ปลูกป่า 5 ระดับ ระดับลักษณะการปลูกพืชในแปลงเกษตรผสมผสาน คือ มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด ให้อยู่ในแปลงเดียวกัน หลุมเดียวกัน แต่มีความสูงต่างระดับกัน โดยอาศัยลักษณะความแตกต่างของพืช ที่มีความสูงต่ำมาปลูกร่วมกันในแปลงเดียวกัน เกิดการเกื้อกูลกันเหมือนป่าธรรมชาติ ทำให้เกิดประโยชน์หลายอย่างและสามารถใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
การจัดการพืชและน้ำเป็น 5 ระดับ
การปลูกพืช 5 ชั้น เรียกว่า เบญจเกษตร
ที่สำคัญในการปลูกพืชในสวนของเรานั้นให้ยึดหลักการใช้ประโยชน์ของตนเองเป็นสำคัญ โดยแยกประโยชน์ได้ดังนี้
การปลูกพืช 5 ระดับ โดยการปลูกพืชตามความสูงระดับต่างกัน และอยู่ร่วมกันได้ ชั้นหนึ่งอยู่สูงสุด ได้แก่ หมาก สะตอ ชั้นสอง เป็นไม้ที่มีความสูงปานกลางจำพวกไม้ผล เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง ชั้นสามเป็นไม้สูงจากระดับพื้นไม่เกิน 3 เมตร ได้แก่ ผักเหลียง พริกไทย ชั้นสี่ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น หน้าวัว ขิงแดง ค้างคาวดำ ว่านเพชรหึง ชั้นห้า เป็นไม้หัว ได้แก่ ข่า ขิง ตะไคร้
การปลูกพืชในลักษณะเกื้อกูลกันเช่นนี้ จะทำให้เกิดระบบนิเวศน์ซึ่งมีลักษณะคล้ายป่า พืชสามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ และยังเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูง แม้เกษตรกรจะมีพื้นที่น้อยก็สามารถปลูกพืชได้หลายหลายทำให้มีรายได้ตลอดปี
การจัดการน้ำ 5 ขั้น เรียกว่า เบญจธารา
ลักษณะการัดการน้ำแบบเบญจธารา คือ การนำน้ำมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น น้ำที่เราอาบน้ำสามารถนำไปรดต้นไม้ได้ หรือปล่อยลงสู่แหล่งเลี้ยงสัตว์น้ำได้ เช่น บ่อปลา บ่อเลี้ยงเป็ดเพราะน้ำยังสะอาดอยู่ และน้ำในบ่อสัตว์น้ำก็สามารถปล่อยสู่ต้นไม้และธรรมชาติได้ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นต่อไป
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง