คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
ชื่อวิยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz Share
ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ชื่อเรียกอื่น จิต๊อก ฉะนอง ดู่ ดู่ป่า ตะเลอ เตอะเลอ ประดู่ ประดู่เสน
ในประเทศไทยไม้ประดู่ป่าขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ พื้นที่ที่พบจะสูงจากระดับน้ำทะเล 300- 600 เมตร พบขึ้นปนกับพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มีไม้สักแดง มะค่าโมง กระพี้เขาควาย ชิงชัน รกฟ้า สมอไทย และสีเสียดแก่น ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ดอกจะบานพร้อมหรือเกือบพร้อมกันทั้งต้นและจะโรยในเวลาต่อมา ผลจะแก่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เนื้อไม้ ใช้ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำกระดาน พื้น ฝา เสา รอด ตง ฯลฯ ใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ รถ รถปืนใหญ่ เกวียน เครื่องเรือนที่สวยงาม ลูกกลิ้ง ด้าม เครื่องมือ และสิ่งอื่น ๆ ที่ต้องการความแข็งแรงและทนทาน ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำโครง กระดูกงู ลูกประสักและส่วนต่าง ๆ ของเรือเดินทะเล ไถ คราด ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ฟันสีข้าว ทำหูกกระสวย ไม้คาน ด้ามหอก คันธนู หน้าไม้ คันกระสุน ทำหวี และสัน แปรง ซออู้ ซอด้วง จะเข้ ในประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่น นิยมใช้ทำเครื่องเรือนกันมาก ปุ่มประดู่มีลวดลายสวยงามมาก และมีราคาแพงใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ชั้นสูง
เปลือกต้น รสฝาดจัด สมานบาดแผล ต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบ รสฝาดชงกับน้ำสระผมพอกฝีให้สุกเร็วพอกบาดแผล แก้ผดผื่นคัน ปุ่มประดู่ รสฝาดร้อนเมาเผาเอาควันรมริดสีดวงให้ฝ่อแห้งต้มดื่มบำรุงโลหิต แก่น รสขมฝาดร้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะโลหิตและกำเดา แก้ไข้ บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง บำรุงกำลัง แก้พิษเมาเบื่อ แก้ผื่นคัน แก้เลือดลมซ่าน ขับปัสสาวะพิการ
ปุ่มประดู่ เป็นตาไม้ที่งอกพองโตออกมา มักจะเกิดจากส่วนที่เคยมีกิ่งแต่กิ่งหัก ไปตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อยู่ มีเนื้อไม้เป็นเสี้ยนสับสนย่นหยักสวยงามและมีราคาแพง ไม้ฟืน ให้ค่าความร้อน 5,022 แคลอรีต่อกรัม ถ่านไม้ ให้ค่าความร้อน 7,539 แคลอรีต่อกรัม เปลือก ให้น้ำฝาดชนิดใช้ฟอกหนังให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้าแก่น ให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้าเช่นเดียวกัน.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 25 ม. ผลัดใบก่อนออกดอก เรือนยอดรูปคล้ายทรงกระบอก ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา หนา แตกหยาบๆ เป็นร่องลึก
- ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ใบจะออกรวมกันเป็นช่อ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม ถ้าขึ้นในที่แล้งจะผลัดใบก่อนออกดอก ดอกออกเป็นช่อมีสีเหลืองสดลักษณะคล้ายดอกถั่ว โคนกลีบเลี้ยงกลีบดอกติดกันเป็นกรวยโค้งเล็กน้อย กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนาดดอกเล็ก ขณะดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาร 0.5- 1 ซม. ดอกบานไม่พร้อมกัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกที่ใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล ฤดูดอกบานอยู่ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
- ใบ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงตัวแบบสลับจำนวน 7-13 ใบ ใบย่อยรูปไข่ รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 4-13 ซม. โคนใบมนหรือค่อนข้างแหลมหรือ oblique ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ โคนก้านใบมีหูใบ 2 อันเป็นเส้นยาว ผิวใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมด้านท้องใบมากกว่าด้านหลังใบ ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
- ดอก ดอกช่อแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง โคนก้านมีใบประดับ 1-2 อัน รูปรี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นถ้วยสีเขียว ปลายแยกเป็น 2 แฉกอันบนจาก 2 กลีบติดกัน อันล่างจาก 3 กลีบติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง แกมแสด ลักษณะกลีบเป็นรูปผีเสื้อ (papilionaceous) เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็น 2-3 กลุ่ม เกสรเพศเมีย 1 อัน
- ผล ผลแห้งแบบ samaroid รูปกลมหรือรีแบน ขอบมีปีกบางคล้ายใบโดยรอบ แผ่นปีกบิด เป็นคลื่น ผิวมีขนละเอียด เส้นผ่านศูนย์กลางผล 4-8 ซม. มี 1 เมล็ด
เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
การเตรียมพื้นที่ การปลูก และการดูแลรักษา
ในการเตรียมพื้นที่จะเตรียมให้ดีมากน้อยขึ้นกับวัตถุประสงค์สภาพพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการปลูก ดังนี้
- การปลูกป่าเพื่อปรับปรุงป่าเสื่อมโทรมหรือปรับปรุงต้นน้ำลำธาร จะมีขั้นตอนไม่มากและเสียค่าใช้จ่ายน้อย คือ กำจัดวัชพืชแล้ว เก็บริบสุมเผาด้วยแรงงาน ถ้าพื้นที่ภูเขาสูงมีหินโผ่ลมาก เครื่องจักร ทำงานไม่สะดวกจะเสียค่าใช้จ่ายสูงการกำจัดวัชพืชโดยเผาจะดีกว่าในกรณีเป็นวัชพืชใบกว้างเช่น สาบเสือก และไม่มีลูกไม้ขนาดเล็กขึ้นอยู่ แต่ควรระวังควบคุมไฟไหม้เฉพาะพื้นที่ที่ต้องการ เมื่อกำจัด วัชพืชแล้วเก็บรักษากองสุมเผา หลังจากทิ้งไว้ให้แห้งสนิทแล้ว และควรทำให้เสร็จภายในเดือนมีนาคม
- การปลูกป่าเชิงพาณิชย์ จะมีขั้นตอนกา แผ้วถางวัชพืชและเก็บริบสุมเผาเช่นเดียวกับ วิธีแรก แต่จะใช้รถแทรกเตอร์ไถพรวน 2 ครั้ง คือ ไถบุกเบิกด้วยผาน 3 และไถพรวนกลับดิน อีกครั้งด้วยผาน 7 เพื่อให้ดินร่วนและระบาย น้ำดี ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ระยะแรก จะสูง แต่อัตราการรอดตายของต้นไม้มีมาก เจริญเติบโตดีและประหยัดค่าใช้จ่ายในการ บำรุงรักษาระยะยาว
