น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด

น้ำยาเช็ดกระจกจัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง จึงมีสารลดแรงตึงผิวเป็นองค์ประกอบหลักผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งน้ำยาเช็ดกระจกที่พบมีอยู่หลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมหลักคล้ายคลึงกัน โดยทุกชนิดจะใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์(isopropyl alcohol) ในปริมาณ 1.0-4.0% ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก ใช้ในการทำความสะอาด ถ้าจะใช้ฆ่าเชื้อต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 60-70% การหายใจเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยจะระคายเคืองจมูก ลำคอ และระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน ถ้าได้รับปริมาณสูงขึ้นอาจทำให้หมดสติ หรือตายได้ การสัมผัสนาน ทำให้ผิวหนังแห้งและแตก การกลืนกินมีอาการคล้ายการหายใจ อาเจียนและอาจทำอันตรายแก่ปอด และระคายเคืองต่อตา ห้ามทิ้งสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดินสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้

ดอกอัญชันสีม่วง ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปบริเวณใกล้บ้าน ในสวน ริมถนน คนในชุมชนของเราโดยเฉพาะผู้สูงอายุมักนำดอกอัญชันมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทาผม ทาคิ้ว เพื่อให้ดกดำ ใช้แทนสีผสมอาหาร ชึ่งเป็นน้ำชาลดอาการเบาหวาน เป็นต้น

ภูมิปัญญาชาวบ้านของไทย ได้นำเอาสีจากดอกอัญชันมาใช้ แต่งสีขนมไทย เช่น ขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมชั้น เป็นต้น ทำให้สีคราม โดยเอาดอกอัญชันไปแช่ในน้ำร้อนจะได้สีน้ำเงิน ถ้าเติมน้ำมะนาว หรือหยดน้ำพร้าวลงไปเล็กน้อย จะได้สีม่วง นอกจากนี้ในสมัยโบราณยังนิยมใช้ย้อมผมจะทำให้ผมดำตามธรรมชาติ ไม่หงอกก่อนวัยแก้ปัญญาผมแตกปลายและผมเสีย กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมให้นุ่มสลวยเป็นเงางาม ปัจจุบันมีการเอาสารสกัดจากดอกอัญชันไปใช้ผสมกับแชมพูและครีมนวดผม เพื่อทำให้ผมดกดำ
นอกจากนี้มะกรูดและดอกอัญชันยังช่วยลดคราบสกปรกและยังไม่มีสารเคมีเพราะน้ำยาเช็ดกระจกที่ชื้อมาอาจจะมีสารเคมีและยังอาจทำอันตรายร่างกายเราด้วย

วัสดุอุปกรณ์

  1. ดอกอัญชันสีม่วง 300 กรัม
  2. น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาล 300 กรัม
  3. มะกรูด 2 ผล
  4. น้ำสะอาด 1 ลิตร
  5. หม้อสแตนเลส/หม้อเคลือบ 1 ใบ
  6. มีด 1 เล่ม
  7. เตา 1 ใบ
  8. โหลสำหรับหมัก 1 ใบ

วิธีทำ

  1. การทำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชัน
  2. ฝานมะกรูด เอาเฉพาะผิว ใส่ลงในหม้อต้มดอกอัญชันต้มต่อประมาณ 10นาที ดับไฟ
  3. ปล่อยให้น้ำดอกอัญชันเย็นลง จนมีอุณหภูมิ60 องศาเซลเซียส ใส่น้ำตาลทรายหรือกากน้ำตาลลงไปคนให้ละลายเข้ากัน
  4. เทใส่โหลสำหรับหมัก ปิดฝา พอให้แก๊สที่เกิดขึ้นระบายออกมาได้ ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน
  5. กรองน้ำหมักชีวภาพที่ได้ เอากากออก (นำไปเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้)
  6. นำน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันใส่ลงในขวดสเปรย์

namyachedkajoktom namyachedkajoka namyachedkajokb namyachedkajokc

ผลที่ได้
เมื่อยังไม่กรอง น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันสีม่วงเข็ม มีแก๊สเล็กน้อย มีกลิ่นออกเปรี้ยวเล็กน้อย มีดอกอัญชันสีซีดลอยอยู่ด้านบนและมีฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน การที่น้ำหมักชีวภาพมีกลิ่นเปรี้ยวเล็กน้อยและฝ้าสีขาวลอยอยู่บนผิวด้านบน แสดงว่ามีจุลินทรีย์เกิดขึ้น สามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งานได้ ถ้าไม่ฝ้าสีขาวลอยอยู่ด้านบนและมีกลิ่นเห็นแสดงว่าน้ำหมักชีวภาพเสีย ใช้ไม่ได้
สรุปได้ว่า น้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันที่คณะผู้จัดทำขึ้นนั้นมาใช้ได้

เมื่อน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันไปใช้ทำความสะอาดกระจกเงา ผลปรากฏว่า กระจกเงา มีความเงาวาว ไม่มีคราบสกปรกเหลืออยู่นอกจากนั้นน้ำมันหอมจากผิวมะกรูดยังมีสรรพคุณในการไล่แมลงต่างๆ รวมทั้งยุงอีกด้วย
เมื่อหาประสิทธิภาพ การทำความสะอาดขิงน้ำหมักชีวภาพจากดอกอัญชันกับน้ำยาเช็ดกระจกเงาสรุปได้ว่าไม่แตกต่างกัน

ที่มา
โครงงานวิทยาศาสตร์ (น้ำยาเช็ดกระจกจากดอกอัญชันและมะกรูด)
ปิยนุช รัตนวงศ์, สุรัตนา คงกำไร

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ของใช้ในชีวิตประจำวัน

แสดงความคิดเห็น