น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน

น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (sunflower seed oil) เป็นน้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดของดอกทานตะวัน (sunflower) น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว โดยเฉพาะกรด กรดลิโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดที่จำเป็น (essential fatty acid) ในกลุ่มโอเมกา-6 ปริมาณสูง เป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินอี (vitamin E) หรือโทโคฟีรอล โดยเฉพาะแอลฟ่า-โทโคฟีรอลที่ดี โดยพบในปริมาณ 45 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม

น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เหมาะสำหรับการ ปรุงอาหารประเภทผัด หรือที่ใช้ความร้อนสูงในเวลาไม่นานนัก แต่ไม่เหมาะที่ใช้เป็นน้ำมันสำหรับการทอด (frying)

เมล็ด ใช้บริโภคโดยตรง เป็นแหล่งของโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ ในเมล็ดมีธาตุเหล็กสูงใกล้เคียงกับไข่แดงและตับ เมื่อนำมาบดเป็นแป้งจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูง มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณแป้ง โดยเมล็ดทานตะวัน (แห้ง) ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม จะได้พลังงาน 490 แคลอรี่ ไขมัน 32.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 38.6 กรัม เส้นใย 3.7 กรัม โปรตีน 16.7 กรัม แคลเซียม 92 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 632 มิลลิกรัม เหล็ก 5.8 มิลลิกรัม วิตามิน บี2 0.07 มิลลิกรัม ไนอะซิน 2.4 มิลลิกรัม

nammuntantawanmed

้ำมันที่ได้จากทานตะวันจะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม และมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์จึงป้องกันการหืนได้ดี สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น

ในส่วนของเมล็ดทานตะวันเป็นสารอาหารจำพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งอุดมด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ อี เค บี2 และวิตามินดี สำหรับไขมันในเมล็ดทานตะวันจัดเป็นสารอาหารประเภทกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาใช้เองได้ จึงต้องรับประทานเข้าไปเท่านั้น

เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจกในตา ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น อีกทั้งช่วยต่อต้านริ้วรอย ชะลออายุของเซลล์ผิว ทำให้ผิวสดใส.

น้ำมัน น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดทานตะวันเป็นน้ำมันคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว และยังประกอบไปด้วยวิตามินอีซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ แม้ว่าค่าการต้านอนุมูลอิสระจะต่ำกว่าน้ำมันรำข้าวและน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2 เท่า มีการทดลองระบุว่าการรับประทานน้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำมันเมล็ดทานตะวันมีผลช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือดของหนูทดลอง และมีการทดลองทางคลินิกพบว่า น้ำมันเมล็ดทานตะวันที่มีการเติมสาร hydroxytyrosol (พบได้ในน้ำมันมะกอก) ช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้

วิธีสกัดน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน
การกลั่นน้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวันที่มีความบริสุทธิ์สูง ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การรีไฟน์ด้วยวิธีทางเคมี (Chemical refining) ประกอบด้วยกระบวนการลดกรด (Neutralization) ด้วยการใช้ด่างเข้าทำปฏิกิริยากับกรดไขมันอิสระที่มีอยู่ในน้ำมัน การฟอกสี และการดูดกลิ่น การรีไฟน์ด้วยวิธีทางกายภาพ (Physical refining) ประกอบด้วยการกำจักกัม (Deguming) ด้วยการใช้กรดฟอสฟอริคเข้ากำจัดกัมที่มีอยู่ในน้ำมัน การฟอกสี และการกลั่นกำจัดกลิ่นด้วยไอน้ำ ในปัจจุบันได้มีการเพาะปลูกทานตะวันเป็นพืชเศรษฐกิจในหลายจังหวัดของประเทศ โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวและจำหน่ายน้ำมันดอกทานตะวันในรูปของน้ำมันดิบ ซึ่งมีราคาต่ำ เนื่องจากเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันบริสุทธิ์เป็นของต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง ทางกลุ่มผู้วิจัยได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสกัดน้ำมันดอกทานตะวันบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีไทย ต้นทุนต่ำ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง สามารถจำหน่ายเป็นน้ำมันสำหรับบริโภคได้

น้ำมันเมล็ดทานตะวันที่สกัดด้วยวิธีธรรมชาติ สกัดได้ด้วยการบีบอัดด้วยเครื่องไฮโดรลิกและเครื่องสกรูเพลส แต่เครื่องสกรูเพลสจะได้ปริมาณน้ำมันมากกว่าโดยนำเมล็ดทานตะวันไปกระเทาะเปลือกออกก่อนและกระตุ้นด้วยความร้อน โดยการตากแดดหรืออบ แล้วนำไปบีบ ก็จะได้น้ำมันสีเหลืองกลิ่นหอม นำไปกรองก็จะได้น้ำมันเมล็ดทานตะวันแบบธรรมชาติ แต่น้ำมันชนิดนี้จะมีกลิ่นเหม็นมากขึ้นเมื่อนำไปทอดหรือผัด ถ้าต้องการกำจัดกลิ่นก็จะต้องนำไปต้มด้วยหม้อสูญญากาศ เพื่อดูดกลิ่นออก

nammuntantawannai nammuntantawansai nammuntantawanbeb nammuntantawankak

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด อาหารเพื่อสุขภาพ

แสดงความคิดเห็น