ก้อนเห็ดทำปุ๋ยหมัก การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนเป็นอาชีพเสริมสำหรับเกษตรกรซึ่งสามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากสำหรับการเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนได้แก่ เห็ดนางรม เห็นนางฟ้าภูฐาน เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดโคนญี่ปุ๋น เห็ดหูหนู เห็ดยานางิ เห็ดอาริจิ แต่ปัญหาที่ต้องพบหลังจากการเพาะเห็ดที่ต้องตามมาหลังจากก้อนเห็ดหมดอายุเป็นจำนวนมาก ที่ต้องนำไปทำลายทิ้ง อาจเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม วิธีที่ดีคือการนำก้อนเป็นไปทำลายที่มีประโยชน์โดยทำให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักสำหรับบำรุงดินและบำรุงพืชทางการเกษตร ปุ๋ยหมักจัดอยู่ในประเภทปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดี จะได้ธาตุอาหารที่เหลือตกค้างในก้อนเห็ดเก่าใช้บำรุงเป็นอาหารให้กับต้นพืช ธาตุอาหารได้ยากโปรตีนจากเนื้อเยื่อในเส้นใยเห็ด อินทรีย์ธาตุบำรุงดินจากเศษวัสดุขี้เลื่อย หรือ กากแกนข้าวโพด วัสดุที่ใช้สำหรับทำก้อนเห็ด
ลักษณะของก้อนเห็ดที่อายุการเก็บดอกเห็ดไปแล้ว 3 เดือน มีลักษณะที่แตกต่างกันสามารถพิจารณาคัดแยก เพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักได้ โดยเลือกก้อนเห็ดที่หมดประโยชน์ที่จะเก็บดอกเห็ดแล้ว ดังนี้
วิธีการทำปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า สูตร 1
ปกติก้อนเห็ดเก่าจะมีธาตุอาหารที่มาแต่เดิมบ้างซึ่งสามารถนำไปใช้บำรุงดินบำรุงพืชได้เลยสำหรับพืชไร่ทั่วไป แต่เพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารเข้าไปให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น สำหรับนำไปใช้บำรุงพืชได้หลายชนิดเช่น พืชไม้ดอก ไม้ประดับ ผลไม้ หรือพืชในกระถางปลูก โดยตรงจากปุ๋ยหมักซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพดี จึงนำมาทำการหมักอีกครั้งโดยการนำก้อนเห็ดเก่ามาทุบให้แหลกตั้งกองไว้ ผสมกับปุ๋ยคอกแห้ง เช่น(ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่ผสมแกล็บ) อัตราส่วนกากก้อนเห็ดต่อปุ๋ยคอบ 1 :3 ตามปริมาตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย(น้ำอีเอ็ม) ผสมน้ำอัตรา 1:100 หรือใช้เนื้อ พด1 และเชื้อราเมธาไรเซียม บูวาเรียแบบผง ผสมน้ำอัตรา 50-100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ทำการคลุกเคล้ากากก้อนเห็ดและปุ๋ยคอกให้เข้ากันผสมกับน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้ เพียงหมาด ๆ ความชื้น ประมาณ 60% เมื่อเข้ากันดีแล้ว หมักกองปุ๋ยไว้ 45 วัน ทำการกลับกองทุก 7 วัน เพื่อช่วยระบายความร้อนป้องกันเชื้อจุลินทรีย์ตาย เมื่อครบ 45 วัน นำปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับไม้ดอก ไม้ประดับในกระถาง หรือพืชผักผลไม้ทั่วไป
วิธีการทำปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า สูตร 2
การนำก้อนเชื้อเพาะเห็ดเก่ามาทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพมีขั้นตอนดังนี้
วัสดุ-อุปกรณ์
ขั้นตอนการทำ
เพียงนำส่วนผสมเหล่านี้มาผสมกันโดยการตั้งกองในโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกคลุกเคล้าในเข้ากันหมักทิ้งไว้ 40 วัน ก็จะกลายเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรแห้ง นำมาใส่ให้แก่ไม้ผลยืนต้นได้ทุกชนิด
ส่วนอัตราการใช้
ปุ๋ยหมักตัวนี้ใช้ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อต้น โดยการโรยให้รอบโคนต้นไม้ยืนต้นได้ทุกชนิดในช่วงหลังจากฤดูฝน
ป้ายคำ : ปุ๋ยหมักชีวภาพ