ป่าสักโมเดล คือ หลุมขนมครกที่นำเอาศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นจากประสบการณ์ของเครือข่ายทั่วประเทศในสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกันมาจำลองไว้ที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (ห้วยกระแทก) จ.ลพบุรี เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบและแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัด โดยพื้นที่ของ แก้มลิง ห้วยกระแทก1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุ 1,000,000 ลบ.ม. แก้มลิงห้วยกระแทก2 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ความจุ 500,000 ลบ.ม.
โคก หนอง นา โมเดล ในพื้นที่ลุ่ม คือ รูปธรรมของหลุมขนมครก โดยในศูนย์เรียนรู้ ป่าสักโมเดล จะดำเนินร่วมจัดสร้างโดยเครือข่ายสุรินทร์ ของพระอาจารย์สังคม มาร่วมสร้าง โคก หนอง นา ร่วมกับ อ.ยักษ์-ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร
โคก การนำดินที่ได้จากการขุดหนองนำมาถมเป็นโคก เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ รวมทั้ง ปลูกต้นไม้ตามแนวทางศาสตร์พระราชา คือ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ ไม้เพื่อบริโภค (พอกิน) เพื่อใช้สอยในครัวเรือน (พอใช้) และเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย (พออยู่) และช่วยสร้างสมดุลระบบนิเวศ (พอร่มเย็น) น้ำใต้ดินที่สะสมไว้ใต้โคก เมื่อฝนตกลงมาบนโคกที่มีต้นไม้จำนวนมาก น้ำจะค่อยๆ ไหลซึมลงมาเก็บไว้ใต้โคก รากต้นไม้ซึ่งต่างระดับกันจะช่วยรักษาหน้าดิน และกักเก็บน้ำไว้ใต้ดิน กลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน
หนอง ขุดหนองให้ขอบมีความคดโค้ง เพื่อให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลา ปรับพื้นหนองให้มีความลึกหลายระดับ ส่วนที่แสงแดดส่องถึงปลาจะสามารถวางไข่ได้ดี คลองไส้ไก่ ช่วยกระจายน้ำรอบพื้นที่ ขุดให้มีลักษณะคดเคี้ยวเพื่อให้น้ำไหลผ่านทั่วพื้นที่ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผืนดิน ส่งผลดีต่อการทำเกษตรและการปลูกพืชผล ฝายชะลอน้ำ รับและชะลอน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำหรือพื้นที่ข้างเคียง ช่วยดักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงมาสะสมในหนอง คลอง บึง และเขื่อน นอกจากนั้นยังเป็นการเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่
นา ยกหัวคันนา เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ในนา โดยให้มีความสูงประมาณ 1 เมตร และปั้นหัวคันนาให้มี ความกว้างเพื่อปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างและปลูกแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของคันนา คันนาจะใช้เป็นเครื่องมือในการปรับระดับน้ำเข้านาตามความสูงของต้นข้าว เกิดเป็นนาน้ำลึก ใช้น้ำในการควบคุมวัชพืชและแมลงตามภูมิปัญญาท้องถิ่น เปลี่ยนเขาหัวโล้นเป็นเขาหัวจุก:
โคก หนอง นา โมเดล ในพื้นที่สูง เป็นการประยุกต์ใช้ โคก หนอง นา โมเดล ให้เข้ากับภูมิสังคม พื้นที่ภูเขา รูปแบบนี้จะใช้พื้นที่เพียง 10 ไร่ สามารถให้ผลผลิตมากกว่าการปลูกข้าวโพดทั้งภูเขา โดยในศูนย์เรียนรู้ ป่าสักโมเดล
โคก พื้นที่สูงในลักษณะภูเขาเป็นโคกโดยธรรมชาติ จึงเน้นการปลูก ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อช่วยสร้างสมดุลระบบนิเวศแต่เนื่องจากพื้นที่ขาดความชุ่มชื้น จึงต้องเพิ่มความชุ่มชื้นให้กลับคืนมา ด้วยการสูบน้ำจากร่องเขามาที่บ่อเก็บน้ำและกระจายผ่านลำเหมืองให้ทั่วพื้นที่
หนอง เกิดจากการกักน้ำไว้ในร่องเขาให้เพิ่มระดับสูงขึ้นด้วยการทำฝายชะลอน้ำ บ่อเก็บน้ำ สร้างบ่อเก็บน้ำไว้บนที่สูง โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่เช่น ไม้ไผ่ ทำบ่อโครงไม้ไผ่ฉาบปูน สูบน้ำจากฝายขึ้นบ่อด้วยพลังงานทดแทน เมื่อน้ำเกินปริมาณกักเก็บของบ่อ ปล่อยน้ำไหลลงคลองไส้ไก่ หรือ ลำเหมือง ซึ่งขุดไล่ตามระดับชั้นความสูงของพื้นที่เพื่อกระจายความชุ่มชื้น
นา ทำนาขั้นบันได ยกหัวคันนาสูงและกว้างเพื่อกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ในท้องนา และปลูกแฝกชะลอการพังทลายของดิน ทำนาน้ำลึกเป็นนาอินทรีย์ โดยการใช้น้ำควบคุมวัชพืชและเร่งระดับความสูงของต้นข้าว เพิ่มผลผลิต
แท็งก์น้ำยักษ์มาตรฐานโจน หนึ่งในรูปแบบการเก็บน้ำในสถานที่จำกัด หรือกรณีต้องการนำน้ำขึ้นที่สูง คือการสร้างถังน้ำด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้าง ฉาบปูน วางตำแหน่งแท็งก์น้ำบนที่สูง เพื่อปล่อยน้ำลงมาตามคลองไส้ไก่ (นำน้ำขึ้นที่สูงด้วยพลังแสงอาทิตย์) โดยในศูนย์เรียนรู้ “ป่าสักโมเดล”
ฐานเรียนรู้ 9 ฐาน กิจกรรมอบรมและลงมือปฏิบัติจริงใน ฐานเรียนรู้ 9 ฐาน ซึ่งประกอบด้วย
ป้ายคำ : ศูนย์เรียนรู้