ปอสา เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางชนิดผลัดใบให้ผลผลิตเส้นใยชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับหม่อนและขนุน มีชื่อเรียกกันหลากหลายชื่อ ตามแต่ละแต่ท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ เรียกปอสา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก ปอกะสา ภาคตะวันตก เรียก หมอพี หมกพี ภาคใต้เรียก ปอฝ้าย เป็นต้น ปอสา มีทั้งที่ ขึ้นเองตามธรรมชาติ และ ในพื้นที่ที่ปลูกไว้ เช่น จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย ชัยภูมิ และ จังหวัด เลย ในการเจริญเติบโตตามสภาพธรรมชาติจะมีความสูง 10-15 เมตร ในช่วงอายุ 7-8 ปี จะมีเส้นผ่าศูนยืกลางที่ลำต้น 60-65 เซนติเมตร ส่วนใหญ่จะพบในป่าเบญจพรรณขึ้นกระจายตามพื้นที่ชุ่มชื้น นอกจากในประเทศไทยแล้วยังพบได้ทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปอสา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ให้ผลผลิตเส้นใยจากเปลือกของลำต้น เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวปอสาเป็นอาชีพเสริมจากแหล่งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และในพื้นที่ที่ปลูกไว้ เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน สุโขทัย ชัยภูมิ และจังหวัดเลยควรตัดครั้งแรกเมื่อปอสาอายุ 12 เดือน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Broussonetia papyrifera (L.) LHerit
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ Paper mulberry
ชื่อพื้นเมือง ภาคเหนือเรียกปอสา ภาคอีสานเรียก ปอกะสา หรือปอสา ภาคตะวันตกเรียกหมกพี หรือหมอพี ส่วนภาคใต้เรียกปอฝ้าย ฉำฉา ชำสา (นครสวรรค์) ชะดะโค ะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ปอกระสา (กลาง,เหนือ) ปอฝ้าย (Peninsusar) ส่าเหร่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ
ไม้ต้น สูง 12-15 เมตร ยอดอ่อนมีขนสีเทาปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ส่วนใหญ่รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ด้านหลังใบหยาบ ด้านท้องใบมีขนนุ่มสีเทาปกคลุม ดอกเพศผู้เป็นช่อแบบหางกระรอก ดอกเพศเมียเป็นช่อทรงกลม ผลรวม สุกสีส้มแดง
เส้นใยปอสาส่วนใหญ่ได้จากเปลือกของลำต้นใช้เป็นวัตถุดิบคุณภาพดี ในการผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ กระดาษสา มีคุณสมบัติดี คือ ทนทานไม่กรอบเปื่อยยุ่ย เก็บรักษาได้นาน หากใช้ทำหนังสือตัวหนังสือจะไม่ซีดจางอยู่ได้นานกว่าร้อยปี
พันธ์ปอสาที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียมี 2 ชนิด
ปอสาไทย (Broussonetia papyrifera, Vent)
ในประเทศไทยพบมากในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคกลาง ซึ่งแนวคิดของชาวบ้าน แยกพันธุ์ของสา ออกตามลักษณะสีของลำต้น ที่พบได้แก่ พันธุ์ต้นลาย พันธุ์ต้นไม่มีลายสีน้ำตาลเข้ม หรือสีดำแกมม่วง เป็นต้น
แต่สำหรับกรมวิชาการเกษตร ได้รายงานการจำแนกพันธุ์ตามสีของก้านใบเป็น 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ที่มีก้านใบเป็นสีน้ำตาล แกมม่วง พบอยู่ในสภาพธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วประเทศ และพันธุ์ที่มีก้านใบเป็นสีเขียวอ่อน พบครั้งแรกในเขต อำเภอปากชม จังหวัดเลย และขึ้นแพร่กระจายตามริมแม่น้ำ เขตรอยต่อประเทศลาว
ปอสาญี่ปุ่น (Broussonetia kazinoki Sieb)
เริ่มมีการทดลองนำมาปลูกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่รวบรวมรายงานไว้มี 4 พันธุ์ ได้แก่
สำหรับ Tsuru Kozo (Broussonetia kaempferi) มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยใช้ทำกระดาษได้เช่นกัน
ต้นปอสาอายุ 8 เดือนขึ้นไปจะให้เยื่อที่มีคุณภาพดีที่สุด และเมื่ออายุ 3 ปี จะให้ปริมาณเยื่อสูงสุด ต้นปอสาที่นำมาใช้ทำกระดาษต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 5-10 เซนติเมตร และอยู่ในช่วงอายุ 8 เดือน ถึง 2 ปี
ปัจจุบันผลผลิตปอสาส่วนใหญ่นำไปทำเป็นกระดาษ ทั้งทำด้วยเครื่องจักร และทำด้วยมือ (hand – made paper) ผลผลิตที่เป็นกระดาษสาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์และของใช้ได้มากมาย ได้แก่ กระดาษทำร่ม ดอกไม้ประดิษฐ์ โคมไฟ พัด ว่าว บัตรอวยพรต่าง ๆ ตัดชุดแต่งงาน กระดาษวาดภาพ สมุด กระดาษห่อสารเคมีบรรจุในก้อนถ่านไฟฉาย และใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลนำมาทำเป็น ชุดผ่าตัด กระดาษห่อเครื่องมือ และอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น
ประโยชน์
เปลือกปอสาเป็นวัตถุดิบในการนำไปผลิตเป็นกระดาษสากระดาษสามีคุณสมบัติทนทานไม่กรอบและไม่เปื่อยยุ่ยง่าย เก็บรักษาได้นาน กระดาษสาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์และของใช้ได้มากมาย เช่น ร่ม ว่าว ดอกไม้ โคมไฟ พัด บัตรอวยพรต่าง ๆ ตุ๊กตา
ปัจจุบันการจำหน่ายผลผลิตปอสาส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเปลือกปอสาแห้ง การตลาดเปลือกปอสาแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ ตลาดภายในประเทศ และตลาดส่งออกต่างประเทศ เปลือกปอสาชนิดส่งขายต่างประเทศจะมีคุณภาพดีกว่าเปลือกปอสาที่ใช้ภายในประเทศ
คุณภาพเปลือกปอสาโดยทั่วไป พิจารณาจากความหนาของเปลือก สีของเปลือกและความชื้น เป็นต้น
ประโยชน์ของปอสามีหลายประการ เช่น
1. มีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆ
2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น ใบเป็นอาหารปลา หมู ผลสุก เป็นอาหารนก
3. ใช้ในการปลูกสวนป่า แก้ไขมลภาวะได้ดี เป็นพืชดตเร็ว ขึ้นได้ง่าย ขยายพันธ์ได้รวดเร็ว
4. แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ปอสาเป็นพืชที่สามารถขยายพันธ์ได้หลาย วิธี
ปอสาเจริญเติบโตได้ดี และรวดเร็วในสภาพพื้นที่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ พื้นที่ดินร่วนซุยมีความอุดมสมบูรณ์สูง สภาพอากาศมีความชื้นสูง เนื่องจากปากใบปอสามีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีอัตราการคายน้ำสูง อย่างไรก็ตามในสภาพความชื้นต่ำปอสาก็เจริญเติบโตอยู่ได้ แต่ใบจะมีขนาดเล็กลง และเจริญเติบโตช้า แหล่งผลิตปอสา โดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นการตัดเก็บเกี่ยวจากต้นที่ขึ้นเอกอยู่ตามธรรมชาติ แหล่งที่มีการตัดและลอกเปลือกปอสากันมากอยู่ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง