น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำสกัดชีวภาพ หรือน้ำจุลินทรีย์ คือ สารสกัดธรรมชาติที่ได้จากกการนำเอาพืชผักผลไม้หรือวัสดุต่างๆ ที่เป็นสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายได้ รวมไปถึงเศษอาหารจากครัวเรือนก็สามารถนำมาทำน้ำหมักชีวภาพได้ นำวัสดุดังกล่าวมาหมักกับน้ำตาลในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน โดยมีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายวัสดุต่างๆ จนได้เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้น
วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพสามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้พืชผักผลไม้ใช้ได้ทุกชนิด หรืออาจจะเป็นพืชสด เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ต้นกล้วย ต้นมะละกอ และแม้แต่เศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือนแต่ต้องเลือกส่วนที่แข็งมากออก เช่น กระดูกสัตว์ เปลือกไข่ เปลือกทุเรียน เพราะการย่อยสลายใช้เวลานานมาก ทำให้สิ้นเปลือกน้ำตาลและเปลือกพื้นที่ภาชนะที่ใช้หมักด้วย เมื่อได้วัสดุหมักแล้ว จึงนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งวิธีการหมักโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ
ส่วนประโยชน์จากการหมั่กน้ำหมักชีวภาพ
4 สูตรน้ำหมักชีวภาพยอดนิยม
วัสดุอุปกรณ์
โดยทั่วไปส่วนผสมของการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ถ้าใช้สูตรที่เป็นเป็นเศษซากพืช จะใช้ส่วนผสมระหว่างเศษซากพืชสดกับกากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1
แต่หากเป็นเศษซากสัตว์ จะใช้อัตราส่วนระหว่างเศษซากสัตว์กับกากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 1
สูตรที่ 1 สำหรับพืชกินใบ
วัสดุประกอบด้วย
1) พืชสด
2) กากน้ำตาล
อัตราส่วน 3 : 1
วิธีทำ
การปฏิบัติระหว่างการหมัก เขย่าภาชนะที่หมักพร้อมกับเปิดฝา วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น เมื่อครบ 7 วัน ให้ดมกลิ่น ถ้าหอมหวานแสดงว่า “ดี”
สามารถนำไปได้ ถ้าบูดเปรี้ยวแสดงว่า “ไม่ดี” ให้แก้ไขด้วยการเติมกากน้ำตาล หรือของที่ใส่ครั้งแรกแล้วหมักต่ออีก 3 วัน ถ้ามีกลิ่นหอมหวานก็แสดงว่า “ดี” ถ้ามีกลิ่นบูดเปรี้ยวอีกให้เติมน้ำตาลอีกแล้วหมักต่อไปจนกว่าจะมีกลิ่นหอมหวาน เมื่อได้น้ำหมักที่ดีแล้วให้เก็บไว้ในที่มืดภายใต้อุณหภูมิห้อง
เก็บได้นาน 6 เดือน – 1 ปี ระหว่างเก็บหากมีกลิ่นบูดเปรี้ยวให้เติมกากน้ำตาลลงไป
อัตราและวิธีการใช้น้ำหมักชีวภาพ
การต่อเชื้อน้ำหมักชีวภาพ ใช้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน น้ำสะอาด 10 ส่วน ผสมให้เข้ากันดี ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ในที่มืด ภายใต้อุณหภูมิห้อง นาน 3 วัน ตรวจสอบกลิ่นตามครั้งแรก
เคล็ดลับ เรื่องน้ำหมักชีวภาพ หลังการหมัก 3 วันแรก เปิดฝาออกดูถ้ามีแก๊สพุ่งออกมาแสดงว่า มีส่วนผสมดีพยายามเปิดฝาระบายแก๊สบ่อยๆ ถ้าไม่เปิดภาชนะที่หมักอาจระเบิดได้ กรณีถ้าไม่มีกากน้ำตาลสามารถใช้น้ำตาลทรายแดงได้ โดยเพิ่มปริมาณน้ำตาลแดงเป็น 1 ส่วน : เศษพืช 1 ส่วน การใช้น้ำหมักชีวภาพทางราก ควรใช้ควบคู่ไปกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเสมอ โดยการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 6 เดือน/ครั้ง
สูตร 1 เหมาะสำหรับพืชกินใบ
ตัวอย่างพืชสดสูตร 1 ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักขม ผักเสี้ยน หน่อไม้ฝรั่ง ยอดชะอม ยอดกระถิน ยอดมันเทศยอดมะม่วง ยอดมะยม ผักตำลึงและผล เถาขี้กาและผล เงาะป่าและผล ใบยอและผล ฯลฯ
สูตรที่ 2 สำหรับพืชผักกินดอกผล
วัสดุประกอบด้วย
วิธีทำและการปฏิบัติ
กระทำเช่นเดียวกับสูตรที่ 1 แต่ให้ได้ตามอัตราส่วนที่กำหนด
อัตราและวิธีการใช้
สูตร 2 เหมาะสำหรับพืชผักกินดอก กินผล ตัวอย่างผลไม้สุก