- การปลูกโดยระบบวนเกษตร จะมีการเตรียมพื้นที่ที่ดีกว่า 2 แบบแรก เนื่องจากจะต้องปลูก พืชเกษตรแทรกระหว่างแถวของต้นไม้ด้วย วิธีนี้จะเสียค่าใช้จ่ายสูงแต่ช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืชได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นไม้ที่ปลูกจะเจริญเติบโตดี การตัดถนนและทำแนวกันไฟจะทำเมื่อเตรียมพื้นที่เสร็จแล้ว โดยทำถนนไว้ใช้ในการดำเนินการปลูกป่า เพื่อเป้นแนวทางตรวจการ และแนวกันไฟไปด้วย ถนนควรกว้างอย่างน้อย 4 เมตร และไม่มีความลาดชันมากนัก กรณีที่ปลูกป่าผืยใหญ่ถนนจะแบ่งพื้นที่ปลูกเป็นตอน ๆ เพื่อสะดวกแก่การทำงานวิธีการปลูกไม้ประดู่สามารถปลูกได้หลายวิธี ดังนี้1. การปลูกด้วยกล้า วิธีนี้จะให้ผลดีมีอัตราการรอดตามสูงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายกล้าไปปลูก คือ ต้นฤดูผนกล้าที่ปลูกจะมีช่วงเวลารับน้ำฝนนานก่อนจะถึงฤดูแล้ง จึงทำให้อัตราการรอดตายสูง วิธีปฏิบัติที่ดีก่อนนำกล้าไม้ไปปลูก มี
(1) การทำให้กล้าแกร่ง คือ ก่อนนำกล้าไปปลูก 1 เดือน จะลดการให้น้ำจากเช้าเย็นเป็น เช้าเพียงครั้งเดียวในช่วง 1 สัปดาห์ และ 2 สัปดาห์ ต่อมาจะให้น้ำวันเว้นวัน ถ้ากล้าไม้อยู่ใน เรือนเพาะชำหลังคาเปิดก็เกิดให้กล้าไม้ได้รับแสงเต็มที่ตลอดวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ก่อนนำไปปลูก แต่ถ้ากล้าไม้อยู่ในเรือนเพาะชำปิดต้องย้ายกล้าไม้ออกมาที่กลางแจ้ง แล้วรดน้ำวันละครั้ง2-3 วัน หลังจากนั้นจึงลดเหลือเป็นวันเว้นวันได้
(2) การคัดเลือกกล้าไม้ ควรเลือกกล้าที่ได้ขนาดไปปลูก่อน ซึ่งสามารถเลือกได้ง่าย ถ้า มีการเรียงตามความสูงตั้งแต่แรกและก่อนปลูกควรรดน้ำกล้าไม้ให้ชุ่ม
(3) การขนส่งกล้าไม้ ควรใช้ภาชนะที่มีขนาดและน้ำหนักพอเหมาะสำหรับคนงานที่จะขนย้ายได้สะดวก และระวังอย่าให้กระทบกระเทือน เมื่อถึงที่ปลูกควรหาที่ร่มให้กล้าไม้ได้วางพักหรือที่ใกล้แหล่งน้ำมากที่สุด และควรนำกล้าไปปลูกในปริมาณพอดีกับแรงงานที่ปฏิบัติงานได้ในแต่ละวัน
(4) การเตรียมหลุมปลูก การขุดหลุมปลูกควรทำในวันปลูก โดยใช้จอบขุดหลุมขนาด (กว้าง x ยาว x ลึก) 25x25x25 เซนติเมตร และไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือยากำจัดปลวก เพราะจากผลการทดลองปลูกไม้ประดู่ ไม่ปรากฎความเสียหายจากสาเหตุดังกล่าวและประดู่สามารถทนทานต่อวัชพืชได้2.ระยะปลูกที่เหมาะสม ประดู่เป็นไม้ป่าที่มีค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องการไม้ขนาดใหญ่ ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบไม้แปรรูปต่าง ๆ ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 2X 4 หรือ 4 X 4 เมตร ไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป ระยะปลูกแคบจะช่วยให้ต้นไม้มีรูปทรงดี ลิดกิ่งตามธรรมชาติหรือแตกกิ่งก้านค่อนข้างน้อย เนื้อไม้มีแผลเป็นน้อยใช้แปรรูปได้ดีปริมาณมาก สำหรับการปลูกป่าในระบบวนเกษตร ระยะปลูกควรจะต้องกว้าง เช่น 2 X 8เมตร หรือ 4 X 4 เมคร เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและใช้ช่วงระหว่างต้นไม้ เพื่อปลูกพืชเกษตรได้ดีด้วย
