ผักปวยเล้ง หรือที่ชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า Spinach เป็นผักในตระกูลเดียวกับผักโขม (Amaranth) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศแถบอาหรับ โดยผักชนิดนี้ชาวอาหรับได้ให้สมญานามว่าเป็น “ราชาแห่งผัก” และที่ชื่อเป็นภาษาจีนนั้นก็เพราะว่าผักชนิดนี้ได้ถูกบันทึกครั้งแรกในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นยุคที่มีการถวายเครื่องราชบรรณาการ โดยในประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า ผักปวยเล้งเป็นหนึ่งในเครื่องราชบรรณการด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Spinacia oleracea L.
ชื่อสามัญ Spinach
วงศ์ CHENOPODIACEAE
ลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี หรือสองปี สูง 20-150 ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน แผ่นใบรูปไข่ เป็นเหลี่ยม หรือรูปหัวลูกศร โคนใบเป็นพูกลมหรือ แผ่นใบเรียบ หรือยับย่น สีเขียวแก่หรือเขียวอ่อน ก้านใบยาว 6-12 เซนติเมตร โคนก้านสีเขียว ชมพู หรือแดงปนม่วง ช่อดอกยาว 80-150 ดอกเพศเมียออกเป็นกระจุกอยู่ตามซอกใบ จำนวนมาก ไม่มีก้านดอก แต่ละช่อมี 7-20 ดอก ดอกเพศผู้เรียงเป็นช่อดอกแบบช่อเชิง บางครั้งพบทั้งดอกสมบูรณ์เพศดอกเพศผู้และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน ดอกขนาดเล็ก สีเขียว กลีบรวม 4 ในดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3-5 ดอกเพศเมียมียอดเกสรเพศเมียคล้ายเส้นด้าย รังไข่เหนือวงกลีบ มีออวูล 1 อับเรณู 1-2 ผลแบบผลกระเปาะไม่แตก บางครั้งกลีบรวมติดทนพัฒนาคล้ายหนาม เมล็ดทรงกลม
คุณค่าทางอาหาร
ผักปวยเล้งนั้นมีประโยชน์มากมาย ตั้งแต่เเร่ธาตุอย่างธาตุเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม และวิตามินซี วิตามินบี 2 อีกทั้งยังมีกรดโฟลิกที่เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการสร้างสารซีโรโทนินในระบบเซลล์ประสาท ซึ่งสารซีโรโทนินที่ว่านี้ก็มีความสำคัญคือจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หากขาดสารตัวนี้ก็จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย นอกจากนั้นแล้ว ปวยเล้งยังมีคลอโรฟิลล์สูง จึงเหมาะกับผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย และมีอาการเครียด ทั้งยังมีมีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณ และช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย
ผักปวยเล้ง 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
สรรพคุณ
ปวยเล้งอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ปวยเล้งมีคลอโรฟิลล์สูง จึงเหมาะกับผู้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย และมีอาการเครียดควรรับประทานสดๆจะดีกว่า โดยการนำไปทำสลัด ปวยเล้งมีเบต้าแคโรทีนสูง บำรุงสายตาและผิวพรรณ แถมยังต้านมะเร็งได้อีกด้วยผักป๋วยเล้งมีคุณสมบัติเย็น รสหวาน สรรพคุณบำรุงเลือด ห้ามเลือด รักษาอาการเลือดกำเดาออก อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก
การปลูกปวยเล้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
วิธีการปลูกและดูแลรักษา
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
โรคและแมลงของปวยเล้งที่สำคัญได้แก่
เคล็ดลับในการปลูก
การเลือกใช้เมล็ดที่มีความงอกดี และเหมาะสมกับพื้นที่
ข้อควรระวัง
ในผักปวยเล้งมีกรดยูริกมาก คนที่ป่วยเป็นโรคเกาต์หรือไขข้ออักเสบจึงไม่ควรกินมากนัก และยังมีกรดออกซาลิกอยู่มากเช่นกัน ซึ่งกรดนี้ถ้ารวมตัวกับแคลเซียมจะก่อให้เกิดนิ่วได้ ก่อนจะปรุงอาหารจึงควรลวกผักปวยเล้งครั้งหนึ่งก่อนแล้วเทน้ำที่ลวกทิ้งไป แล้วจึงนำผักมาปรุงอาหาร
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน