นางแย้มอยู่ในกลุ่มของไม้พุ่ม ไม้ประดับ ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นไม่สูงมาก ประมาณ 1-3เมตร ตามลำต้น กิ่งก้านมีขนอ่อนขึ้น ใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบค่อนข้างใหญ่ แผ่นสีเขียวรูปหัวใจ ที่ขอบใบเป็นหยัก ผิวใบสาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum chinense (Osbeck) Mabb.
ชื่อพ้อง : Volkameria fragrans Vent.
ชื่อสามัญ : Glory Bower
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : ปิ้งหอม คนภาคเหนือจะเรียก ปิ้งชะมด ปิ้งซ้อน หรือปิ้ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
ดอก ดอกสีขาว บางดอกเจือสีม่วงอ่อนๆ เล็กน้อย จะออกเป็นหลายๆ ดอกรวมกันเป็นกลุ่มก้อนแน่น เหมือนกับใครเอาดอกมะลิซ้อนหลายสิบดอกมารวมกันเป็นก้อนแน่น ดอกจะออกที่ปลายกิ่ง ในช่อดอกจะบานไม่พร้อมกัน ดอกที่อยู่ด้านนอกจะบานก่อน หลังจากนั้นดอกที่อยู่ในถึงจะบานออกมา บานนานหลายวัน กลิ่นหอมเย็นๆ (สำหรับตัวเองรู้สึก ไม่ฉุนรุนแรงอะไรเท่าไหร่) ออกดอกตลอดทั้งปี กลิ่นจะหอมแรงขึ้นช่วงเช้ามืดกับตอนค่ำๆ ยิ่งคืนที่มีฝนตกลงมา ตอนเช้าๆ จะได้กลิ่นดอกนางแย้ม หอมเย็นโล่งๆ จมูก
ส่วนที่ใช้ : ต้น ใบ และราก
สรรพคุณ
ใบ – แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
ราก
– ขับระดู ขับปัสสาวะ
– แก้หลอดลมอักเสบ ลำไส้อักเสบ
– แก้เหน็บชา บำรุงประสาท รวมทั้งเหน็บชาที่มีอาการบวมช้ำ
– แก้ไข้ แก้ฝีภายใน
– แก้ริดสีดวง ดากโผล่
– แก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง
– แก้ปวดเอว และปวดข้อ แก้ไตพิการ
ตำรับยา และวิธีใช้
สารเคมีที่พบ : มี Flavonoid glycoside, phenol, saponin และ Tannin
การดูแลรักษา
นางแย้มเป็นต้นไม้ที่ต้องการการดูแลทั่วๆ ไป ยกเว้นเรื่องน้ำที่ต้องสม่ำเสมอหน่อย ขาดน้ำไม่ค่อยได้ ส่วนเรื่องโรคภัยหรือแมลงไม่ค่อยมีรบกวนเท่าไหร่ เป็นต้นไม้ที่ชอบดินร่วนซุย ชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับแฉะเป็นดินเหนียว ชอบอยู่กลางแจ้งหรือโดนแดดครึ่งวัน ตามประสาไม้ดอกทั่วไปที่ต้องการแสงแดดถึงจะออกดอกให้เห็น ถ้าปลูกอยู่กลางแจ้งจะออกดอกใหญ่สวยกว่าปลูกอยู่ใต้ร่มต้นไม้หรือชายคาบ้าน
การขยายพันธ์ วิธีที่นิยมกันมากที่สุดก็คือขุดไหลหรือราก หรือจะปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่งก็ได้แต่ไม่นิยมเท่าไหร่
ป้ายคำ : ไม้ดอก