น้ำเต้า ผักกินผลควบคุมเบาหวาน

15 ตุลาคม 2556 ไม้เลื้อย 0

น้ำเต้าเป็นไม้เถา ขนาดใหญ่ ซึ่งอาจมีความยาวกว่า 10 เมตร ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ผิวใบ ขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ 5-9 หยัก ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. รากจะเป็นระบบรากตื้น ในส่วนของผลมีตั้งแต่ ขนาด เล็กจนถึงขนาดใหญ่

น้ำเต้าเป็นพืชวงศ์บวบ แตงกวา ฟักทอง คือวงศ์ Cucubitaceae มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มีความยาวกว่า 10 เมตร แต่มีระบบรากตื้น

namtoapon

น้ำเต้า (bottle gourd)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria Standl.
วงศ์ Cucubitaceae
ชื่อท้องถิ่น : คิลูส่า, มะ

ลักษณะทั่วไป

  • ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย จริง ๆ แล้วน้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ อาทิ น้ำเต้าพื้นบ้าน น้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ถ้าเราดูหนังจีนจะเห็นว่ามีน้ำเต้าทรงเซียนที่นักแสดงนำมาประกอบฉาก แต่น้ำเต้าพื้นบ้านเราก็สามารถนำมาตากแห้งเคลือบแล็กเกอร์ทำเป็นเครื่องประดับ ก็ได้แต่ไม่ค่อยนิยม กันเท่าไรนัก เนื่องจากผิดกัน ตามรูปทรง ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานมากกว่า
  • ลำต้นเหลี่ยมมีมือเกาะที่แยกออกเป็น 2 ทาง
  • ใบมีขนาดใหญ่คล้ายรูปหัวใจ ก้านใบยาว ผิวใบมีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน มีรอยหยักบริเวณใบ
  • ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ มีก้านช่อดอกยาวกว่า 10 เซนติเมตร ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ปนต้นเดียวกันแต่ต่างดอกแยกเพศกัน ดอกตัวผู้มีลักษณะคล้ายถ้วย กลีบดอกเป็นสีขาว ส่วนดอกตัวเมียมีรังไข่ลักษณะคล้ายผลเล็กๆ ติดอยู่ที่โคนดอก ผสมพันธุ์โดยใช้แมลง
  • ผลน้ำเต้ามีลักษณะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกมีสีเขียวเป็นลาย ผลมีเนื้อในสีขาวหรือสีเขียวค่อนข้างจะนุ่ม

สามารถเก็บเกี่ยวผลน้ำเต้าเพื่อนำมากินได้หลังดอกบาน 6-7 วัน แต่ถ้าเป็นผลไม้น้ำเต้าแก่จะมีรสขม

namtoaton
namtoakom

น้ำเต้ามีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น

  1. น้ำเต้าพื้นบ้านเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ซึ่งเป็นทรงที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ
  2. ผลกลมเกลี้ยง ไม่มีคอขวดเรียกว่าน้ำเต้า
  3. ผลกลมยาวเหมือนงาช้าง เรียกว่าน้ำเต้างาช้าง
  4. ผลคล้ายน้ำเต้าพื้นบ้าน แต่เนื้อในรสขม ต้นและใบขมด้วย เรียกว่าน้ำเต้าขมชนิดนี้หายาก ใช้ทำยาเท่านั้น

