ต้นปลาไหลเผือกเป็นยาไม้รากเดียว ต้นปลาไหลเผือนกหรือโสมเทวดา หรือพญานาคราช มีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่หายาก และ เป็นสมุนไพรที่หมอสมุนไพรสมัยโบราณปิดเป็นความลับมาตลอด ผู้ที่รู้ก็เฉพาะหมอสมุนไพรไม่กี่คนที่ศึกษามาอยู่ในอาศรมฤาษีเท่านั้น เพราะต้นปลาไหลเผือกมีความเร้นลับมาก สมุนไพรทั้ง 4 ชื่อนี้ล้วนแต่มีฤทธิ์ทั้งนั้นซึ่งมีประวัติความเป็นมาในโบราณคดีของสมุนไพรหรือปลาไหลเผือก ในยุคต้นไม้เจริญ ต้นไม้ก็รับใช้ถือว่าเป็นยาสำหรับมนุษย์ให้หายจากโรคภัยได้อย่างไม่ต้องสงสัยพอยุคมนุษย์เจริญ ต้นไม้ก็ยังรับใช้มนุษย์เหมือนเดิม ต้นปลาไหลเผือกที่ว่านี้หมอสมุนไพรโบราณเคยเล่าว่า สามารถรักษาโรคได้ 108 โรค จะเท็จหรือจริงนั้นลองดูว่าคำโบราณผิดหรือถูก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack
วงศ์ : Simaroubaceae
ชื่ออื่น : คะนาง ขะนาง ไหลเผือก (ตราด) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) หยิกปอถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอย (ภาคอีสาน) เพียก (ภาคใต้) กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุวุเบ๊าะมิง ดูวุวอมิง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลอมดำ แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคู่ ออกเรียงสลับหนาแน่นที่ปลายยอด ใบย่อยมี 7-8 คู่ รูปใบหอกหรือรูปรี กว้าง 1.5-6.5 ซม. ยาว 5-20 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ดอก ออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ ดอกสีม่วงแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 ซม. กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ รูปไข่มีขน เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกสีแดง ผล รูปกลมรี กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 1-1.7 ซม. ออกเป็นพวง ผิวเรียบ ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง เมล็ดเดี่ยว
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สูง 1-10 เมตร เปลือกสีน้ำตาล เป็นไม้ลงราก รากกลมโตสีขาวยาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น แตกกิ่งก้านน้อย ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลาย เรียงหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบประกอบยาวได้กว่า 35 เซนติเมตร ใบย่อย 8-13 คู่ เรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม รูปใบหอกแกมรูปไข่กลับหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ เรียวยาว ใบย่อยเรียงแบบตรงข้าม กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร เส้นแขนงใบข้างละ 8-12 เส้น ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ โคนใบเบี้ยว เส้นใบเห็นไม่ชัดเจน ปลายโค้งจรดกัน เส้นกลางใบนูนเล็กน้อยด้านบน นูนเด่นชัดด้านล่าง ไม่มีก้านใบย่อย แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเรียบเป็นมัน ผิวด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปราย ก้านช่อใบยาว 7-15 เซนติเมตร ดอกช่อแบบแยกแขนง ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง และซอกใบ เป็นช่อพวงใหญ่ ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ดอกแยกเพศร่วมต้น หรือแยกเพศต่างต้น มีขนละเอียดและขนสั้นเป็นต่อมกระจาย ทั้งก้านช่อดอก ก้านดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยง มีขนประปรายและมีขนต่อมเป็นกระจุก กลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงปนแดง เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 6-7 มิลลิเมตร กลีบดอกรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 2 มิลลิเมตร ยาว 4-5 มิลลิเมตร กลีบดอกแยกจากกันเป็นอิสระ เกสรเพศผู้ยาวมี 5-6 อัน ยาว 1.5-2.5 มิลลิเมตร ติดสลับกับกลีบดอก โคนก้านชูอับเรณูมีรยางค์และมีขน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันในดอกเพศเมียขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ในดอกเพศผู้ยาวได้ถึง 2 ดอกเพศเมีย รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 5-6 คาร์เพล แยกจากกัน แต่ละอันมี 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว