ผักกระเฉดชะลูดน้ำ

2 พฤษภาคม 2557 วิชาเกษตรพึ่งตน 0

การปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำนั้นไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ต้องใช้เวลา และเป็นการพัมนาต่อิยอกมาจากการปลูกผักกระเฉดโดยทั่วไป ที่จะใช้พันธุ์ผักกระเฉดที่มีอยู่ 2 พันธุ์ ตามที่ชาวบ้านเรียกกันตามลักษณะของต้นจนติดปากว่า พันธุ์เล็ก และพันธุ์ใหญ่

พันธุ์ใหญ่ : จะมีขนาดลำต้นใหญ่ อวบอิ่ม ข้อเด่นชัดน่ารับประทาน แต่รสชาติด้อยกว่าพันธุ์เล็ก
พันธุ์เล็ก : ขนาดลำต้นเล็ก ข้อปล้องไม่เด่นชัดเท่าพันธุ์ใหย่ แต่รสชาติดีกว่า

เนื่องจากหมู่บ้านของเกษตรกรตั้งอยู่ริมแควหนุมาน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจะเกิดปัญหาอุทกภัยเกือบทุกปี เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรและปลูกผักกระเฉดไว้ขายส่งในตลาดท้องถิ่น เมื่อเกิดอุทกภัยผักกระเฉดที่ปลูกไว้จะจมน้ำเสียหาย และมีผักกระเฉดบางส่วนชะลูดน้ำขึ้นมา เกษตรกรจึงเก็บผักกระเฉดชะลูดน้ำไปขายในตลาด พบว่าจำหน่ายได้ราคาดี มีรสชาติอร่อยและกรอบมากกว่าผักกระเฉดแบบเดิม จึงหันมาปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำกันอย่างแพร่หลาย และนอกจากนี้ได้มีการรวมกลุ่มแม่บ้านทำผักกระเฉดชะลูดน้ำในชุมชน

Exif_JPEG_PICTURE

การปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำ

การเตรียมดิน ทำการไถดะ 1ครั้ง แล้วตามด้วยไถแปรหรือคราดอีก 1ครั้ง

การเตรียมแปลงพันธุ์

  1. ซื้อพันธุ์ผักกระเฉดที่มีปอด ยาวประมาณ 1 เมตร
  2. นำมามัดรวมกันประมาณ 10 ยอด
  3. นำผักกระเฉดมามัดกับหลักไม้ไผ่ยาวประมาณ 1.5 เมตร
  4. ระยะห่างระหว่างกอ 2 เมตร
  5. ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยชีวภาพ

วิธีการปลูก/ระยะปลูก
คัดเลือกยอดผักกระเฉดที่มีความสมบูรณ์จากแปลงพันธุ์ นำมามัดรวมกันให้ได้กำละ 10-15 ยอด นำยอดที่มัดรวมกันแล้วผูกกับหลักไม้ไผ่

การทำผักกระเฉดชะลูดน้ำ
โดยการนำยอดพันธุ์ที่เก็บได้มาเลี้ยงต่อในบ่อขนาด 1-2 งาน ลักษณะพื้นใต้บ่อที่ต้องเตรียมสำหรับการทำผักกระเฉดชะลูดน้ำ ต้องลาดเอียงเล็กน้อย มีระดับน้ำยังลึกประมาณ 1-1.2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการปักดำฉอดผักกระเฉด ควรจัดการระบบน้ำในบ่อให้มีการไหลเวียนน้ำเข้า-ออกตลแดเวลาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำซึมออกบ่อ”คล้ายบ่อน้ำบาดาล เพราะจะช่วยให้การเจริญเติบโตดี ภายในบ่อไม่ควรให้มีสัตว์น้ำหรือปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ฯลฯ หรือ อาจทำตาข่ายดักควบคุมบริเวณบ่อด้วยก็ได้ (กรณีต้องการเลี้ยงปลา)

krachetchalood

วิธีการทำ
1. เก็บยอดผักกระเฉดจากต้นสมบูรณ์ในแปลงปลูก (ความยาวประมาณ 40-50 ซม.)มามัดเป็นกำๆ ด้วยเชือกให้ได้กำละประมาณ 28-35 ยอด หรือ ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของต้น

krachetbo krachetnam

2. นำมัดผักกระเฉด(ด้านโคนที่ผูกเชือก)ไปมัดยึดไว้กับหลักไม้ไผ่ความยาวประมาณ 1.5 ซม. ปลายด้านหนึ่งแหลม(สำหรับปักดำลงไปก้นบ่อ)ให้แน่น โดยกะระยะในการมัดจากท้ายแหลม(ที่จะปักลงดิน)ของไม้หลักขึ้นมาประมาณ 45-50 ซม. เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเตรียมผักกระเฉดสำหรับปักดำ

3. นำหลักไม่ไผ่ที่เตรียมได้จากข้อ 2. ลงบ่อปักดำ การปักดำต้องปักหลักไม้ไผ่ลงไปในดินก้นบ่อให้ลึก 30-40 ซม. ไม่ควรให้ส่วนโคนของมัดผักกระเฉดติดพื้นดินใต้บ่อ และ ให้ปลายยอดของมัดผักกระเฉดโผล่พ้นขึ้นจากระดับผิวน้ำประมาณ 3 ซม.ในวันแรก จากนั้นกดหลักให้ยอดจมน้ำลงไปอีก 1 ซม.ในวันที่ 2 และ กดหลักให้ยอดจมน้ำจนหมดในวันที่ 3 จากนั้นต้นผักกระเฉดจะ “สลัดนม” ออกจากลำต้น และ ต้นจะกลายเป็นทรงชะลูดยาวจึงสามารถเก็บจำหน่ายได้

krachetchaloods

**สิ่งสำคัญในการทำผักกระเฉดชะลูดน้ำคือไม่ควรย้ายหลักไม้ไผ่บ่อย เพราะจะทำให้ผักกระเฉดชะงักการเจริญเติบโตได้

วิธีการเก็บผลผลิต
เมื่อครบกำหนดนำผักกระเฉดที่กดน้ำไว้ขึ้นมาตัดแต่งทำความสะอาด ให้ยาวประมาณ 50-70 ซม. การจำหน่ายมีทั้งปลีกและส่ง ขนาดกำละ 12-14 ยอด

krachetchaloodmad

การทำผักกระเฉดชะลูดน้ำควรปลูกในแหล่งน้ำสะอาด มีการไหลเวียน จะทำให้ผักกระเฉดชะลูดน้ำได้ดี การปลูกผักกระเฉดชะลูดน้ำทำให้เกษตรกรมีรายได้มากกว่าการปลูกผักกระเฉดแบบเดิม สามารถทำเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรได้

ที่มา:
สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร นวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียงองค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน, 2552.
นางพรทิพย์ อยู่ยงค์ เจ้าพนักงานการเกษตร 6 สำนักงานเกษตรอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โทรศัพท์ 0-3728-8356

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด วิชาเกษตรพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น