ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากการเลี้ยงสัตว์และได้มีการนำ มาใช้ทางการเกษตรอย่างแพร่หลายเป็นเวลานานหลายปีมาแล้ว ปุ๋ยคอกไม่เพียงแต่จะให้อินทรียวัตถุ ธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารรอง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศดีขึ้น
ช่วยเพิ่มความคงทนให้แก่เม็ดดินเป็นการลดการชะล้างพังทลายของดินและช่วย รักษาหน้าดินไว้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ซึ่งมีผลทำให้กิจกรรมต่าง ๆ ของจุลินทรีย์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและยังช่วยเพิ่มปริมาณของ จุลินทรีย์ในดินอีกด้วย ในอดีตการใช้ปุ๋ยคอกเป็นไปอย่างง่าย ๆ ตามธรรมชาติโดยเกษตรกรจะเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร ม้า แพะ แกะ ฯลฯ ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะกระจัดกระจายไปตามท้องทุ่ง เมื่อสัตว์ขับถ่ายมูลสัตว์ออกมาก็จะตกหล่นบนพื้นดินโดยตรง ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยคอกแบบประหยัด
คุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยคอก
สำหรับคุณค่าทางอาหารพืชของปุ๋ยคอก (มูลสัตว์) นั้นจะแตกต่างกันไปตามแหล่งวิธีการเลี้ยงและการเก็บรักษา ถ้ามองในแง่ของธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมแล้วจะมีค่อนข้างน้อย ยกเว้นมูลสุกร มูลไก่ และมูลค้างคาวซึ่งค่อนข้างจะมีธาตุอาหารหลักอยู่สูง แต่ข้อดีของมูลสัตว์คือจะให้ธาตุอาหารรองคือ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน และธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม และคลอรีน นอกเหนือจากนั้นยังให้ฮอร์โมนและสารควบคุมการเจริญเติบโต ชนิดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับพืชอีกมากมายอีกด้วย
แนวทางการใช้ปุ๋ยคอกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน
แนวทางการใช้ปุ๋ยคอกไว้ดังนี้คือ มูลโคและมูลกระบือ โดยทั่วไปแล้วมีธาตุอาหารต่ำกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่นเพราะเป็นสัตว์กินหญ้า ไม่ควรใส่แปลงปลูกผักโดยตรง เพราะจะมีปัญหาเมล็ดวัชพืชปะปนมา ควรนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักเสียก่อน หรือนำไปผลิตก๊าซชีวภาพแล้วนำกากที่เหลือไปใช้จะได้ประโยชน์มากกว่า มูลแห้งเหมาะสำหรับใส่แบบหว่าน ในสวนไม้ผล หรือรองก้นหลุมปลูกพืช
วิธีการใส่ปุ๋ยคอกสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้
วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอก
วิธีการเก็บรักษาปุ๋ยคอกและข้อควรคำนึงในการใช้ปุ๋ยคอกไว้ว่า การเก็บรักษาปุ๋ยคอกมีความสำคัญมาก หากเก็บรักษาไม่ดีจะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารในปุ๋ยคอกโดยจะสูญเสียไป ดังนี้ คือ ไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูญเสีย 50 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส และแคลเซียม 20 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม 25 เปอร์เซ็นต์ กำมะถัน ทองแดง แมงกานีส และสังกะสี 30 เปอร์เซ็นต์ ในการเก็บรักษาควรใช้เศษหญ้า ฟางข้าว แกลบ หรือขี้เลื่อย ผสมในอัตราส่วนดังนี้คือ ฟางข้าว 1 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 4 ส่วน และเนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียไปในรูปแอมโมเนียมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องลดอัตราการสูญเสียไนโตรเจน โดยทำให้แห้งโดยเร็ว และเติมปุ๋ยฟอสเฟตลงไปประมาณ 5-10 กิโลกรัมต่อปุ๋ยคอก 1 ตัน เพราะปุ๋ยฟอสเฟตที่เพิ่มลงไป นอกจากจะช่วยยกระดับฟอสฟอรัสในปุ๋ยแล้วยังช่วยรักษาไนโตรเจนในปุ๋ยคอกไม่ให้ สูญเสียไปอีกด้วย
ข้อคำนึงในการใช้ปุ๋ยคอก
ข้อจำกัดของการใช้ปุ๋ยคอก
ในประเทศไทยนอกจากการทำการเกษตรด้านการเพาะปลูกพืชแล้ว ยังมีการเลี้ยงสัตว์ด้วยโดยเฉพาะการเลี้ยงสุกร วัว ควาย และไก่ จะมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ดังกล่าวจำนวนมาก ทำให้ได้มูลสัตว์ในปริมาณมากด้วย ซึ่งมูลจากสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น เมื่อนำมาผ่านกระบวนการหมักแล้ว จะได้ปุ๋ยคอกที่สามารถนำมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรได้อย่างดี
ตารางแสดงปริมาณปุ๋ยคอกที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ในประเทศไทย
ชนิดสัตว์ |
ปริมาณมูลที่ได้ต่อตัวต่อวัน (กิโลกรัม) |
ประมาณมูลที่ได้ต่อปี (พันตัน) |
โค |
19 |
10,317 |
กระบือ |
27 |
5,600 |
สุกร |
2.7 |
4,596 |
เป็ด |
0.03 |
4,019 |
ไก่ |
0.03 |
535 |
ปุ๋ยคอกแม้ว่าจะมีปริมาณธาตุอาหารอยู่สูง แต่เป็นอินทรียวัตถุที่ถูกจุลินทรีย์เข้าย่อยสลายให้เกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไปกับน้ำหรือระเหยไปได้ง่าย ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยคอกจะสามารถเปลี่ยนเป็นก๊าซและสูญเสียไปโดยการระเหยได้ สำหรับธาตุที่ไม่เปลี่ยนเป็นก๊าซจะสูญเสียโดยการละลายในน้ำได้ เช่น ธาตุไนโตรเจนที่มักอยู่ในรูปของก๊าซแอมโมเนีย
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารพืชที่มีในปุ๋ยคอกแต่ละชนิด
ประเภทของปุ๋ยคอก |
N (%) |
P2O5 (%) |
K2O (%) |
โค |
1.91 |
0.56 |
1.40 |
กระบือ |
1.23 |
0.69 |
1.66 |
ไก่ |
3.77 |
1.89 |
1.76 |
เป็ด |
2.15 |
1.33 |
1.15 |
สุกร |
3.11 |
12.20 |
1.84 |
ค้างคาว |
5.28 |
8.42 |
0.58 |
นกนางแอ่น |
2.04 |
1.66 |
1.83 |
แกะ |
2.33 |
0.83 |
1.31 |
ม้า |
2.80 |
1.36 |
1.18 |
ป้ายคำ : ปุ๋ยคอก