ประเทศไทย เป็น ประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่าง อย่างเห็นได้ชัด ทั้งสามฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว และมีสภาพ ดิน ฟ้า อากาศที่เหมาะสมในการปลูกพืช ผัก ได้ตลอดทั้งปี โดยพืชบางชนิดเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น สามารถปลูกผักตระกูลแตง มะเขือ และถั่วได้ตลอดปี และทุกภาคของประเทศ ส่วนผักตระกูลกะหล่ำ(ยกเว้น คะน้า และกวางตุ้ง ซึ่งสามารถปลูกได้ตลอดปี) การปลูกพันธุ์เบา หรือพันธุ์ทนร้อนในฤดูร้อน และฤดูฝน มีการห่อหัวและให้ผลผลิตสูง ส่วนในฤดูหนาวควรเลือกใช้พันธุ์หนัก หรือพันธุ์สำหรับฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไปมักให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เบา เนื่องจากพันธุ์หนักมี อายุการเก็บเกี่ยวนานกว่า แผนการปลูกผักที่เหมาะสม ตลอดทั้งปี
การจำแนกพันธุ์ผักตามฤดูปลูกนั้น สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
ควรปลูกผักที่ทนร้อนได้ดี และทนความแห้งแล้งพอสมควร ถึงแม้ว่าผักเหล่านี้จะทนร้อนและความแห้งแล้งได้ แต่ถ้าจะปลูกในฤดูร้อนผักบางอย่างก็ต้องรดน้ำ เช้า-เย็น ต้องพรวนดิน แล้วคลุมด้วยฟางข้าวเพื่อรักษาความชุ่มชื้นไว้ให้พอ เช่น ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียน บวบ มะระ ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า แฟง ฟักทอง ถั่วพู คะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี (ผักกาดหอม และผักชีนั้น ควรทำร่มรำไรให้ด้วย ) ผักกาดขาวเล็ก มะเขือมอญ ผักกาดเขียวใหญ่
ช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม
ปลูก หอมแบ่ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักบุ้ง คะน้า พริกต่าง ๆ มะเขือต่าง ๆ ผักกาดหอม บวบ มะระ ฟักเขียว แฟง แตงกวา ข้าวโพดหวาน ถั่วฝักยาว ถั่วพุ่ม น้ำเต้า ถั่วพู ผักบุ้งจีน กระเจี๊ยบเขียว
ช่วงปลายฤดูฝน ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม
ปลูกจำพวกผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า หอมแบ่ง มันแกว มันเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว ผักกาดหอม ผักบุ้งจีน พริกชี้ฟ้าและพริกขี้หนู
ช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
ปลูก หอมแบ่ง กุยช่าย กระเทียมหัว ขึ้นฉ่าย กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลีห่อ กะหล่ำปม กะหล่ำดอก มะเขือเทศ และถั่วแระญี่ปุ่น
ผักที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
ได้แก่ พืชที่ ทนทาน ปลูกครั้งเดียวรับประทานได้ตลอดปี เช่น สะระแหน่ ผักชีฝรั่ง หอมแบ่ง แมงลัก โหระพา กะเพรา ผักตำลึง ผักบุ้งไทย กระชาย ข่า ตะไคร้ บัวบก มะแว้ง มะเขือพวง พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือต่าง ๆ
การปลูกผักสวนครัวต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
การรับประทานพืช ผัก ตามฤดูกาล
ในการเลือกรับประทานพืช ผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ีรับประทานผักสด ใหม่ และเป็นการรักษาสุขภาพ ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอากาศได้อีกด้วย โดย พืชผักที่มีผลผลิตมากในแต่ละฤดูกาล มีดังนี้
การบริโภคผักเป็นอาหารตามฤดูกาลต่าง ๆ ทั้ง 3 ฤดู นั้นสามารถจำแนกได้ดังนี้
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน, สวนผักคนเมือง, เกษตรอินทรีย์, ไร่นาสวนผสม
เยี่ยมคร้าาาาาา