3.การปลูกผสมกับไม้ชนิดอื่น การปลูกไม้ใช้สอยเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ จะมีทั้งไม้โตช้าและโตเร็ว ไม้ประดู่จัดเป็นไม้โตช้ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่ปลูกร่วมกับไม้โตเร็วชนิดอื่นได้ เช่น ไม้ยูคาลิปตัสหรือสะเดา เพื่อผลิตไม้ซุงหรือไม้ใช้ก่อสร้างขนาดเล็ก และปลูกผสมกับไม้โตเร็วตระกูลถั่ว เช่น กระถินยักษ์ กระถินณรงค์หรือกระถินเทพา เพื่อผลิตฟืนและถ่าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และยังเป็นการลดการเช้าทำลายของโรคและแมลงอีกด้วย
4. การปลูกประดู่ด้วยเหง้า การปลูกด้วยเหง้า เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปลูกสวนป่า โดยเฉพาะการขนส่งและการปลูก จากการทดลองปลูกไม้ประดู่ด้วยเหง้า ปรากฎว่าได้ผลดี มีอัตราการรอดตายอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แม้ว่าจะต่ำกว่าการปลูกด้วยกล้า ส่วนการเติบโตไม่แตกต่างกันแต่อย่างใด การเตรียมเหง้าประดู่ คือการเตรียมดิน ยกแปลงเพื่อเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าที่เพาะลงในแปลที่เตรียมไว้ ระยะห่างระหว่างกล้าที่ชำ 10 x 10 ซม. การบำรุงรักษาแปลงมีการรดน้ำถอนวัชพืช พ่นยาฆ่าแมลงตามความจำเป็น เมื่อกล้าไม้มีอายุประมาณ 1ปี จึงถอนมาตัดแต่งให้ความยาวของส่วนเหนือคอรากประมาณ 2.5 ซม. ริดรากแขนงออกให้หมด ขนาดเหง้าที่เหมาะสมควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6-1.2 ซม. ขนาดเหง้าที่ใหญ่กว่าไม่ทำให้มีอัตรารอดตายหรือเติบโตสูงขึ้น ความยาวของเหง้าควรประมาณ 15 ซม. ซึ่งสะดวกในการปลูกและการรวมมัด
5. การปลูกไม้ประดู่ด้วยกล้าเปลือยราก คล้ายวิธีการปลูกด้วยเหง้านอกจากจะลดค่าใช้จ่าย ในแต่ละขั้นตอนการปลูกแล้วกล้าเปลือยรากจะมีน้ำหนักเบาและใช้คนเดียวขนกล้าไปปลูกได้การเตรียมกล้าเปลือยราก จะเพาะเมล็ดในแปลงกลางแจ้ง และย้ายชำลงแปลงให้ต้นห่างกัน 15 เซนติเมตร ทำการตัดรากอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามีระบบรากสมบูรณ์ เมื่อกล้าไม้ มีอายุ 7 – 8 เดือนก็ถอนไปปลูกได้ การเตรียมอีกวิธีหนึ่งจะเลี้ยงกล้าในถุง เมื่ออายุ 7 – 8 เดือน ก็เอาดินในถุงออก และควรจะทำในวันเดียวกันการนำไปปลูกจะให้อัตราการรอดตายสูง และอัตราการเจริญเติบโตไม่ต่างจากกล้าถุงดินปลูก ข้อสำคัญของการปลูกวิธีนี้จะต้องมีการจัดการพัฒนาระบบรากกล้าไม้ให้ดีและมีขนาดความโต และความสูงของต้นที่เหมาะสม6. การปลูกไม้ประดู่ในฤดูแล้ง มีประโยชน์ในการขยายช่วงเวลาให้กล้าได้ ตั้งตัวหลังปลูกจนถึงฤดูฝน ความสะดวกใน การขนส่งต่าง ๆ และหาแรงงานได้ง่าย สิ่งสำคัญจะต้องหาวิธีการที่ดีในการเตรียมกล้าและปลูกให้ประสบความสำเร็จดียิ่ง คือกล้าไม้ควรเป็นกล้าค้างปีอายุประมาณ 16 เดือนก่อนนำไปปลูกจะฉีกเฉพาะก้นถุง ให้รากเจริญลงดินได้ขนาดหลุม 25X25X25 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วพรวนดินกลบเป็น แอ่งเล็กน้อย ถ้าปลูกในทุ่งหญ้าคาในลักษณะ เจาะช่องปลูก จะได้ร่มเงารอบ ๆ แต่เมื่อถึงฤดูฝนต้องหญ้าออกทันที จากการทดลองปลูกไม้ประดู่วิธีนี้โดยไม่มีฝนตกเลย 32 วัน อัตรารอดตายเฉลี่ยประมาณร้อยละ 90 คือ ไม้ประดู่ สามารถทนแล้งได้ 1 เดือน และ ยังพบอีกว่า อัตรารอดตาย และการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกับการปลูกในช่วงต้น ฤดูฝนแต่อย่างใด
การบำรุงรักษา
- การกำจัดวัชพืช ควรทำในฤดุการเจริญเติบโตของกล้าไม้หลังจากได้รับน้ำฝนเต็มที่ เพื่อให้กล้าไม้พ้นจากการแก่งแย่งของวัชพืช ถ้าวัชพืชปกคลุมกล้าหนาแน่น จะทำทั่วทั้งพื้นที่ด้วยเครื่องจักรและแรงคน และถ้าวัชพืชไม่หนาแน่นมากนัก จะใช้วิธีถางเป็นวงกลม รอบต้นอักวิธีหนึ่งคือการถางระหว่างแนวปลูกโดยเครื่องจักรกล ระยะปลูกไม่ควรต่ำกว่า 2 X 4 เมตร เพื่อความสะดวกของเครื่องจักรกลเข้าไทำงาน การกำจัดวัชพืชครั้งต่อไป ควรกระทำก่อนถึงฤดูแล้งเพื่อป้องกันไฟและลดเชื้อเพลิง ความถี่ของการกำจัดวัชพืชจะขึ้นอยู่กับชนิดวัชพืช วิธีการเตรียมพื้นที่ ชนิดไม้ที่ปลูกและงบประมาณดำเนินการไม้ประดู่ควรทำ 2-3 ครั้ง หลังปลูกก็พอ
- การปลูกซ่อม หลังการปลูกควรติดตามว่า มีกล้าไม้ตายมากน้อยเพียงใด แล้วรีบปลูกซ่อมให้เต็มพื้นที่ และควรทำหลังจากการถางวัชพืชครั้งแรก เพื่อให้กล้าปลูกใหม่เจริญเติบโตสม่ำเสมอ กับกล้าปลูกครั้งแรก
- การให้ปุ๋ย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของกล้าปลูกใหม่ให้พ้นจากวัชพืช โดยเร็วและเป็น การเพิ่มผลผลิตไม้ในสวนป่าด้วย ถ้าพื้นที่ดินไม่ดีปุ๋ย จะช่วยให้ไม้ประดู่มีอัตราการรอดตาย และการเจริญเติบโตทั้งความสูงที่ดีกว่าถ้าไม่ใส่ปุ๋ยหรือใส่ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุอาหารในธาตุหนึ่งไม่ครบ วิธีการใส่ปุ๋ยจะทำหลังปลูก 1 เดือน ในปริมาณ 50 กรัม ต่อต้น (1 ช้อนแกง) ใส่ดินลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ห่างจากโคนต้น 30 เซนติเมตร จะช่วยการเจริญเติบโตของไม้ประดู่หลังปลูกได้ดี
- การป้องกันไฟ ควรทำแนวกันไฟกว้างประมาณ 10-15 เมตร รอบแปลงสวนป่า เพื่อป้องกันทั้งไฟภายนอกหรือจากการเผาไร่ไม่ให้ลุกลามเข้ามา ถ้ามีการกำจัดวัชพืชดีจะช่วยลดปัญหาไฟเป็นอย่างดีหากมีการตัดถนนเมื่อเริ่มปลูกป่าก็จะ ใช้เป็นทางตรวจการและแนวกันไฟไปใน ตัวด้วย แต่ถ้ามีการปลูกสวนป่า ผืนใหญ่ก็ อาจจะทำแนวกันไฟภายในแบ่งเป็นแปลง ย่อย ๆ เพิ่มขึ้น
- การป้องกันโรคแมลงและสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันการปลูกประดู่ ยังไม่พบความเสียหายที่เกิดจากโรคแมลง การป้องกันโดยทั่วไปจะทำความสะอาดสวน และกำจัดวัชพืช หรืออีกวิธีหนึ่งจะปลูกพันธุ์ไม้หลายชนิดในสวนป่า ส่วนสัตว์กัดแทะจะป้องกันโดยใช้ยาเบื่อหรือกับดัก และถ้ามีสัตว์เลี้ยงเข้ามาทำลายต้นไม้ที่ปลูกก็จะต้องลงทุนทำรั้วรอบสวนป่าเมื่อเริ่มปลูก
- การตัดแต่งกิ่งไม้ประดู่โดยทั่วไปจะลิดกิ่งเมื่ออายุ 5 ปี เพื่อช่วยให้ลำต้นเปลาตรงการลิดกิ่งไม่ควรสูงเกิน 10 เมตร เพราะจะทำได้ลำบาก วิธีลิดกิ่งจะใช้บันไดปีนขึ้นไปแล้วเลื่อยกิ่งด้วยเลื่อยมือติดลำต้นและอย่าให้มีแผลฉีกขาด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ต้นประดู่
- การตัดสางขยายระยะ จะช่วยให้เกิดความเจริญเติบโตของขนาดลำต้น คือเริ่มแรก ปลูกระยะแคบเพื่อบังคับให้ลำต้นเจริญเติบโคทางความสูงและเปลาตรง เมื่อเห็นว่า ต้นประดู่เบียดชิดกันมากจะตัดสางขยายระยะระหว่างต้นออกซึ่งกระทำเมื่ออายุ 10 ปี โดยตัดต้นเว้นต้น ครั้งต่อไปก็อาจจะทำตามความเหมาะสม หรืออาจจะเลือกตัดต้นที่มีลักษณะไม่ดีออกก็ได้