สูตร 2 สับปะรด แตงโม กล้วย ละมุด มะเขือเทศ บวบ ขนุน มะม่วง ฝรั่ง มะละกอดิบและสุก มะระดิบและสุก มะเฟือง มะกรูดผ่าซีก ฯลฯ
สูตรที่ 3 สำหรับพืชผัก ผลไม้ พืชไร่ นาข้าว
วัสดุ
ประกอบด้วย
วิธีทำ
เตรียมวัสดุในการทำนำหมักสูตร 1 และ สูตร 2 ตามอัตราส่วนที่กำหนด นำปลาสด (ทั้งตัว) หอยเชอรี่ ไข่หอยเชอรี่ มาบด โขลก สับให้ละเอียด เพื่อง่ายในการย่อยสลาย บรรจุเศษพืช เศษปลา เศษหอยที่บด โขลก สับละเอียดแล้วลงภาชนะ (ควรเป็นโอ่งหรือภาชนะพลาสติกไม่แนะนำให้ใช้โลหะ) แล้วเติมกากน้ำตาลลงไป คลุกเคล้าพอคลุกคลิก เติมนำมะพร้าวอ่อน คลุกเคล้าลงไปอีกเพื่อให้มีน้ำมากขึ้นพอท่วมเศษวัสดุ คนหรือเขย่าให้เข้ากัน ให้เศษพืชจม อยู่ในกากน้ำตาลตลอดเวลา ปิดฝาภาชนะเก็บไว้ที่มืดอุณหภูมิห้องนาน 7 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้
การปฏิบัติต่อปุ๋ยน้ำชีวภาพระหว่างการหมัก ปฏิบัติตามสูตร 2 จนถึงขั้นตอนสุดท้าย
สูตรที่ 4 สำหรับไม้ผล
วัสดุ/อัตราส่วน ประกอบด้วย
วิธีทำ
เติมกากน้ำตาลพอท่วม เติมขี้ไก่ค้างคอน 2 ส่วน เติมน้ำมะพร้าวอ่อน/รำละเอียด/อุจจาระเด็กทารกในปริมาณเล็กน้อย โดยห้ามนำไปฉีดผัก เพราะจะทำให้ผักกระด้าง
รวมสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ
สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์
ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วนผสม
เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม
นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 – 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้
2. ปุ๋ยคอกหมัก
วิธีทำ
นำมูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดมาผสม เข้าด้วยกัน นำน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลผสมน้ำรดกองปุ๋ยที่ผสมคลุกให้ทั่วให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 – 5 วัน โดยไม่ต้องกลับเมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
3. สารขับไล่แมลง
3.1) สูตรทั่วไป
ส่วนผสม
นำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล เหล้าขาว น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธีทำ
ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า – เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์
นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.2) สูตรเข้มข้น
วิธีทำ
ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
การใช้ประโยชน์
ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน และแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนกอกลม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วนหัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม หรือใช้กำจัดเหาในศีรษะคน โดยเอาน้ำราดผมให้เปียกแล้วชะโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด หรือใช้กำจัดเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยง
4. ฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม
ประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก /ฟักทองแก่จัด /มะละกอสุก อย่างละ 1 ก.ก. น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ
สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก) จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง) จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 – 8 วัน
การใช้ประโยชน์
นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
การประยุกต์ใช้กับพืชการเกษตร
1. ข้าว ในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 ก.ก. โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
หมายเหตุ : ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 ก.ก. ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วปีต่อๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อไปๆ ไปปริมาณ ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และเพิ่มปริมาณผลผลิต
