะมีบทบาทสำคัญ ในการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลก แต่หลายคนก็ยัง เสาะแสวงหาทางเลือกอื่น ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ด้วยเหตุผลแตกต่างกัน การ แพทย์แผนไทย เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการดุแลสุขภาพ และได้รับความนิยม มากขึ้นเรื่อย ๆ

ปัจจุบันมีการใช้ยาแก้ปวด และยากล่อมประสาทหายชนิด และมีผลแทรกซ้อนจาก ยาแก้ปวดบางชนิดค่อนข้างรุนแรง เช่น ทำให้ปวดท้อง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร อาเจียนเป็นเลือด

จากงานวิจัยที่สนับสนุนว่าการนวดแผนไทย สามารถช่วยบรรเทาอาการปวด อันมีประโยชน์ คือ

  1. ด้านสุขภาพ ผู้ได้รับการนวดจะได้ผลทั้งร่างกายและจิตใจ ผลทางกายคือการนวดทำให้เกิด อาการไหลเวียนของเลือดลมดีขึ้นช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ผังผืด ช่วยการทำงานของข้อต่อดีขึ้นและใช้อายุการใช้งานยาวนนานขึ้น กระตุ้นระบบประสาท การตื่นตัว ตอบสอนอง ต่อสภาพแวดล้อมดีขึ้นและยังทำให้ทำงานมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และยังเป็นการป้องกันและบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอกกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดศีรษะ หลังตึง ข้อแพลง โรค อัมพฤตและอื่น ๆ ทำให้รู้สึกสดชื่น แจ่มใส ผ่อนคลายจิตใจ
  2. ด้านสังคม หากเป็นการนวดของคนในครอบครัว หรือสังคม มีส่วนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดความเข้าใจ ความเอื้ออาทรรักใคร่ ในระหว่างการนวดมีการพูดคุย ช่วยผ่อนคลายลง นับเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว และ สังคมอีกด้านหนึ่ง

การนวดเป็นศิลปะของการสัมผัสที่สร้างความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลาย ทำให้เรารู้สึกสดชื่น คลายความเมื่อยล้า ทั้งร่างกายและจิตใจ

ความเป็นมา นวดแผนไทย

เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ผ่านมาทางประเทศจีน และเข้ามาสู่เมืองไทย โดยการนำ ของพระสงฆ์ หลักฐานการนวดที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึก ที่ขุดพบที่ป่ามะม่วง ในสมัย พ่อขุนรามคำแหง

ในสมัยโบราณนั้น ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ และการนวดของไทย จะสั่งสอนสืบต่อกัน เป็นทอด ๆ โดยครูจะรับศิษย์ไว้ แล้วค่อยสั่งค่อยสอนให้จดจำความรู้ต่าง ๆ ซึ่งความรู้ ที่สืบทอดกันมานั้น อาจเพิ่มขึ้น สูญหาย หรือผิดแปลกไปบ้าง ตามความสามารถของครู และศิษย์ที่สืบทอดกันมา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช การแพทย์แผนไทยนั้น เจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนวดแผนไทย จากหลักฐานทำเนียบศักดินา ข้าราชการฝ่ายทหาร และพลเรือน ทรงโปรดให้มีการ แต่งตั้งกรมหมอนวด ให้บรรดาศักดิ์เป็นปลัดฝ่ายขวา มีศักดินา 300 ไร่ ฝ่ายซ้ายมีศักดินา 400 ไร่ หลักฐานจากจดหมายเหตุราชฑูตลาลูแบร์ ประเทศฝรั่งเศส ในบันทึกเรื่องหมอนวดในแผ่นดินสยาม มีความว่า “ในกรุงสยาม นั้น ถ้ามีใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มทำเส้นสายยืด โดยผู้ชำนาญทางนี้ ขึ้นไปบนร่างกายคนไข้แล้วใช้เท้าเหยียบ”

ในสมัยรัตนโกสินทร์ การแพทย์แผนไทยได้สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา แต่เอกสารและวิชาความรู้บางส่วน สูญหายไปในช่วง ภาวะสงคราม ทั้งยังถูกจับเป็นเชลยส่วนหนึ่ง เหลือหมอพระตามหัวเมืองจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้ระดมปั้นรูปฤาษีดัดตน 80 ท่า และจารึกสรรพวิชาการนวดไทย ลงบนแผ่นหินอ่อน 60 ภาพ แสดงจุดนวดต่าง ๆ อย่างละเอียด ประดับบนผนังศาลาราย และบนเสาภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาโดยทั่วกัน

ต่อมาใน พ.ศ.2375 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ ทรงให้ หล่อรูปฤษีดัดตน เป็นโลหะ และทรงให้รวบรวมตำราการนวด และตำราการแพทย์ จารึกในวัดโพธิ์ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชน ทั่วไปศึกษา และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

ใน พ.ศ. 2397 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้หมอนวดและหมอยา ถวายการรักษาความเจ็บป่วยยาม ทรงพระประชวร แม้เสด็จประพาสแห่งใด ต้องมีหมอนวดถวายงานทุกครั้ง

ใน พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯให้แพทย์หลวงทำการสังคายนา และแปลตำราแพทย์จาก ภาษาบาลี และสันสกฤตเป็นภาษาไทย เรียกว่าตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ฉบับหลวง)

ประเภทของการนวดแผนไทย
การนวดแผนไทย ทำให้สุขภาพดี ผ่อนคลาย ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่

  1. นวดน้ำมัน
    การนวดร่างกายโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เช่น โจโจบา อัลมอนด์ และกลิ่นหอมจากธรรมชาติ ช่วยให้สดชื่น ผ่อนคลาย และคลายเครียด ด้วยกลิ่นหอม เฉพาะทางที่ใช้ในการบำบัดอาการให้เบาบางลง เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเครียด หดหู่ นอกจากนี้น้ำมันบริสุทธิ์ยังช่วยบำรุงผิว และกระชับรูปร่าง ทำให้กล้ามเนื้อไม่ หย่อนยาน สลายไขมันตามร่างกาย ความร้อนของน้ำมันที่เกิดจากการนวด จะซึมซาบ ลึกเข้าไปผิวหนังและกล้ามเนื้อ ช่วยให้รู้สึกเบาสบายตัว
  2. นวดผ่อนคลาย
    การนวดผ่อนคลาย เป็นการนวดที่ถูกสุขลักษณะตามแบบแผนไทยโบราณ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิด การไหลเวียนของเลือดลม คลายกล้ามเนื้อที่ล้า รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย คลายเครียด เคล็ดขัดยอก ช่วยให้สุขภาพ กระปรี้กระเปร่า จิตใจผ่อนคลาย
  3. นวดฝ่าเท้า
    การนวดเฝ่าเท้า นวดเท้า เป็นการปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยให้ระบบการไหวเวียนไปยังอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ ปรับสภาวะสมดุลของร่างกายทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
  4. นวดสปอร์ท
    การออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป อาจทำให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน หรืออาการล้า การนวดสปอร์ท จึงเป็นการนวดคลายกล้ามเนื้อดังกล่าว ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  5. นวดจับเส้น
    การนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อ การยึดติดของพังผืดของร่างกายให้ทุเลา ผ่อนคลาย
  6. นวดสลายไขมัน – อโรมา
    เป็นการนวดน้ำมัน เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย
  7. นวด – ประคบ
    เป็นการใช้ลูกประคบสมุนไพร ประคบตามร่างกาย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึงหรือเครียดให้สบาย
  8. นวด – ไมเกรน
    เป็นการนวดเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ โดยจะกดจุดบริเวณศีรษะที่ปวด

thaimassagef

วิธีการนวดแผนไทย
การนวดแผนไทย ทำให้สุขภาพดี ผ่อนคลาย ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่

  1. การกด
    เป็นการใช้น้ำหนักกดบนเส้นพลังงานบนกล้ามเนื้อโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วโป้งกดนวด เป็นวงกลม , ฝ่ามือกดเป็นวงกลม และกดเส้นพลังงานและ ใช้น้ำหนักตัวกด นิ้วและหัวแม่มือ หัวเข่า ฝ่าเท้า ทำการยืดเส้น ทำให้หลอดเลือดขยาย การไหลเวียนของเลือด ระบบประสาร การทำงานของอวัยวะต่างๆดีขึ้น
  2. การบีบ
    เป็นการใช้น้ำหนัก บีบกล้ามเนื้อให้เต็มฝ่ามือเข้าหากันโดยการออกแรง สามารถ ใช้นิ้วหัวแม่มือช่วยหรือการประสานมือเพือเพ่ิมการออกแรง เป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเลือด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  3. การทุบ/ตบ/สับ
    ใช้มือและกำปั้นทุบกล้ามเนื้อเบาๆเป็นการผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อและให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้นและเป็นการช่วยขจัดของเสียออกจาก ร่างกาย
  4. การคลึง
    เป็นการใช้น้ำหนักกดคลึงบริเวณกล้ามเนื้อโดยการหมุนแขนให้กล้ามเนื้้อเคลื่่อนหรือคลึงเป็นวงกลม ใช้แรงมากกว่าการใช้ข้อศอก
  5. การถู
    โดยใช้น้ำหนักนวดถูไปมา หรือวนไปมาเป็นวงกลม บนกล้ามเนื้อเพื่อช่วยผ่อนคลายยอาการปวดเมื่อยเฉพาะจุด หรือตามข้อต่อต่างๆ
  6. การหมุน
    โดยการออกแรงหมุนข้อต่อกระดูกวนเป็นวงกลม ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น ผ่อนคลาย
  7. การกลิ้ง
    เป็นการใช้ข้อศอกและแขนท่อนล่าง กดแรงๆในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่นต้นขา
  8. การสั่น/เขย่า
    ใช้มือเขย่าขาหรือแขนของผู้ถูกนวด เพื่อช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปในตัว
  9. การบิด
    ลักษณะคล้ายการหมุน แต่เป็นการออกแรงบิดกล้ามเนื้อกับข้อต่อให้ ยืดขยายออกไปในแนวทแยง ทำให้กล้ามเนื้อยืด
  10. การลั่นข้อต่อ
    เป็นการออกแรงยืดข้อต่อให้เกิดเสียงดังลั่น ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อทำงานดีขึ้น
  11. การยืดดัดตัว
    โดยใช้ฝ่าเท้า เป็นการออกแรงยืดกล้ามเนื้อข้อต่อให้ยืดขยายออกไปทางยาว ช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยืดคลายตัว
  12. การหยุดการไหลเวียนของเลือด
    ใช้ฝ่ามือกดที่จุดชีพจรที่โคนขาเพื่อหยุดการไหลเวียนของเลือดชั่วขณะกดไว้ประมาณครึ่่งถึง1นาทีแล้วค่อยๆปล่อยช้าเพื่อให้เลือด กลับหมุนเวียนดีขื้น

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น