ประโยชน์ของน้ำเต้า

ใช้ประกอบอาหาร

  • คนไทยกินผลน้ำเต้าอ่อนต้มกับน้ำพริก ผัดกับหมูใส่ไข่ ผลอ่อน ยอดอ่อนใช้แกงส้มกับปลาเนื้ออ่อน หรือกุ้งสด รสชาติอร่อยมาก
  • ชาวอินเดียใช้เนื้อผลน้ำเต้าประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน
  • ในสหรัฐอเมริกานำเนื้อผลน้ำเต้าอ่อนมานึ่ง ผัดในกระทะ ชุบแป้งทอด ต้มสตูว์หรือใส่ในแกงจืด โดยได้อิทธิพลส่วนหนึ่งมาจากชาวเอเชียและเม็กซิกัน โดยเลาะเมล็ดและใยหุ้มเมล็ดออก แผ่นน้ำเต้าตากแห้งชุบซีอิ๊วกินกับปลาดิบญี่ปุ่นได้ดี
  • ทางตอนใต้ของทวีฟแอฟริกา คนพื้นเมืองจะกินใบน้ำเต้าหรือผักชนิดหนึ่ง ใส่ในซุปข้าวโพด หรือดองสดไว้กิน ใบแห้งเก็บไว้กินเสบียงยามยาก แต่ผลอ่อนจัดเป็นอาหารยามที่ขาดแคลน ผลแก่ขมไม่นิยมกิน
  • แพทย์แผนไทยใช้รากน้ำเต้า ขมเป็นยาแก้ดีแห้ง ขับน้ำดีให้ตกลำไส้ ใบน้ำเต้าเป็นยาดับพิษ แก้ตัวร้อน ร้อนในกระหายน้ำ พบว่ายาเขียวทุกชนิดมักเข้าใบน้ำเต้าหมด น้ำเต้าเป็นยาภายนอก นำใบสดโขลกผสมกับเหล้าขาวทาถอนพิษร้อน แก้ฟกช้ำ บวม แก้อาการพองตามตัว แก้เริม งูสวัดได้ดีมาก
  • ชาวอินเดียใช้ประกอบอาหารให้ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันเลือด บทความต่างประเทศกล่าวถึงฤทธิ์ขับปัสสาวะของเปลือกลำต้นและเปลือกผลน้ำเต้า น้ำคั้นผลมีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหารบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลกระเพาะอาหาร ที่ประเทศจีนและอินเดียมีการกินน้ำเต้าเพื่อควบคุมเบาหวานมีเว็บไซต์เสนอเมนูคุมเบาหวานใช้น้ำเต้าหลายแห่ง

namtoaloog

ใช้อุปโภค
ผลน้ำเต้าแก่ ปล่อยให้เนื้อแห้ง ขูดเนื้อในออกให้หมด ใช้บรรจุน้ำดื่ม เบียร์ ไวน์ บางคนเอาเชือกถักหุ้ม ป้องกันถูกของแข็งกระแทกแตกดูสวยงามดี ส่วนชนิดที่มีจุกขวด แต่ไม่ยาวมาก มักเห็นในภาพยนตร์จีนเรื่อง จี้กง ทำเป็นที่ใส่เหล้าห้อยเอว ชาวบ้านเลยเรียกว่า น้ำเต้า-จี้กง ถ้าจับผลงอ หรือรัดรอบผลขณะเติบโตสามารถจัดรูปร่างของผลแห้งเพื่อรองรับการใช้งานได้ตามความต้องการ

ชาวจีนในอดีตเชื่อว่า น้ำเต้า ทำให้บ้านเกิดความร่มเย็น จึงมีแขวนไว้ในบ้านเกือบทุกครัวเรือน ส่วน น้ำเต้างาช้าง มีจุกยาว นิยมเอามาทำเป็นลูกซัด หรือลูกแซก สำหรับเล่นประกอบเพลง ให้เสียงดังไพเราะดีมากในอดีตมีคนนำผลน้ำเต้าแห้งหลายลูกผูกรวมกันเพื่อทำเสื้อิลูกชีพพยุงตัวลอยน้ำได้ด้วย

namtoapol

ใช้เป็นยา
แพทย์แผนไทยใช้รากน้ำเต้าขมเป็นยาแก้ดีแห้งขับน้ำดีให้ตกลำไส้
ใบน้ำเต้าเป็นยาดับพิษแก้ตัวร้อน ร้อนใน กระหายน้ำ พบว่ายาเขียวทุกชนิดมักเข้าใบน้ำเต้าหมด
น้ำเต้าเป็นยาภายนอก นำใบสดโขลกผสมกับเหล้าขาว ทาถอนพิษร้อน แก้ฟกช้ำ บวม แก้อาการพองตามตัว แก้เริม งูสวัสได้ดีมาก
ชาวอินเดียใช้ประกอบอาหารให้ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันเลือด
บทความต่างประเทศกล่าวถึงฤทธิ์ขับปัสสาวะของเปลือกลำต้นและเปลือกผลน้ำเต้า
น้ำคั้นผลมีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลกระเพาะอาหาร
ที่ประเทศจีนและอินเดียมีการกินน้ำเต้าเพื่อควบคุมเบาหวาน มีเว็บไซต์เสนอเมนูคุมเบาหวานใช้น้ำเต้าหลายแห่ง

