บัวบก เป็นสมุนไพรในเขตร้อนที่ขึ้นในที่ชื้นๆ ทั่วไป เป็นผักพื้นบ้านที่คนในแถบนี้คุ้นเคย ในพม่ามียำใบบัวบก คนมาเลเซียผสมใบบัวบกลงในผักสลัด ในไทยนิยมใช้บัวบกเป็นผักแกล้มลาบ ส้มตำ ซุปหน่อไม้ กินกับน้ำพริก หรือกินกับหมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย และเป็นที่รู้กันดีว่าน้ำใบบัวบกมีสรรพคุณแก้ช้ำใน คนจีนเชื่อว่าน้ำใบบัวบกเป็นยาแก้ช้ำใน ช่วยลดการกระหายน้ำ บำรุงกำลัง ในตำรายาไทยกล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อนขมย็น แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ ขับโลหิตเสีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban
ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort, Tiger Herbal
วงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออื่น : ผักแว่น ผักหนอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
การขยายพันธุ์
การปักชำ การเพาะเมล็ด ไหล ตัดแยกไหลที่มีต้นอ่อนและมีรากงอก นำไปปลูกในที่ชื้นแฉะ แต่ต้องมีแดดพอสมควรเป็นพืชที่ขึ้นง่าย
การปลูก
ระบบรากของต้นบัวบกลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร บัวบกชอบดินที่มีความชุ่มชื้นสูงมากและชอบร่มเงา ต้นจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหล ต้นบัวบกสามารถปลูกได้ตลอดปี มีอายุเก็บเกี่ยว 1-2 เดือน นิยมปักชำด้วยต้นอ่อนๆ ที่งอกจากไหลจะแพร่ขยายได้รวดเร็ว หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้วให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย สามารถปลูกได้ในกระถางและภาชนะอื่นๆ
โรคแมลงที่สำคัญ
หนอนกัดกินใบ หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้านใบ ถ้าระบาดมากจะทำความเสียหายทั่วแปลง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อกางปีกเต็มที่กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังมีสีน้ำตาลอมเทา
การเก็บเกี่ยว
หลังจากปลูกประมาณ 60 – 90 วัน เริ่มเก็บเกี่ยวได้ ใช้เสียมเหล็กขุดเซาะบริเวณใต้ราก แล้วดึงเอาต้นบัวบกออกมาล้างน้ำ ทำความสะอาดเก็บใบเหลืองออก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นและใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่
ในลำต้นและใบมีสารที่สำคัญคือ กรดมาดีคาสสิค (madecassic acid), กรดเอเซียติก (asiatic acid) สารเหล่านี้ จะมีฤทธิ์ในการสมานแผล ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อเป็นหนองในได้อีกด้วย
ประโยชน์ในทางการรักษา
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้นสด ใบและเมล้ด ช่วงเวลาที่เก็บยาเก็บตอนที่ใบสมบูรณ์เต็มที่ สรรพคุณทางยารวมทั้งต้นสามารถแก้เจ็บคอได้ ทำให้มีความสดชื่น ชุ่มคอ แก้ช้ำในก็ดีมาก สามารถแก้ความดันโลหิตสูงได้อย่างดีทีเดียว
ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อดื่มน้ำบัวบกทุกๆวันเป็นประจำเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นก็จะทราบได้ทันทีว่าความดันโลหิตลดลงอย่างน่าพิศวงโดยไม่ต้องไปรับประทานยา ทั้งยังใช้บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล แก้โรคปวดเมื่อย แก้โรคเรื้อน แก้กามโรค ตับอักเสบ ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้ ปวดศรีษะ
ขนาดและวิธีใช้รักษา
การทดลองและวิจัยมีรายงานพอน่าเชื่อถือได้ ว่าแก้ปวดเมื่อย เจ็บหน้าอก เจ็บหลัง เอว ใช้ต้นแห้งบดเป็นผงรับประทานวันละ3-4 กรัม แบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง แก้ตับอักเสบใช้ต้นสด 120 กรัม ผสมน้ำ 500 มิลลิลิตร นำไปต้มให้เหลือ 250 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลกรวดลงไป 60 กรัม ขณะที่ยังร้อน แบ่งรับประทาน 2 ครั้ง ตอนท้องว่างติดต่อกัน 7 วัน เป็น 1 รอบของการรักษา นอกจากนี้ใช้ใบบัวบกรักษาแผลเรื้อรัง แผลอักเสบได้ผลดี
ใบบัวบก ถือว่าเป็นสมุนไพรยอดนิยมของชาวตะวันตก ในเรื่องของประสิทธิภาพการผ่อนคลาย และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความทรงจำได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาทางเภสัชวิทยาเพื่อค้นหาสาระสำคัญ หรือสารออกฤทธิ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในใบบัวบกทำให้เราค้นพบว่า ใบบัวบกจะให้สารไกลโคโซด์ ( Glucosides ) หลายชนิดที่ให้ผลต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Antioxidotion ) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารไกลโคไซด์ที่ได้จากใบบัวบกยังส่งผลในการช่วยเริงการสร้างสารคลอลาเจน ( Collagen ) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็วขึ้น
ใบบัวบก เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย ในตำราไทยระบุสรรพคุณของบัวบกโดยใช้ทั้งต้นดังนี้ แก้ช้ำใน บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ แก้อาการเริ่มโรคบิด แก้ท้องร่วง เป็นยาขจัดเลือดเสีย แก้โรคผิวหนังได้ นอกจากอาการช้ำในแล้ว ใบบัวบกยังมีประโยชน์มากกว่านั้น การบริโภคใบบัวบกจะช่วยบำรุงสมอง ทั้งช่วยซ่อมแซมสมองส่วนที่ถูกทำลายไปแล้ว และช่วยป้องกันไม่ให้สมองส่วนที่ยังปกติดีอยู่นั้นถูกทำลายลงแถมยังช่วยให้ความทรงจำมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดความเครียดได้ด้วย ใบบัวบกยังช่วยกระตุ้นระบบการรับส่งกระแสประสาท ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ( Refiex Reoction )หรือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น จึงช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานและยังช่วยควบคุมระดับแรงดันโลหิตให้เป็นปกติ ลดภาวะความเป็นหมันได้อีกด้วย
ในใบบัวบกยังมีสารไกลโคไซด์ ( Glucosides ) ซึ่งจะช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ที่จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายเราเสื่อมเร็ว และสารที่ว่านั้นก็ยังช่วยสร้างคอลลาเจน ( Collagen ) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้แผลสมานตัวกันเร็วขึ้น สำหรับผู้ที่มีแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือฟกช้ำตามร่างกาย ให้ใช้ใบบัวบกตำละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาทาหรือเอากากมาพอกไว้ที่แผล ก็จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และยังช่วยการเร่งเนื้อเยื้อ ลดการติดเชื้อ ช่วยห้ามเลือด ลดการอักเสบ ทั้งยังลดการเกิดแผลเป็นชนิดนูนได้ด้วย
น้ำใบบัวบก
ส่วนผสม
วิธีทำ
นำใบบัวบกล้างให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำครึ่งส่วน ปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำที่เหลือ คั้นน้ำให้แห้ง นำน้ำที่ใด้ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
ป้ายคำ : สมุนไพร