ปลาสลิด (Snake-skined gourami) หรือ ปลาใบไม้ เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านที่มีมีรสชาติดี และเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งปลาสด และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ปลาสลิดแดดเดียวหรือปลาสลิดตากแห้ง ปลาสลิดรมควัน ปลาเค็มปลาสลิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาสลิดตากแห้ง ถือเป็นผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูปที่นิยมรับประทานมากที่สุด เนื่องจากสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีรสมันอร่อย และนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง
ปลาสลิดตากแห้ง จัดได้ว่าเป็นอาหารประจำในสำรับของคนไทยทุกชนชั้นมาช้านาน ปลาสลิดจะไม่นิยมนำมาบริโภคสด แต่นิยมทำเค็มและตากแห้ง จึงทำให้มีการผลิตปลาสลิดตากแห้งออกมาเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและเป็นสินค้าส่งออกไปยังผู้ที่นิยมบริโภคในต่างแดน อาทิเช่น ชุมชนชาวเอเชียในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้น การผลิตปลาสลิดเค็มแห้งให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ รสชาติดีไม่เค็มเกินไปและมีความชื้นพอควรเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จำเป็นต้องมี องค์ประกอบที่สำคัญตั้งแต่การ
ปลาสลิดแดดเดียวหรือปลาสลิดตากแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาสลิดสดทั้งตัวหรือปลาสลิดที่ตัดหัวแล้วควักไส้ และไข่ออก แล้วล้างทำสะอาด ก่อนจะคลุกกับเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือ แล้วนำมาทำให้แห้งด้วยการตากหรือการอบ
ปลาสลิดตากแห้ง
ปลาสลิดแดดเดียวหรือปลาสลิดตากแห้งที่มีคุณภาพจะต้องมีกลิ่นตามธรรมชาติไม่มี กลิ่นเหม็นอับ กลิ่นหืน หรือกลิ่นปลาเน่า และมีรสชาตไม่เค็มเล็กน้อย และต้องมีความชื้นไม่เกิน 65%
วิธีทำปลาสลิดตากแห้ง
ในการผลิตปลาสลิดแดดเดียวหรือปลาสลิดตากแห้ง มีวิธีการเริ่มจากการตัดหัว และควักไส้แล้ว นำมาล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนนำมาคลุกเค้าด้วยเกลือ และน้ำแข็ง ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นล้างด้วยน้ำ ก่อนนำไปตากแดดปกติแล้วสัดส่วนของปลาต่อเกลือต่อน้ำแข็งจะอยู่ที่ 1:1:1
การคัดเลือกปลา และทำความสะอาด
การคัดขนาดของปลา
หลังจากการคัดแยกเสร็จจะทำการตัดแต่ง โดยการขอดเกล็ด ตัดหัว และชักไส้ หลังจากนั้น ให้ล้างให้สะอาดด้วยน้ำเกลือ 7-10 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เพื่อขจัดเลือดและเมือกออกจากตัวปลาให้มากที่สุด แล้วปล่อยไว้ให้สะเด็ดน้ำก่อนใส่เกลือ เมื่อได้ปลาที่ต้องการแล้ว เข้าสู่กรรมวิธีการทำเค็มต่อไป
การใช้เกลือหมัก
การใช้เกลือเม็ด
ใช้น้ำเกลือ (Wet or brine salting)
ใส่ปลาในภาชนะที่ใช้หมัก ใช้วัสดุที่เหมาะสมวางทับหรือขัดเพื่อกันไม้ให้ปลาลอย เทน้ำเกลืออิ่มตัวหรือน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น ไม่น้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้ท่วมปลา โดยใช้อัตราส่วนของน้ำเกลือต่อปลา 1 : 1 โดยน้ำหนัก เพื่อให้ปลาเค็มที่ได้มีลักษณะและเนื้อสัมผัสเป็นที่ยอมรับ น้ำเกลือควรต้ม กรองและปล่อยให้เย็นก่อนใช้ เพื่อป้องกันการเน่าเสียของปลาอันเกิดจากการเจริญของแบคทีเรียที่ชอบเกลือ
ใช้เกลือเม็ดกับน้ำเกลือ
เคล้าปลากับเกลือให้ทั่ว และใส่ในช่องท้องกับช่องเหงือกด้วย เรียงปลาเป็นชั้นๆ ในภาชนะที่ใช้หมักโดยโรยเกลือคั่นระหว่างชั้น แล้วโรยเกลือทับหน้าหนาประมาณ 7.5 เซนติเมตร อีกชั้นหนึ่ง ใช้วัสดุที่เหมาะสมวางทับหรือขัดเพื่อกันไม่ให้ปลาลอย แล้วเติมน้ำเกลืออิ่มตัวลงในภาชนะที่ใช้หมักจนท่วมตัวปลาหมักทิ้งไว้เป็น เวลา 7 10 วัน
หลังจากการขอดเกล็ด ตัดหัว ควักไส้แล้วให้ ดองเกลือในอัตราส่วนต่างๆ กัน ดังนี้
ทำการดองเกลือ 1 คืน (ประมาณ 12 ชั่วโมง) เอาออกมาล้าง
การหมักจะใช้เกลือป่นคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วนำไปหมักหรือดองในถังหมัก โดยถังหมัก 1 ถัง สามารถจุปลาได้ประมาณ 200 ตัว ซึ่งในขณะที่ทำการหมักจะมีฝาปิดไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงวันลงไปไข่ แบ่งการหมักออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
การทำแห้ง
การทำแห้งโดยวิธีธรรมชาติ หลังจากหมักปลาตามระยะเวลาการหมักซึ่งแตกต่างกันในแต่ละสูตรข้างต้นแล้ว นำปลาไปล้างน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เพื่อเอาเกลือออกจากนั้นนำไปตากแดด โดยมีวิธีการตาก ดังนี้
นอกจากการทำแห้งด้วยการตากแดดแล้วอาจใช้วิธีการทำให้แห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน
การเก็บรักษาปลาสลิดแห้ง
การบรรจุปลาสลิดแห้ง
ป้ายคำ : แปรรูปอาหาร