2. ผักสวนครัว
3. ไม้ผลและไม้ยืนต้น
วิธีใช้ : ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม จำนวน 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช (น้ำหมักพืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูกคลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้วให้พรวนดิน และโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่ม ต้นละ 2 ก.ก. ต่อปี พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชเป็นระยะๆ
4. การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
วิธีทำลายวัชพืช : ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆ ให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไปหรือไถพรวน จากนั้นฉีดพ่นซ้ำด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 10 ส่วน ต่อน้ำหมักพืช 1 ส่วน) โดยใช้วิธีการนี้ก่อนการไถพื้นที่นาหรือใส่ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังการเก็บเกี่ยว หากทำติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะร่วนซุ่ยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป
5. การปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
หมายเหตุ : กรณีที่เลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำแล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรง ไข่ดก น้ำหนักดีอัตราการตายต่ำและมูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น หากใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัด กลิ่นแก๊ส และกลิ่นเหม็นจากมูลทุก ๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัด การขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมด้วย
สูตรที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
1. น้ำหมักชีวภาพจากปลา
ส่วนผสม : เนื้อปลา น้ำกรดเข้มข้น 3% กากน้ำตาล 20% และหัวเชื้อจุลินทรีย์
วิธีทำ
นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำมากรองกากมาทำปุ๋ย และน้ำไปฉีดพ่น
การใช้ประโยชน์ : ใช้อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ในนาข้าวช่วงก่อนหว่านข้าวฉีดพ่นพร้อมสารควบคุมวัชพืช อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังหว่านข้าว 20 วัน อัตรา 50 – 60 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยเร่งการแตกกอ และเพิ่มจำนวนต้น ต่อกอ รวมทั้งใช้ฉีดพ่นข้าวระยะตั้งท้องและน้ำนมด้วย
2. น้ำหมักชีวภาพจากเศษซากพืช
ส่วนผสม : เศษพืช 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธีทำ
นำส่วนผสมรวมกันหมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน
การใช้ประโยชน์
ใช้เป็นปุ๋ยให้กับผัก หรือฉีดพ่นขับไล่แมลง และป้องกันกำจัดโรคบางชนิด
3. น้ำหมักสมุนไพร
3.1 พืชผักสวนครัว
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร
วิธีทำ
นำส่วนผสมมาผสมรวมกัน
การใช้ประโยชน์
ป้องกันเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ เพลี้ยไฟในถั่วฝักยาว ถั่วพู แค คะน้า ฯลฯ
3.2 สวนไม้ผล
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร
วิธีทำ
นำมาผสมรวมกันทั้งหมดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วใช้ผ้ากรองมาใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์
นำน้ำเชื้อที่ได้ 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไม้ผลขณะแตกใบอ่อน ระยะออกดอก และมีผล เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ หนอนแก้วส้ม แมลงวันทอง ด้วงงวงมะพร้าว
สูตรที่ 3 เครือข่ายผัก โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน
1. น้ำหมักสมุนไพร
