น้ำนมหมัก เร่งติดดอกผล

2 กุมภาพันธ์ 2559 จุลินทรีย์ 0

น้ำนมหมัก เป็นการนำสิ่งที่มีใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน มาทำฮอร์โมนเร่งพืชผักให้ติดดอก ลดรายจ่ายไม่ต้องไปซื้อฮอร์โมนเร่งติดดอกจากร้านค้า เพื่อการพึ่งพาตนเอง แบบเศรษฐกิจพอเพียง

น้ำหมักจากน้ำนมสัตว์นี้ เกิดจากแบคทีเรียกลุ่มที่ดำรงชีพโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน อยู่ได้ในสภาพที่มีอุณหภูมิสูงและเจริญเติบโตได้ในสภาพที่มีธาตุอาหารต่ำ ซึ่งแบคทีเรียนี้จะทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแล้วเปลี่ยนเป็น “กรดแลกติก” โดยปกติแล้วจะพบมากในน้ำซาวข้าว และน้ำนม

กรดแลกติก นี้ จะช่วยส่งเสริมการระบายอากาศในดิน สามารถช่วยในการพรวนดินในระดับลึก ในดินที่ไม่มีออกซิเจน จึงทำให้ดินร่วนและโปร่งขึ้น และส่งเสริมการเจริญเติบโตของไม้ผลและพืชผักกินใบได้อย่างยอดเยี่ยม กรดแลกติกนี้ จะมีค่า pH ในระดับ 2 ซึ่งจะช่วยในการฆ่าเชื้อโรค ช่วยย่อยสลายและดูดซับแร่ธาตุให้ยึดเกาะกับเม็ดดิน จึงไม่มีการสูญเสียจากการชะล้างโดยน้ำ และเมื่อพืชดูดไปใช้ กรดแลกติกจะช่วยให้ต้นพืชมีความต้านทานโรคมากขึ้น และสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรเป็น 2 เท่า

วัสดุอุปกรณ์

  1. ถังหมักทึบแสง มีฝาปิด
  2. น้ำซาวข้าว หรือน้ำล้างข้าวสารก่อนหุงข้าว เก็บไว้ 15 ช.ม. จำนวน 1 ส่วน
  3. นมกล่อง หรือนมสด หรือนมผง จำนวน 10 ส่วน
  4. รำข้าวแบบละเอียด 1 ก.ก.
  5. น้ำตาลทรายแดง 1/2 ก.ก.
  6. กระดาษหนังสือพิมพ์ 2 แผ่น
  7. สายยางกาลักน้ำ หรือกระบอก สลิ้งดูดน้ำ

วิธีทำ
1. นำน้ำซาวข้าวที่เก็บไว้แล้ว 15 ช.ม. ใส่ถังหมัก แล้วโรยหน้าด้วยรำข้าว (ไม่ต้องใช้ไม้พายคน) ให้หนาประมาณ 2 ข้อมือ เพื่อล่อให้จุลินทรีย์ในอากาศมาลงที่รำข้าวที่โรยไว้

nammaknomp1
2. ปิดถังหมักน้ำซาวข้าวด้วยหนังสือพิมพ์ หมักทิ้งไว้นาน 7 วัน
3. ผ่าน 7 วันแล้ว ดูดเอาน้ำซาวข้าวใสๆ ที่อยู่ตรงกลางถังหมัก ด้วยสลิ้ง หรือกาลักน้ำด้วยสายยาง

nammaknomp2
4. นำน้ำซาวข้าวที่ดูดน้ำใสมาแล้ว 1 ส่วน ผสมนม 10 ส่วน เติมน้ำตาลกรวดแดงครึ่ง ก.ก. หมักปิดฝานาน 3 เดือน

nammaknomp3

การนำไปใช้
เมื่อหมักนาน 3 เดือนแล้ว ให้นำน้ำฮอร์โมนน้ำนม ดูดเอาน้ำใสตรงกลาง 1 ส่วน ผสมน้ำเปล่า 20 ส่วน หรือประมาณน้ำเปล่า 1 ลิตร น้ำนมหมัก 5 ช้อนแกง ฉีดพ่นทรงพุ่มพืชที่โตใกล้ออกดอก เช่น แตงกวา พริก มะเขือเปราะ มะเขือเทศ ถั่วต่างๆ ฟักทอง ให้ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น ทุกๆวัน จะติดดอกผลดกดีมาก

nammaknomp nammaknomd

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด จุลินทรีย์

แสดงความคิดเห็น