งานวิจัยที่ประเทศอินเดีย ปี พ.ศ.2549 พบว่าสายสกัดน้ำเต้าด้วยคลอโรฟอร์มและแอลกอฮอล์ ที่ 200 และ 400 มก./กก. น้ำหนักหนูยับยั้งการเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดไม่ดี แต่เพิ่มปริมาณไขมันชนิดดีในหนูที่ถูกกระตุ้นให้มีปริมาณไขมันสูงเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณการกินสารสกัด และลดปริมาณคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์และไขมันชนิดไม่ดีในหนูที่มีปริมาณไขมันในเลือด

namtoa

การปลูกน้ำเต้า (bottle gourd)
จะต้องเตรียมดินให้มีการไถพรวน และยกร่องแปลงปลูกกว้างประมาณ 4 เมตร จะนิยมขุดหลุมปลูกให้กว้าง 15-20 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร ขุดกลุมห่างกัน 2 เมตร แล้วนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมารองก้นหลุม หลังจากนั้นก็หยอดเมล็ดลงในหลุมปลูกที่เตรียมไว้ ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้เมล็ดน้ำเต้าจำนวน 1.5 กิโลกรัม หยอดหลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดินร่วนให้มีความหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร นำฟางข้าวแห้งหรือหญ้าคาคลุมบนหลุมเพื่อรักษาความชื้นในดินให้มากที่สุด หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มไปเรื่อย ๆ ประมาณ 7- 10 วัน จนกว่าน้ำเต้าจะงอก หมั่นดูแลหากต้นน้ำเต้าขึ้นมาทั้งหมดให้ถอนทิ้งให้เหลือเพียง 2 ต้นก็พอ เพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่

namtoatao

การดูแลรักษา น้ำเต้า (bottle gourd)
หลังการปลูก น้ำเต้าเป็นพืชที่มีระบบรากตื้น ต้องการความชื้นปานกลาง หลังจากต้นโตให้รดน้ำประมาณ 3-5 วัน/ครั้ง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของ ดินปลูก ว่ามีความแห้งแล้งเพียงใด ถ้าอากาศร้อนมาก ๆ ดินปลูกเริ่มแห้งก้ต้องรดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่ต้องคอยดูไม่ให้ดินแฉะมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่า หลังปลูกไปได้ประมาณ 25-30 วัน หรือเริ่มมีใบจริง 4-5 ใบ จึงเริ่มใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บริเวณโคนต้น ไม่ควรพรวนดินให้ลึกเกินไป เพราะอาจเกิดความเสียหายต่อระบบรากไปจนถึงต้นเลยทีเดียว

namtoakang

การกำจัดวัชพืช ควรจะมีการกำจัดวัชพืชให้น้ำเต้า อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในช่วงที่น้ำเต้ายังเล็กอยู่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะคลุมพื้นที่ปลูกทั้งหมด จะช่วยลดการกำจัดวัชพืชลงได้บ้างบางส่วน

โรคและแมลง น้ำเต้า มีโรคและแมลงรบกวนค่อนข้างน้อย เนื่องจากใบของน้ำเต้ามีกลิ่นเหม็น แมลงไม่ชอบ มีข้อควรระวังอย่างเดียวคือ เรื่องของการให้น้ำอย่าแฉะเกินไปจนทำให้เกิดโรคราก-โคนเน่า

namtoalug

การเก็บเกี่ยวผลผลิต น้ำเต้า (bottle gourd) หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 55-60 วัน ก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้เราเลือกผลที่เหมาะที่จะนำมารับประทานมากที่สุดให้สังเกตในช่วง หลังดอกบาน 6-7 วัน ให้เริ่มทยอยเก็บ จะเก็บในลักษณะวันเว้นวัน ทำเช่นนี้ไปจนหมดผลผลิต

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น