เชื่อมกันหรือแนบชิดกัน ติดเหนือรังไข่ประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ยอดเกสรรูปโล่ มี 5-6 แฉก ชี้ขึ้น ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ใบประดับรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กว้าง 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หลอดกลีบเลี้ยงสั้น โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย ผลทรงกลม เป็นพวง มีประมาณ 5 ผลย่อย ทรงรีหรือรูปไข่ กว้าง 8-12 มิลลิเมตร ยาว 1-2 เซนติเมตร ผนังผลชั้นในแข็ง ก้านผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เปลือกนอกบาง กลางผลมีร่องตื้นๆตามยาว ผลแก่สีแดงถึงม่วงดำ เมล็ดรูปรีมี 1 เมล็ด ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พบขึ้นกระจายในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น ระดับความสูงจนถึงประมาณ 700 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ฝนน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ราก นำไปเข้ายาบำรุงกำลัง นำรากผสมกับรากโลดทะนงแดง และพญาไฟ ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ใช้เลิกเหล้า รากผสมรากย่านางแดง และพญายา ฝนน้ำกินขับพิษ รากผสมกับรากโลดทะนงแดงและพญาไฟ ฝนน้ำกิน ทำให้อาเจียน ใช้เลิกเหล้า
ตำรายาไทย ใช้ ราก รสขม เบื่อเมาเล็กน้อย ถ่ายพิษต่างๆ ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้พิษเสมหะ และโลหิต แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ตัดไข้ทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรคระยะบวม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ความดันเลือดสูง อัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก
ประเทศมาเลเซีย ใช้ ราก ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงหลังคลอดบุตร ใช้ภายนอกเป็นยาพอกแก้ปวดหัว ปิดบาดแผลพุพอง และยังมีสรรพคุณหลายประการ เช่น มีคุณสมบัติต้านเชื้อไวรัส เชื้อไข้มาเรีย ลดอาการไข้ ต้านโรคของอาการภูมิแพ้ต่างๆ ต้านเซลล์มะเร็ง และความดันโลหิตสูง เป็นที่นิยมมากในมาเลเซีย
ปลาไหลเผือกกับคุณสมบัติการกระตุ้นกามารมณ์
ปลาไหลเผือกกระตุ้นให้อัณฑะผลิตเทสทอสเตอร์โรนมากขึ้นด้วยตัวเอง โดยการส่งสัญญานไปที่ระบบประสาทส่วนกลางและต่อมพิททุอิทารี่ ไม่ใช่เป็นการให้ฮอร์โมนสังเคาะห์ ร่างกายเราสามารถรับเอาเทสทอสเตอร์โรนสังเคาะห์ได้ แต่ไอ้เจ้าฮอร์โมนสังเคาะห์จะเป็นตัวค่อยขัดขวางระบบต่างๆทางเพศ เป็นเหตุให้เจ้าโลกและอัณฑะของเราเหี่ยวเฉาลง เพราะว่าเมื่เทสทอสเตอร์โรนมีระดับ(เทียม)สูงขึ้น ฮอร์โมนเพศ( แอนโดเจน และ เอสโทรเจน) จะส่งสัญญานไปให้ร่างกายสั่งลดระดับหรือหยุดการผลิตเทสทอสเตอร์โรนเองของร่างกายลง เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “negative feedback” หรือ การสนองตอบด้านลบ ปลาไหลเผือกจะขัดขวางปฏิกิริยานี้ไม้ให้ไปยังระบบประสาทส่วนกลางและต่อมพิททุอิทารี่ รับรู้เพื่อเหตุผลที่ต้องการให้ร่างกายยังคงผลิตและยกระดับเทสทอสเตอร์โรน ทำให้อัณฑะสามารถผลิตเทสทอสเตอร์โรนได้เต็มหน้าที่และขีดความสามารถ เจ้าโลกและอัณฑะของท่านก็จะมีการเพิ่มขนาดที่ใหญ่โตขึ้น
ปลาไหลเผือกกับความสมบูรณ์ของเสปิร์ม
จากการศึกษาพบว่า รากปลาไหลเผือกตัวเสปิร์มดีและแข็งแรง มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนตัวอสุจิ ขนาด และความเร็วในการเคลื่อนที่ด้วย จากงานวิจัยการทดสอบกับหนูพบว่ามากเป็นเท่าตัว
ปลาไหลเผือกกับปฏิกิริยาต่อต้านอนุมูลอิสระ
การศึกษาที่เกี่ยวข้องหลายๆครั้งที่ผ่านมาโดยนักวิจัยชาวมาเลเซีย พบว่า รากปลาไหลเผือกประกอบไปด้วย Superoxide dimutase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระนั้นคือความสามารถในการหยุดยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะเป็นโทษต่อร่างกายเรา และทำให้ชลอความชราลงได้
วิธีใช้
วิธีเก็บรักษา ให้ผึ่งแดด ผึ่งลม
องค์ประกอบทางเคมี
มีสารออกฤทธิ์ที่มีรสขม ได้แก่ eurycomalactone, eurycomanol, eurycomanone มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลาเรียฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง
ป้ายคำ : สมุนไพร