ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

24 มีนาคม 2556 ศาสตร์พระราชา 0

หลักการในการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างเป็นแนวคิดของการผสมผสานการอนุรักษ์ดิน น้้า และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าไม้ อันเป็นแหล่งต้นน้้าลำธารและส่งเสริมให้คนไทยรู้จักการน้ำทรัพยากรป่าไม้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการด้าเนินชีวิต

ป่า 3 อย่าง จำแนกออกได้ดังนี้

  1. ป่าไม้ใช้สอย อาทิ ไม้ไผ่ ไม้โตเร็วอย่างสะเดา เป็นต้น
  2. ป่าไม้กินได้ ได้แก่ไม้ผล และผักกินใบหรือกินหัวชนิดต่างๆ
  3. ป่าไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้ที่ปลูกไว้ขาย ไม่ว่าจะเป็นไม้เศรษฐกิจและไม้ทีปลูกไว้ขายเนื้อไม้ เช่น ไม้สัก เป็นต้น

ประโยชน์ 4 อย่าง จ้าแนกออกได้ดังนี้

  1. ประโยชน์ในการเป็นไม้ใช้สอย โดยนำมาสร้างบ้าน ทำเล้าเป็ด เล้าไก่ ด้ามจอบเสียม ทำหัตถกรรม หรือกระทั้งเป็นฟืนในการหุงต้ม
  2. ประโยชน์ในการเป็นอาหาร ทั้งพืชกินใบ กินผล กินหัว และเป็นยาสมุนไพร
  3. ประโยชน์ในการเป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน เป็นพืชที่สามารถน้ามาจ้าหน่ายได้ ซึ่งควรปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่้าและไม่แน่นอน
  4. ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน้้า การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ ช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศในสวน ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุมชื่น ดูดซับน้้าฝน และค่อยๆ ปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรม

forest3y4y

เทคนิคการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
เพื่อให้การสร้างป่าได้ผลดีและมีระบบที่สมดุลเหมือนป่าธรรมชาติซึ่งจะชวยลดปัญหาเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืช และช่วยประหยัดต้นทุนในการจัดการ ประกอบด้วย พันธุ์พืชที่หลากหลาย โดยการแบ่งป่าออกเป็น 5 ระดับ ตามชั้นความสูงของต้นไม้และระบบนิเวศของป่าดังนี้

  1. ไม้ระดับสูง อาทิ ตะเคียน ยางนา มะค่าโมง สะตอ มะพร้าวฯลฯ
  2. ไม้ระดับกลาง อาทิ ผักหวานป่า ติ้ว พลู ก้าลังเสือโคร่ง กล้วยฯลฯ
  3. ไม้พุ่มเตี้ย อาทิ ผักหวานบ้าน มะนาว พริกไทย ,ย่านาง,เสาวรสฯลฯ
  4. ไม้เรี่ยดิน อาทิ หน้าวัว ผักเสี้ยน มะเขือเทศ สะระแหน่งฯลฯ
  5. ไม้หัวใต้ดิน อาทิ ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ไพล เผือก มัน บุก กลอยฯลฯ

pah3pa4

ข้อคำนึงในการปลูกป่า 3 อย่าง

  1. การปลูกช่วงแรกควรเลือกปลูกไม้เบิกนำ เช่น แค มะรุม สะเดา กล้วย อ้อย ไผ่ ข้าวและพืชผัก ทั้งนี้ เพราะเป็นพืชอาหารและไม้ใช้ สอยเล็กๆน้อยๆ ที่โตและให้ผลผลิตเร็ว สามารถคลุมดินและดูดซับ ความชุมชื้น โดยควรเน้นปลูกพืชกินได้ ที่โตไวเพื่อเป็นแหล่งอาหาร และไม้ใช้สอย
  2. ไม้ปลูกเพื่ออยู่อาศัย หรือไม้เศรษฐกิจขนาดใหญ่ หรือไม้ระดับสูง ควรปลูกในปีที่ 2
  3. ไม้สมุนไพร ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน มักจะเจริญเติบโตได้ดี ในที่ร่มและร่มร้าไร
  4. นาข้าวควรเลือกท้าในพื้นที่ให้เหมาะสม สามารถให้ผลผลิตเพียงพอ ตลอดทั้งปี
  5. ควรขุดร่องน้้าขนาดเล็กเพื่อเก็บน้้าและความชุมชื้นแก่ต้นไม้ อีกทั้งสามารถใช้เลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหาร และหมุนเวียนน้้าไปสู่บ่อขนาดใหญ่

หลัก 7 พอ(เพียง )

  1. พออยู่ สามารถพึ่งตนเองด้านที่อยู่อาศัยได้
  2. พอกิน สามารถพึ่งตนเองเรื่องอาหารและยารักษาโรคได้
  3. พอใช้ สามารถพึ่งตนเองเรื่องรายจ่ายที่ต้องใช้ในชีวิตประจ้าวันได้
  4. พอร่มเย็นเป็นสุข สามารถมีความสุข อิ่มเอิบใจ กับสิ่งที่มีที่ท้าได้
  5. พอพลังงานทดแทน ด้วยการปลูกอ้อยอินทรีย์ หรือพืชพลังงานอื่นๆ ร่วมกับป่า 3 อย่าง ร้อยละ 70
  6. พอพัฒนาคน
  7. มีข้อมูลและสื่อสารสู่สาธารณะที่พอเพียง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น