ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาหรือพื้นที่ลาดชัน มีลําคลอง ลําห้วยไหลผ่าน ส่วนราชการต่างๆ จะพัฒนาแหล่งน้ำตามที่ผู้นําท้องถิ่นร้องขอ หรือพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่เป็นระบบชลประทานประเภทประปาภูเขา โดยก่อสร้างฝายทดน้ำปิดกั้นลําน้ำธรรมชาติ บริเวณพื้นที่สูงต้นน้ำ และวางระบบท่อส่งน้ำส่งไปยังพื้นที่อยู่อาศัยของราษฎรบริเวณด้านล่างหรือบริเวณพื้นที่ราบ โดยแรงโน้มถ่วงของโลก ไปใช้สําหรับการอุปโภค-บริโภคหรือเพื่อการเกษตร ให้แก่ราษฎร
องค์ประกอบที่สําคัญของโครงการ
1. ฝายทดน้ำ ส่วนใหญ่เป็นฝายคอนกรีตเสริมเหล็กก่อสร้างปิดกั้นลําน้ำธรรมชาติบริเวณที่สูงต้นน้ำเพื่อยกระดับน้ำและเก็บกักน้ำไว้บริเวณหน้าฝาย ความสูงของตัวฝายประมาณ 1.0-2.0 เมตร ส่วนใหญ่ระดับสันฝายจะอยู่ต่ำกว่าระดับตลิ่งคลองประมาณ 1.0-2.0 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ของราษฎรบริเวณเหนือตัวฝาย ความยาวของสันฝายจะมีความยาวกว่าความกว้างของลําน้ำ เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ทันในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยไม่เกิดการกัดเซาะตัวฝายหรือลาดตลิ่งให้ได้รับความเสียหาย
2. ประตูระบายทราย ก่อสร้างไว้ที่บริเวณตัวฝายใช้เป็นที่ระบายตะกอนดิน หรือตะกอนทรายในช่วงฝนตกหนัก ไม่ให้ทับถมบริเวณหน้าฝายหรือไหลเข้าไปอุดตันในท่อส่งน้ำ มี 2 แบบคือ เครื่องแบบกว้าน-บานระบาย มีโครงยกควบคุมการปิด-เปิดโดยพวงมาลัย และแบบท่อเหล็ก ขนาด 12 – 24 นิ้ว ควบคุมการปิด-เปิดโดยประตูน้ำ ปัจจุบันไม่นิยมออกแบบเป็นท่อเหล็กแล้ว เนื่องจากในช่วงฝนตกหนักไม่สามารถระบายตะกอนได้ทัน ทําให้เกิดปัญหาตะกอนดินและทรายตกทับถมบริเวณหน้าฝายหรือไหลเข้าไปอุดตันในท่อส่งน้ำ
3. โรงกรองน้ำ ก่อสร้างไว้บริเวณที่สูงด้านท้ายฝายส่วนใหญ่สามารถกรองน้ำได้ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ลักษณะเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในแยกเป็นชั้นกรอง 4 ชั้น ประกอบด้วยกรวด ทราย ถ่าน และกรวด เพื่อใช้กรองน้ำให้สะอาดในระดับหนึ่งก่อนส่งไปตามท่อ เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป อายุการใช้งานของวัสดุกรองน้ำประมาณ 1-3 ปี ขึ้นกับปริมาณของตะกอนในน้ำ หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยนวัสดุกรองใหม่
4. บ่อลดพลังงาน ลักษณะเป็นถังเก็บน้ำสี่เหลี่ยม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเป็นบ่อพักน้ำรูปทรงกรวยขนาดความจุประมาณ 20 ลูกบาศก์เมตร ขึ้นกับความเหมาะสมของการใช้งาน ในกรณีที่ตัวฝายตั้งอยู่ที่สูงมาก จะต้องมีอาคารลดพลังงานเป็นบ่อพัก เพื่อลดแรงดันของน้ำ ป้องกันไม่ให้ท่อ ส่งน้ำหรืออาคารประกอบอื่น แตก ชํารุด จากแรงดันน้ำ
5. ลิ้นระบายอากาศ (แอร์วาล์ว) ลักษณะเป็นท่อเหล็ก ขนาด 2.5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นกระเปาะภายในมีลูกลอยควบคุมการปิด – เปิด จะติดตั้งไว้บริเวณแนวท่อช่วงผ่านที่เนินสูง ทํางานโดยอัตโนมัติ เพื่อระบายอากาศในท่อ ช่วยลดแรงดันภายในท่อส่งน้ำ ทําให้น้ำไหลได้สะดวกยิ่งขึ้น มีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี ในกรณีที่ท่อแตกโดยไม่ทราบสาเหตุให้ตรวจสอบว่าลูกลอยในลิ้นระบายอากาศยังสามารถใช้การได้อยู่หรือไม่ หากชํารุดให้ซ่อมแซมใหม่หรือเปลี่ยนให้มีขนาดที่เหมาะสม ให้สามารถระบายอากาศได้ดี
6. ท่อระบายตะกอน (โบลออฟ) ลักษณะเป็นท่อระบายน้ำเหล็กอาบสังกะสี ขนาด 4 นิ้ว มีประตูน้ำควบคุมการปิด-เปิด ติดตั้งไว้บริเวณช่วงที่แนวท่อส่ง น้ำวางผ่านที่ลุ่มต่ำ ซึ่งจะเกิดการตกตะกอนของดินหรือทราย เป็นอุปสรรคต่อการส่งน้ำโดยควรเปิดประตูเพื่อระบายตะกอนทรายเพื่อระบายตะกอนทรายทิ้ง ปีละ 1-3 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับปริมาณตะกอน)
