คือ น้ำมันที่ได้โดยไม่ผ่านความร้อน (cold press coconut oil) ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสดเป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำ มีวิตามินอี และไม่ผ่านขบวนการเติมออกซิเจน (oxidation) และที่สำคัญกรดล อริกใน น้ำมันมะพร้าวมีกรดลอริก อยู่ประมาณ 54.61% กรดนี้มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมันมีความสามารถพิเศษคือสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าว จะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ ที่มีชื่อว่า โมโนลอริน ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรกที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เด็กระยะแรกเกิด ไม่ค่อยเป็นโรคอะไร ฆ่าเชื้อโรค โมโนลอรินเป็นสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตชัว และไวรัส รวมทั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว
การทำน้ำมันมะพร้าว สกัดเย็น 100% ด้วยวิธีการหมัก
วิธีทำ
- นำเนื้อมะพร้าวแก่ 1 ส่วน มะพร้าวต้องแก่ สมบูรณ์ ไม่มีงอก ไม่ใกล้เสีย ไม่มีสิ่งเจือปน ถึงจะสกัดได้น้ำมันมะพร้าว
- น้ำอุ่น 1 ส่วนหรือประมาณเท่ากัน
- คั้นด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้ได้น้ำกะทิ
- กรองด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง
- นำน้ำกะทิที่ได้ทั้งหมดเทใส่ภาชนะทรงกระบอก เช่น หม้อ ขวดโหล โถ เหยือกน้ำ หรือขวดน้ำเปล่าที่สะอาด
- ปิดฝา ตั้งวางไว้ในบ้านอุณหภูมิปกติ หัวกะทิจะค่อยๆลอยขึ้นด้านบน
- ประมาณ 12 ชั่วโมง จะเห็นน้ำมันใส หากหมักด้วยภาชนะใส
- ถ้าเป็นภาชนะทึบ ให้เปิดฝ้าครีมกะทิด้านบนดู หากใส่ภาชนะใสหมัก
จะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็น 5 ชั้น คือ
- ครีมฝ้าบางๆ
- น้ำมันมะพร้าวใส
- ครีมกะทิที่ไม่เป็นน้ำมัน
- น้ำหมัก
- ตะกอน
เตรียมภาชนะกรอง
ถ้วยทนความร้อน(เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลี่ยนตอนจะระเหยน้ำ)หรือหม้อใบเล็ก ฯ นำกระชอนหรือตะแกรง วางบนปากถ้วยฯ แล้วนำผ้าขาวบางพับ 8 ชั้น (มากชั้นเพื่อให้ได้น้ำมันใสไม่มีตะกอน) หรือใช้กระดาษชนิดกรองกรองน้ำมัน
1. ตักครีมฝ้าชั้น1 บน ใส่ถ้วยไว้
2. ค่อยๆตักชั้น 2 น้ำมันใส ที่อยู่บนครีมกะทิ ขึ้นมากรอง ให้หมด
3. ตักครีมกะทิชั้น 3 ที่ไม่เป็นน้ำมันจะลอยอยู่บนน้ำหมัก ใส่รวมไว้ในถ้วยที่ใส่ ชั้น 1 ไว้
4. น้ำหมักที่ชั้น 4 และชั้น 5 ตะกอน ทิ้ง หรือทำปุ๋ย
5. รอน้ำมันบนภาชนะกรองหยดจนหมด
การระเหยน้ำ
- นำน้ำใส่หม้อต้มให้เดือด นำตะแกรงวางบนปากหม้อ หรือใช้หม้อซึ้ง พอน้ำเดือดแล้วเบาไฟ นั่นคือเตรียมการตุ๋น
- นำน้ำมันมะพร้าวใสที่ได้จากการกรองขึ้นวางบนตะแกรง ใช้ช้อนช่วยคนเพื่อให้ความชื้นหรือน้ำที่ปนมาระเหยออกไปเร็วขึ้น จะมีฟองอากาศเดือด ทำจนไม่มีฟองอากาศ ก็ปิดไฟ หรือจะตั้งภาชนะที่มีน้ำมันลงในน้ำที่เดือดเบาๆ โดยไม่วางบนตะแกรง ก็ได้เช่นกัน
- น้ำมันที่ระเหยน้ำแล้ว ใช้ได้ทันที แต่ถ้านำไปจำหน่าย หรือ เป็นของฝาก ของเยี่ยม ฯ หลังจากระเหยน้ำเสร็จแล้วตั้งวางไว้ ประมาณ 7 วัน จนมั่นใจว่า ไม่มีความชื้น และตะกอน จึงค่อยนำน้ำมันมะพร้าวใสบรรจุขวด ซึ่งจะเก็บไว้ได้นานมากกว่า 1 ปี คงสภาพเดิม คุณภาพเยี่ยม
หากไม่ทำการระเหยน้ำต้องใช้ให้หมดเร็ว ถ้าเก็บไว้นาน น้ำมันจะเหม็นตึ เหม็นหืน และเกิดเชื้อรา ถึงแม้จะใส่ตู้เย็น ก็เหม็น และเกิดเชื้อรา
ครีมกะทิจากการหมัก
- จากชั้น 1 และชั้น 3 ที่ไม่เป็นน้ำมัน และบน-ในผ้าขาวบาง
- ให้บิด แล้วนำลงกระทะทั้งหมด
- เปิดไฟอ่อนๆเคี่ยว จนเนื้อครีมกะทิเป็นสีน้ำตาลอ่อน
- ปิดไฟ รอจนเย็นก็ตักกรอง จะได้น้ำมันใสไว้ใช้ได้อีกส่วนหนึ่ง
- หมักในภาชนะที่หาง่ายสะดวกไม่ต้องล้างก็ได้
วิธีการเก็บรักษาน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวจะเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องสาเซ็นเซียส (ไม่ได้เสีย) และจะกลับมาใสเหมือนเดิมที่อุณหภูมิห้อง โดยที่คุณสมบัติทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม
หมายเหตุ
- การขูดมะพร้าวด้วยกระต่าย ให้ขูดหรือใช้ช้อน ขูดผิวสีดำที่ติดก้นกะลา ออกมาให้หมด เพราะวิตามินอี ของมะพร้าวอยู่ตรงที่ผิวดำติดเนื้อมะพร้าวที่ติดก้นกะลา เมื่อเราขูดออกมาหมดแล้วคั้นหมักไปด้วยกัน เราก็จะได้ วิตามินอี มากมาย
- กรณีซื้อหัวกะทิไม่ผสมน้ำจากตลาด เมื่อถึงบ้าน นำเทใส่ภาชนะหมัก ทั้งหมด แล้วเติมน้ำอุ่นเท่ากับ หัวกะทิ ปิดฝาตั้งวางไว้ในบ้าน
- การซื้อมะพร้าวจากตลาด เราต้องลุ้นและทำใจเล็กน้อยในการจะได้น้ำมัน เพราะ ผู้ขาย เครื่องใช้งานมากไม่ได้ล้าง และเว้นระยะการขูด ช่วงที่รอผู้มาซื้อ อาจเกิดเชื้อแบคทีเรีย หรือเครื่องไม่สะอาดเพราะเกิดการสะสมมะพร้าวใหม่เก่าที่ขูดตลอดเวลามีค้างในเครื่องบ้าง อาจมีมะพร้าวไม่แก่ หรือมีมะพร้าวงอกปน การล้างก่อนขูดไม่สะอาด ฯ ( แต่ผู้ขายบางคนใจดี เมื่อเราบอกว่าจะไปทำน้ำมัน เขาก็จะเลือกแก่ๆและล้างให้ ใหม่ ก่อนนำไปขูด )
- หากหมักไปแล้ว 12 ชั่วโมง ไม่ได้เกิดน้ำมันใส เกิดแค่ 2 ชั้นคือครีมกะทิและน้ำหมัก สาเหตุ มาจาก ข้อ 3 แล้ว ให้ตักครีมกะทิชั้นบนทั้งหมด ลงกระทะ เคี่ยวไฟอ่อนๆพยายามอย่าให้เนื้อครีมกะทิติดกระทะ คนไปมา (เมื่อยก็ปิดไฟหยุดพัก แล้วเคี่ยวใหม่ได้) เคี่ยวจนกากเป็นสีน้ำตาลอ่อนก็ปิดไฟ จะได้น้ำมันใสแจ๋ว และได้น้ำมันเร็วกว่าการเคี่ยวหัวกะทิสด เพราะผ่านการหมักมาแล้ว แต่กากจะมีรสเปรี้ยว
- หมักครบ 12 ชั่วโมงเป็นน้ำมันใสแล้วแต่ยังไม่ว่างกรอง เลย 12 ชั่วโมงก็ไม่เป็นอะไร เมื่อเกิดน้ำมันใสแล้ว ตัวน้ำมันดีเหมือนเดิม แต่ไม่ควรนานเกินหลายวัน
- เมื่อตั้งวางหมักไม่ควรเขย่าขวด และเวลากรอง ก็ปล่อยให้น้ำมันหยดเอง ถ้าใช้ช้อนบี้ หรือขย้ำเพื่อให้หยดเร็ว ครีมกะทิที่ไม่เป็นน้ำมันและน้ำหมัก ปนลงไปด้วยแล้ว ทำให้น้ำมันขุ่นไม่ใส และเปรี้ยว
- การที่จะกินกาก หรือขี้ออด หรือขี้แหย่ ฯให้อร่อยนั้น ต้องเคี่ยวจากหัวกะทิสด โดยคั้นเหมือนกัน กรองแล้วตั้งวางไว้สักพัก รอจนหัวกะทิลอยขึ้นบนแล้ว ค่อยๆตักหัวกะทิลงกระทะ (หากนำลงทั้งหัวทั้งหางกะทิจะกระเด็นมากและได้น้ำมันช้ามาก) เคี่ยวไฟอ่อนๆ จนกากเป็นสีน้ำตาลอ่อน กากนี้หอมอร่อยมาก และน้ำมันที่ได้ก็หอมมาก การเคี่ยวแบบโบราณ หากต้องการเก็บน้ำมันไม่ให้ตกตะกอน ควรใส่ตู้เย็น จะเก็บไว้ได้นาน
- ในฤดูหนาวหรือฝนตก ทำให้อากาศเย็น หากจะหมักทำน้ำมัน เมื่อใส่ภาชนะแล้ว แนะนำให้นำไปวางไว้ ด้านหลังตู้เย็น หรือข้างหน้าต่างในบ้าน ที่มีแดดภายนอก
- ผ้าขาวบางที่ใช้กรองน้ำมันหลายชั้นนั้น จะซักเพื่อให้น้ำมันออกหลายครั้งมาก แนะนำให้ต้ม ก่อนนำไปซัก เวลาซักหากมีน้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาวก็บีบใส่รวมลงไปในน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ก็จะซักง่ายสะอาดเร็ว
บทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อความงาม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ น้ำมันมะพร้าวมีข้อดีคือ ต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินอี ทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านการเติมออกซิเจน โดยการป้องกันเซลล์ไม่ให้ถูกเติมออกซิเจน ได้ง่าย ๆ ประกอบด้วยสารโทโคไทรอีนอลที่มีอานุภาพสูง วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าว มีสารโทโคไทรอีนอล ซึ่งเป็นรูปของวิตามินอีที่มีคุณภาพสูงกว่าสารโทโคเฟอรอลซึ่งอยู่นวิตามินอี ทั่วไป โดยเฉพาะที่มีอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวถึง 40-50 เท่า ด้วยเหตุนี้ น้ำมันมะพร้าวจึงต่อต้านอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผิวสวย การนวดหรือชโลมตัวด้วยน้ำมันมะพร้าว ช่วยให้ผิวสวย เพราะ
1.1 ผิวดูอ่อนวัย น้ำมันมะพร้าวที่ใช้ชโลมตัว ทั้งในรูปน้ำมันมะพร้าวสด ๆ หรือในรูปของผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าว เช่น ครีม และโลชั่นจะทำให้ผิวพรรณนุ่มไม่แตกแห้งเป็นกระ หรือฝ้า แต่ชุ่มชื้นและเนียน ปราศจากริ้วรอย ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวมีวิตามินอีที่มีอานุภาคมากกว่าวิตามินอีใน เครื่องสำอาง
1.2 ผิวนุ่มและเนียน ตามปกติผิวหนังจะสูญเสีย ความชื้นเพราะถูกแดดและลมน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติเป็นสารรักษาความชุ่มชื้น (moisturizer) จึงช่วยให้ผิวหนังนุ่มและเนียน
1.3 ช่วยป้องกันและรักษาฝ้า และ กระ อนุมูลอิสระ เป็นตัวการอันหนึ่งของการเกิดฝ้า (รอยดำคล้ำหรือปนสีน้ำตาลอ่อน) และกระ วิตามินอีในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ทำลายอนุมูลอิสระเหล่านี้เราสามารถใช้ น้ำมันมะพร้าวเป็นยาทากันแดดได้ดี อีกทั้งยังไม่เหนียวเหนอะหนะเหมือนยากันแดดบางชนิด และราคาก็ถูกกว่า
- ผมงาม เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวเป็นนำมันพืชที่มีคุณสมบัติที่เพิ่มความชุ่มชื้น อีกทั้งมีสารปฏิชีวนะ (จากโนโนลอริน) และสาร antioxidant (จากสารโทโคทรินนอลในวิตามินอี) จึงมีส่วนทำให้ผมงาม จากคุณสมบัติต่อไปนี้
2.1 ช่วยปรับสภาพผม น้ำมันมะพร้าวเป็น Hair conditioner ที่ช่วยทำให้ผมนุ่มดำเป็นเงางาม เพราะมีวิตามินอีที่ช่วยเสริมการเจริญของเส้นผม
2.2 ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศรีษะ น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาสุขภาพของหนังศรีษะทั้งนี้ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีสารปฏิชีวนะที่คอยทำลายเชื้อโรค หนังศรีษะจึงไม่มีรังแค หนังศรีษะจึงมีสุขภาพดี
2.3 ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี เส้นผมประกอบด้วยส่วนนอก ที่ทำหน้าที่หุ้มส่วนใน หากส่วนนอกอยู่ในสภาพที่ดี ไม่ฉีกขาดหรือแหว่งนั้น เส้นผมก็จะปกติ แต่ส่วนที่ทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี กล่าวคือ น้ำมันมะพร้าวช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติยึดเกาะ กับโปรตีนของเส้นผมได้ดี อีกทั้งมีขนาดของโมเลกุลเล็กจึงแทรกซึมเข้าไปในเส้นผมได้สะดวก