ส่วนผสม : หางไหล บอระเพ็ด หนอนตายยาก ตะไคร้หอม เปลือกสะเดาหรือใบแก่ สาบเสือ ยาสูบ (ก้าน หรือใบสด ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)
วิธีทำ
นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดใส่ในโองหรือถังใส่น้ำให้ท่วมฝามือ (30 – 50 ลิตร) จากนั้นใส่เหล้าขาว 1 ขวด ตามด้วยหัวน้ำส้ม 150 ซี.ซี. (ถ้าไม่มีใส่ผลมะกรูด หรือมะนาวผ่าซีก 2 ลูก) หากมีกลิ่นเหม็นให้ใส่กากน้ำตาล หมักไว้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์
ขับไล่หนอนใย หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน และป้องกันกำจัดโรคเน่า โรคใบไหม้ในผักบางชนิด
2. ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรเร่งรัด (3 วัน)
ส่วนผสม : มูล (วัว, เป็ด, หมู) 1 ปี๊บ ขี้เถ้าแกลบ 1 ปี๊บ รำละเอียด 1 ก.ก. น้ำหมักชีวภาพ 50 -100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
วิธีทำ
นำส่วนผสม มาคลุกเคล้า แล้วนำน้ำหมัก มารดให้ได้ ความชื้น 50% สังเกตได้จากกำมือแล้วแบออกปุ๋ยจะค่อยๆ แตกตัวออก ถ้าใช้ถุงพลาสติกคลุมหรือใช้กระสอบปุ๋ยหมักจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยที่จะนำไปใช้ต้องหมดความร้อนก่อน
การใช้ประโยชน์
แก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพในแปลงผักโดยใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ตันต่อไร่ (40 กระสอบ) หรือใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 30-40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5 วัน หรือใช้ทางดิน อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ปล่อยตามท้องร่อง
สูตรที่ 4 เครือข่ายข้าว โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน
ส่วนผสม : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
วิธีทำ : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในนาข้าวดังนี้
สูตรที่ 5 อาจารย์ชลอ รุ่งกำจัด
ส่วนผสม : เศษซากพืชสด 3 ส่วน (หากเป็นเศษซากสัตว์ใช้ 1 ส่วน) และกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธีทำ
นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 7 – 15 วัน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ หากต้องการขยายหัวเชื้อให้ใช้กากนำตาล 1 ก.ก. หัวเชื้อ 1 ลิตร และน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 – 15 วัน เช่นกัน
การใช้ประโยชน์
ฉีดพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้หัวเชื้อน้ำหมัก 2 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน หากต้องการลดการระบาดหรือป้องกันกำจัดแมลงจำพวกเพลี้ย ใช้น้ำหมัก 1 ส่วน เหล้าขาว 2 ส่วน น้ำส้มสายชูเข้มข้น 5% 1 ส่วน และกากน้ำตาล 1 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วใช้น้ำที่ได้จากการหมัก 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันกำจัดเพลี้ย หรือถ้าต้องการนำมาทำไวน์ ใช้จุลินทรีย์ 1 ลิตร ผสมกับน้ำตาลทรายขาว (ตามแต่ต้องการ) น้ำผลไม้ 3 ก.ก. และผงฟู 3 ช้อนแกง หรือใช้รักษาโรคฝ้า ใช้จุลินทรีย์ มะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก น้ำผึ้งแท้ อย่างละ 1 ส่วน ผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำน้ำที่ได้ทาส่วนที่เป็นฝ้า
สูตรที่ 6 รศ.นพ. บุญเทียม เขมาภิรัตน์
ส่วนผสม : เศษซากสัตว์สด (อาทิ หอย ปลา) 1 ส่วน และน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีทำ
นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ นำหัวเชื้อที่ได้ มาเจือจางกับน้ำในอัตรา 1 : 1,000
การใช้ประโยชน์
นำน้ำที่ได้จากการเจือจางไปฉีดพ่นป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ หากต้องการนำไปใช้กับพืชผักผลไม้ให้เปลี่ยนจากเศษซากสัตว์เป็นพืชสดแทน ในอัตรา 3 ต่อ 1 ส่วน
สูตรที่ 7 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลเขาชนกัน
ป้ายคำ : น้ำหมักชีวภาพ