ในการทำเกษตรกรรม ได้นำปุ๋ยหมักชีวภาพมาใช้ตั้งแต่ดั้งเดิมนานมาแล้ว โดยแต่เริ่มเดิมทีนั้นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพของที่นี่เป็นเพียงการนำมูลวัวและมูลควายมาใช้ทำเป็นปุ๋ย แต่ต่อมาเริ่มมีการนำมูลหมู ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง และเศษอาหารมาใช้ อย่างไรก็ดีประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักชีวภาพนั้นก็ยังคงไม่สามารถเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้กันแพร่หลายในทุกเรือกสวนไร่นาอยู่ในขณะนี้ เกษตรกรเห็นประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพมากกว่าปุ๋ยเคมีจึงได้ทดลองนำสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เข้ามาปรับใช้กับปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สามารถใช้ผลิตปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพสูงได้ในเวลารวดเร็ว ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้ยังประกอบด้วยเชื้อราและแอคตินัยซีสที่ย่อยสลายเซลลูโลสและแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน ทำให้คุณภาพของปุ๋ยมีประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น
เตรียมส่วนผสมของวัตถุดิบ (ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพประมาณ 1 ตัน)
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
การกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ลงบนพื้นที่ขนาดความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร และสูง 1.5 เมตร โดยจะแบ่งวัตถุดิบออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คลุกเคล้าใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง และพืชผัก ให้เข้ากัน และส่วนที่ 2 คลุกเคล้ามูลวัว มูลควาย และมูลหมู ให้เข้ากัน แล้วจึงนำกองเป็นชั้น ๆ ประมาณ 2 – 3 ชั้น (ตามสภาพพื้นที่ของศูนย์การเรียนรู้ฯ) ตามวิธีการดังนี้
ในการดูแลและรักษาภายหลังจากการกองปุ๋ยหมักชีวภาพแล้วนั้น ให้รดน้ำกองปุ๋ยหมักชีวภาพอย่างต่อเนื่อง วันละครั้ง หรือ 2 – 3 วันครั้ง เพื่อรักษาความชื้นให้อยู่คงที่ประมาณ 50 – 60 % (ไม่ควรรดจนน้ำไหลออกมาจากกอง ควรรดให้พอชุ่มชื้นเท่านั้น) หลังจากนั้นในทุก 10 วัน จะต้องทำการพลิกกลับกองปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มออกซิเจน และลดความร้อนในกองปุ๋ย รวมถึงช่วยให้วัตถุดิบได้คลุกเคล้ากันมากยิ่งขึ้น วิธีการสังเกตดูว่าปุ๋ยหมักชีวภาพหมักเสร็จสมบูรณ์สามารถนำไปใช้ได้หรือยังนั้น มีวิธีสังเกตอยู่ 6 ส่วน ด้วยกัน ดังนี้
สุดท้ายเมื่อสังเกตจนแน่ใจแล้วว่าปุ๋ยหมักชีวภาพเสร็จสมบูรณ์หรือพร้อมต่อการนำไปใช้นำไปเก็บรักษาไว้ในโรงเรือน อย่าให้ตากแดดและฝน เพราะจะทำให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักชีวภาพสูญเสียไปได้
อัตราส่วนและวิธีการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ
ป้ายคำ : ปุ๋ยหมักชีวภาพ