ป่าครอบครัวหมายถึง แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในที่ดินที่ครอบครัวครอบครองอยู่ ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ หรือเป็นพื้นที่ ที่ครอบครัวพัฒนาขึ้น ให้เป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพหรือมีสภาพที่ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ (Mimicking nature)
ประเภทของป่าครอบครัว
เราสามารถแบ่งป่าครอบครัวออกได้เป็น สองประเภทตามลักษณะของที่มาได้ดังนี้คือ
ประโยชน์และคุณค่าของป่าครอบครัว
มาสโลว์ (Maslow) นักจิตวิทยา ที่มีชื่อเสียงได้ค้นพบว่า ความต้องการของมนุษย์ มีทั้งหมด 5 ระดับ และป่าครอบครัวสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งหมดดังนี้
เมื่อสังคมได้รับรู้ และเข้าใจ ในการทำป่าครอบครัว ก็จะทำให้เราเป็นที่ยอมรับ เป็นที่นับถือ ให้เกียรติ ให้ความเคารพยกย่องในการทำความดี นอกจากประโยชน์ของป่าครอบครัวสนองตอบความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ตามทฤษฏีของ มาสโลว์แล้ว ป่าครอบครัวยังเป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกเช่น
เป็นแหล่งเรียนรู้ ห้องเรียนของครอบครัวและชุมชนแหล่งสืบทอดภูมิปัญญาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ฯลฯ เป็นอุทยานแห่งชาติของครอบครัว
การเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change)
เป็นการตอบสนองวาระสำคัญๆ ของโลก ที่เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Agenda 21) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological diversity : CBD)
เป็นการตอบสนองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization) : BEDO (เบโด้)
ได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ทั้งในระดับชุมชน และภาคธุรกิจ โดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายต่างๆ และภาคประชาชน ในรูปแบบสมัชชาอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน โดยมีโครงการที่ดำเนินการขับเคลื่อนในรูปแบบดังกล่าว คือ โครงการป่าครอบครัว เพื่อการพึ่งตนเองและความมั่นคงทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีปรัชญาในการดำเนินงาน คือ การให้ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และการเชื่อมโยงเครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์
ป่าครอบครัวเพื่อการพึ่งพาตนเองและความมั่นคงทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมแก่ทุกภาคส่วนให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สพภ. ได้จัดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจาก อบจ. อบต ชุมชน ตำบล โรงเรียน วัด หน่วยงานภาคเอกชนและภาครัฐ ตลอดจนกลุ่มเครือข่ายต่างๆ โดยทำข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบปฏิญญา (สมัชชา/ เสวนา) เพื่อให้ชุมชน ท้องถิ่น เกิดจิตสำนึกตระหนักถึงการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พร้อมๆกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่สีเขียว…ทรัพยากรชีวภาพของประเทศให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งในองค์ความรู้ การใช้ทรัพยากรของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการดูแลรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบทอดต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
ผศ.ดร. วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เล่าให้ฟังถึงป่าครอบครัว
ที่ผ่านมาในเรื่องของทรัพยากรชีวภาพ จริงๆ ชาวบ้านมีแต่เดิม แต่ต่อมาวิถีสังคมเปลี่ยนมาเป็นสังคมเมือง และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เร็ว ชาวบ้านเลยไม่ได้สนใจในสิ่งที่ตนเองมี อย่างตอนเช้าก็ต้องรอรถพุ่มพวงในการซื้อของ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เช่น เวลาซื้อพริก คนขายๆ เป็นกำ ซื้อมาแล้วก็ใช้ไม่หมด มีทั้งใช้และทิ้ง เลยคิดว่าเรื่องป่าครอบครัวน่าจะเป็นพื้นฐานในการทำให้ความหลากหลายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของครัวเรือนก็ยังดีอยู่ เพราะเราคิดว่าครอบครัวเป็นเซลล์เล็กๆ ในสังคม ถ้าเขาดูแลตัวเองได้ มีความตระหนักและเห็นความสำคัญ เมื่อดูแลป่าครอบครัวได้ ก็ขยับไปดูป่าชุมชนได้
ป่าครอบครัวเริ่มต้นอย่างไร หากจะขับเคลื่อนเรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ให้มีพลัง ทำลำพังคงไม่ได้ ควรทำในรูปแบบสมัชชา… สมัชชาของการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน BEDO เห็นว่า ก่อนที่จะให้ชาวบ้านอนุรักษ์ ชาวบ้านต้องสามารถยืนอยู่ได้ เลยเป็นที่มาของ…ป่าครอบครัว
ป่าครอบครัวคืออะไร
แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในที่ดินที่ครอบครัวครอบครองอยู่ อาจเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ หรือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวพัฒนาขึ้นให้เป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพหรือมีสภาพที่ใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ
ป่าครอบครัวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นป่าธรรมชาติอย่างแท้จริง ที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ ป่าประเภทนี้อาจมีอยู่ดั้งเดิม หรืออาจเกิดจากที่โล่งเตียนแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ แล้วก็ค่อยเปลี่ยนสภาพกลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ หรือตามกระบวนการทดแทนของสังคมพืช ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปี เช่น ป่าหัวไร่ปลายนา เป็นต้น
ป่าครอบครัวที่ครอบครัวสร้างขึ้น เพื่อประโยชน์ทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของครอบครัว ภายในเวลาที่ไม่ยาวนานมากนัก 5 -10 ปี ป่าครอบครัวประเภทนี้อาจเรียกว่า สวนเกษตรยั่งยืน สวนสมรม วนเกษตร สวนพฤกษศาสตร์ สวนสมุนไพร เป็นต้น
โครงการ ป่าครอบครัวเป็นแนวคิดที่ครอบครัวนำพืชที่ชอบรับประทานหรือใช้ประโยชน์ พืชสมุนไพร หรือ ไม้ยืนต้นตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาปลูกในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่สวน ไร่ (ปลูกแซมหรือปลูกเสริม) โดยปลูกแบบไม่เป็นแถวเป็นแนวลักษณะเลียนแบบธรรมชาติ มีการเพาะปลูกให้เหมาะสมตามลักษณะและข้อจำกัดของพืชแต่ละชนิด ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไป จะมีพัฒนาการตามธรรมชาติในพื้นที่ที่ปลูก ไปสู่ระบบนิเวศอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น มีพรรณพืชใหม่ที่เกิดขึ้นอีกหลายชนิด จนกลายเป็นป่าครอบครัว ซึ่งจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ดังกล่าว จะทำให้แต่ละครอบครัวมีแหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร และแหล่งไม้ใช้สอยที่สมบูรณ์อย่างเพียงพอ สร้างระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถนำผลิตผลที่เหลือจากการบริโภคของครอบครัวมาขายหรือนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือองค์ความรู้ใหม่มาใช้เป็นพื้นฐานในการผลิตและการพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่การลดรายจ่ายและสร้างรายได้ให้แต่ละครอบครัวได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป
สำหรับผู้ที่สนใจโครงการสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://eweb.bedo.or.th/
สถานการณ์ป่าไม้ในบ้านเรา ต้องบอกว่ามีพื้นที่ป่าลดลงเรื่อย ๆ จนปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 32 ของประเทศเท่านั้น ทำให้หลายภาคส่วนมีความพยายามที่จะอนุรักษ์ป่าอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้เรามีอีกหนึ่งความร่วมมือที่จะช่วยขยายฐานการอนุรักษ์ป่าผ่านหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม นั่นก็คือครอบครัว เพื่อความยั่งยืนของป่าไม้ ความมั่นคงมั่งคั่งในครอบครัว รวมถึงเพื่อประโยชน์ในการลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย
ซึ่งความร่วมมือที่กล่าวถึงนี้ เกิดขึ้นระหว่างสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการป่าครอบครัวเพื่อลดภาวะโลกร้อน เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ณ PANDA Camp อ.บ้านไร่ จ.อทัยธานี โดยโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาโครงการป่าครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและความมั่นคงทางชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเกิดความตระหนักในความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่า รวมถึงยังช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย
สำหรับในปี 2557 ที่ผ่านมา มีสมาชิกป่าครอบครัวเกิดขึ้นแล้ว จำนวน 154 ครอบครัว ซึ่งมีพื้นที่ป่าทั้งหมด 488 ไร่ โดยมีการปลูกกล้าไม้ในป่าครอบครัวทั้งพันธุ์ไม้ที่เป็นอาหาร สมุนไพร และไม้ใช้สอยที่เป็นไม้ล้มลุก ไม้ยืนต้นและไม้เถา ซึ่งป่าครอบครัวนอกจากจะช่วยครอบครัวในการประหยัดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้แล้ว ป่าครอบครัวยังช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับโลก เป็นที่อยู่อาศัยเป็นแหล่งอาหารให้กับสัตว์ต่าง ๆ ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซพิษอื่น ๆ ในบรรยากาศ ซึ่งพื้นที่ 1 ไร่ของป่าครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์ สามารถกักเก็บได้ 0.8 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ป่าครอบครัว คือ แหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ในที่ดินที่ครอบครัวครอบครองอยู่ ซึ่งอาจเป็นพื้นที่ป่าดั้งเดิมที่ครอบครัวอนุรักษ์ไว้ให้เป็นป่าธรรมชาติ หรือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวพัฒนาขึ้นมาใหม่ให้เป็นป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพหรือมีสภาพใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ ซึ่งในการส่งเสริมให้ครอบครัวพัฒนาที่ดินเพื่อทำเป็นป่าครอบครัวนั้น ต้องเริ่มจากสำรวจความต้องการของครอบครัวในการปลูกพืชให้มีความหลากหลาย เช่น มีทั้งพืชยืนต้น ไม้เลื้อย หรือไม้รอง จากนั้นจึงลงมือปฏิบัติ และมีการติดตาม ประเมินผล และเมื่อเกิดเป็นป่าครอบครัวที่อุดมสมบูรณ์แล้ว ป่าครอบครัวก็จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม สร้างความรัก ความสามัคคี เกิดการแบ่งปันในครัวเรือน และชุมชน นำไปสู่การเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนต่อไป
http://thaifamilyforest.net
ป่าครอบครัวตัวอย่าง
ชาวบ้าน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี หันมาปลูกต้นไม้หลากหลายชนิดในที่ดินของตนเองมากว่า 10 ปี จนกลายเป็นป่าครอบครัว เต็มไปด้วยพืชสมุนไพรกว่า 400 ชนิด คืนความหลากหลายทางชีวภาพให้กับท้องถิ่น
ป่าครอบครัวแพนด้าแคมป์ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี แห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่นานาชนิด กว่า 10 ปี ที่คุณศิริพงษ์ เริ่มปลูกและเปลี่ยนแนวคิด ใช้ผืนดินของตนเองที่เคยว่างเปล่าปลูกกล้าไม้หลากหลายชนิด
คุณศิริพงษ์บอกว่าแนวคิดสำคัญของป่าครอบครัวคือ ปลูกพืชที่เรากิน ที่เราใช้ประโยชน์ลงในพื้นที่ของตนเอง โดยจะปลูกเลียนแบบป่าธรรมชาติ เพื่อให้ต้นไม้ในป่าครอบครัวพึ่งพากันและกัน เกิดความหลากหลายทางชีวภาพสูง พืชตระกูลไผ่ เช่น ยักษ์เมืองน่าน กอนี้ปลูกได้ง่าย โตเร็ว เป็นพืชที่ให้ประโยชน์ดีเยี่ยม ทั้งลำต้น ใบ และหน่อ ถัดมาเป็นส่วนที่ปลูกกล้วย เช่น กล้วยตานีดำ มีประโยชน์สูงทุกส่วน โดยเฉพาะน้ำยางใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้
อบเชยเป็นสมุนไพรราคาแพง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ส่วนเปลือกตากแห้งเป็นเครื่องเทศชั้นเลิศ ซึ่งไม้ชนิดนี้สามารถพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจ ทำรายได้ให้กับผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี ป่าครอบครัวยังเต็มไปด้วยพืชสมุนไพรกว่า 400 ชนิด และพืชท้องถิ่นหายาก ผลผลิตเก็บกินในครัวเรือน เหลือขายเป็นรายได้ตลอดทั้งปี จากข้อมูล สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ป่าครอบครัว 1 ไร่ ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้กว่า 9,000 บาท และเพิ่มรายได้เฉลี่ย 10,000 บาทต่อปี
ป่าครอบครัวยังส่งผลต่อระบบนิเวศน์โดยรอบให้ดีขึ้น เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ใช้เป็นคาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย ปัจจุบันมีป่าครอบครัวประมาณ 500 ไร่ทั่วประเทศ ซึ่งเบโด้จะสนับสนุนและขยายพื้นที่ป่าครอบครัว เป็นการอนุรักษ์พันธุ์พืชและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชาติอย่างยั่งยืน.
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, พึ่งตนเอง