7. ท่อส่งน้ำ โดยทั่วไปมีขนาด 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้วและ 10 นิ้ว ตามปริมาณความต้องการใช้น้ำ ส่วนชนิดของท่อขึ้นกับสภาพพื้นที่ที่วางแนวท่อส่งน้ำและกําลังงบประมาณ ท่อที่นิยมใช้งานอยู่มี 4 ชนิด คือ
8. หลักแนวท่อ ลักษณะเป็นเสาคอนกรีต ขนาดหน้ากว้าง 12 เซนติเมตร ฝังลึกลงในดินประมาณ 70 เซนติเมตร สูงเหนือพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร ทาสีขาว-แดง ปักไว้ตามแนวที่วางท่อส่งน้ำทุกระยะ 100 เมตร เพื่อใช้เป็นแนวสังเกตป้องกันการเสียหายจากการขุดเจาะ หรือการบดทับ เพื่อสะดวกการซ่อมแซมบํารุงรักษาภายหลัง
9. ประตูน้ำ เป็นประตูน้ำเหล็กหล่อสําเร็จรูปติดตั้งไว้บริเวณจุดเริ่มต้นของท่อส่งน้ำ บริเวณท่อแยก และบริเวณปลายท่อ เพื่อใช้ควบคุมปริมาณน้ำ แบ่งน้ำ หรือปิดน้ำเพื่อการซ่อมแซมท่อส่งน้ำ
10. ถังเก็บน้ำ มีขนาดบรรจุ 10 ลูกบาศก์เมตร และ 50 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งบางชนิดจะมีถังกรองน้ำจํานวน 3 ลูก ทําหน้าที่กรองน้ำก่อนนําไปเก็บไว้ในถังเก็บน้ำ กรณีที่มีปริมาณแหล่งน้ำต้นทุนน้อย จะก่อสร้างถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุ 500 – 1,600 ลูกบาศก์เมตร สํารองน้ำไว้ใช้ในช่วงขาดแคลนน้ำอีกด้วย
11. จุดจ่ายน้ำ ลักษณะเป็นท่อแยกจากท่อสายเมนหรือแยกจากสายซอยติดตั้งไว้เพื่อเป็นจุดจ่ายน้ำให้กับครัวเรือนของราษฎรตามความจําเป็น ส่วนใหญ่ จะมีขนาด 3/4 -1.5 นิ้ว โดยจะให้ผู้ใช้น้ำรวมกลุ่มกัน 2-5 ครัวเรือน ติดตั้งเพียงจุดเดียวหากผู้ใช้น้ำอยู่ห่างไกลจากรายอื่นคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำอาจอนุญาตให้เป็นกรณีพิเศษ การต่อท่อส่งน้ำจากสายเมนไปใช้ในครัวเรือน ผู้ใช้น้ำต้องดําเนินการเองและออกค่าใช้จ่ายกันเอง
วิธีการใช้น้ำและการบํารุงรักษา
การถ่ายโอนโครงการ
หน่วยงานผู้ก่อสร้างจะถ่ายโอนโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่ได้แก่ อบต.หรือ เทศบาล เป็นผู้ใช้ประโยชน์และดูแลบํารุงรักษา ยกเว้นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ และโครงการป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย ยังอยู่ในความดูแลของหน่วยงานผู้ก่อสร้างหน่วยงาน อบต. ที่ได้รับการถ่ายโอนโครงการสามารถเสนอแผนขอตั้งงบประมาณค่าซ่อมแซมบํารุงรักษาประจําปี จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ตามความจําเป็นในส่วนของโครงการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้แก่ท้องถิ่นได้แก่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและโครงการป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย หากมีปัญหาการใช้น้ำหรือการซ่อมแซมบํารุงรักษาให้แจ้งหน่วยงานผู้ก่อสร้าง หากเป็นของกรมชลประทานให้แจ้งที่หน่วยงานชลประทานในพื้นที่
วิธีการใช้น้ำ
การซ่อมแซมบํารุงรักษา
กลุ่มผู้ใช้น้ำ
เนื่องจากระบบท่อส่งน้ำประปาภูเขาส่วนใหญ่จะมีปัญหาการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจากมีปริมาณน้ำต้นทุนมีค่อนข้างจํากัด ท่อมีความยาวมาก หรือมีหลายแยก การที่จะส่งน้ำให้ได้ใช้อย่างทั่วถึงและเพียงพอจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จึงต้องให้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน และคัดเลือกคณะกรรมการจากสมาชิกผู้ใช้น้ำขึ้นมาบริหารการใช้น้ำตามความจําเป็นดังนี้
ที่มา
สํานักชลประทานที่ 17 และคณะสนับสนุนโดยสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง