ผักกระเฉด ผักพื้นบ้านมากมายด้วยวิตามิน

4 มีนาคม 2556 ไม้น้ำ 0

ผักกระเฉด พืชเถาเลื้อย เป็นไม้น้ำล้มลุก ลำต้นทอดลอยเสมอผิวน้ำ ระหว่างข้อปล้องมีกระเปาะ (นม) คล้ายฟองน้ำหุ้มอยู่ทำให้ลอยน้ำได้ มีใบ ดอกและรากอ่อนแตกออกจากข้อโดยมีใบย่อยๆ เช่นเดียวกับมะขาม ขอบ ใบมีสีม่วง ใบรูปไข่ จะหุบเวลากลางคืน หรือเมื่อถูกสัมผัส ดอกเป็นดอกช่ออยู่ปลายก้าน ช่อกลมและฟูสีเหลือง

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Neptumia oleracea Lour. FL.
ชื่อโดยทั่วไป ผักกระเฉด Water mimosa
ชื่อวงศ์ MIMOSACEAE
ชื่อเรียกตามภูมิภาค ผักหละหนอง ผักหนอง ( แม่ฮ่องสอน หรือทางภาคเหนือ ) ผักรู้นอน ( ภาคกลาง ) ผัดฉีด ( ภาคใต้ ) ผักกระเสดน้ำ (อุดรธานี-ยโสธร หรือภาคอิสาน )

kachedna

ผักกะเฉดเป็นพืชคลุมดินมีเถาเลื้อย มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียแถบร้อน เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย ผักกะเฉดสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำ และบนบก ผักที่เจริญเติบโตในน้ำจะประกอบไปด้วย”นม”(Aerenchyme) ทำหน้าที่เป็นทุ่นพยุงเถาให้ลอยน้ำได้และมีรากเกิดตามข้อที่ทอดในน้ำ หรือที่เรียกว่า “หนวด”

ผักกระเฉด เป็นพืชน้ำล้มลุก เป็นเถาเลื้อยเสมอกับผิวน้ำ ลำต้นกลมสีเขียว ตามปล้อง แก่จะมีนวมสีขาวๆคล้ายกับฟองน้ำหุ้มอยู่ จึงทำให้เถาผักกระเฉดลอยน้ำได้ ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนกออกตามข้อ คล้ายใบมะขาม ใบสีเขียวขอบใบจะเป็นสีม่วง ใบจะหุบเวลาที่โดนสัมผัสและตอนกลางคืน รากจะแตกออกเป็นกระจุกตามบรเวณข้อ ผักกระเฉดจะออกดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองตามซอกใบ ผลจะออกเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย มีเมล็ดด้านใน 4-10 เมล็ด

ลักษณะของผักกระเฉด

  • ลำต้น ผักกระเฉดถ้าขึ้นบนดิน ก็เป็นพืชคลุมดิน ลักษณะเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับพวกผักบุ้ง เป็นพืชพื้นเมืองของไทยเราและยังพบได้ที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่นมาเลเซีย ผักกะเฉดสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำ และบนบก แต่ถ้าเจริญเติบโตในน้ำจะพิเศษหน่อยตรงที่จะมีส่วนที่ ทำหน้าที่เป็นทุ่นพยุงเถาให้ลอยน้ำได้เป้นเหมือนทุ่นลอยน้ำภาษาบ้านๆเขาเรียกว่า นม หรือทางวิชาการเขาเรียกส่วนนี้ของพืชว่าAerenchyme
  • ราก ผักกระเฉดที่ขึ้นในน้ำ จะมีรากที่เกิดตามข้อที่ทอดไปในน้ำเรียกว่า หนวด
  • ใบ ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตามข้อ (ลักษณะคล้ายใบมะขามมากจนตอนเด็กๆผมยังสับสน) โดยใบมีสีเขียว ขอบใบจะเป็นสีม่วง สิ่งที่พิเศษคือใบจะหุบเวลาที่โดนสัมผัสและจะหุบเองในตอนกลางคืน(ซึ่งเป็นที่มาของคำว่าผักรู้นอน ดั่งที่ครูภาษาไทยสอน แต่ก็ไม่ค่อยมีคนเรียกหรอกเชื่อไหม) รากจะแตกออกเป็นกระจุกตามบริเวณข้อ ดอกและผล ผักกระเฉดจะออกดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองตามซอกใบ ผลจะออกเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย มีเมล็ดด้านในอยู่สี่ถึงสิบเมล็ด

kachedded

ในผักกระเฉดมีคุณค่าอะไรในนั้นบ้างสำหรับคุณค่าทางด้านโภชนาการของผักกระเฉดนั้นมีอยู่มาก ดังนี้

  • ผักกระเฉดมีวิตามินซีสูงมาก ซึ่งเจ้าวิตามินเอนั้น มีความสำคัญกับตา ช่วยในการมองเห็นโดยเฉพาะภาวะที่มีแสงน้อย นอกจากนั้นวิตามินเอในผักกระเฉด ยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างเป้นปรกติ และที่สำคัญยังในการเจริญโตและ ช่วยในระบบสืบพันธ์ ใครไม่อยากเป็นหมันก็อย่าลืมผักกระเฉด
  • ผักกระเฉด มีแคลเซียม ซึ่งเป้นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปรกติ
  • ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กนั้นมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือด หากขาดธาตุเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

สรรพคุณด้านสมุนไพรไทยของผักกระเฉด นอกจากสรรพคุณด้านโภชนาการแล้ว ผักกระเฉดยังมีสรรพคุณด้านการเป้นสมุนไพรอยู่ด้วย กล่าวคือตามตำราสมุนไพรไทย ผักกระเฉด

เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ถอนพิษเบื่อเมา ป้องกันโรคตับอักเสบ และนอกจากนั้นยังมีสูตรยาโบราณ ที่นำผักกระเฉด ตำผสมกับสุราแล้วหยอดบริเวณฝันที่ปวด ซึ่งเชื่อว่าสามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด, การปักดำเถา

การปลูกผักกระเฉด
การปลูกผักกระเฉดจะต้องคำนึงถึงคุณภาพความน่าซื้อและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ดังนั้นการปลูกผักกระเฉดแบบใหม่โดยการผสมปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พด.2 กับผักผลไม้ และเศษผักขยะสดอินทรีย์ โดยมีสูตรผสมคือ ใช้ผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น มะม่วง กล้วย มะละกอมาหมักกับกากน้ำตาลร่วมกับการใช้สารเร่ง พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดิน หมักไว้ 10 วัน คนเป็นครั้งคราวให้เข้ากัน พร้อมกับเปิดฝาถัง เพื่อให้เกิดการระบายก๊าซ ประมาณ 1 เดือนหลังจากปลูกผักกระเฉดประมาณ 2 สัปดาห์ ถึงระยะที่ผักกระเฉดลอยน้ำดีแล้ว ให้นำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่ง พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดินไปฉีดพ่นในแปลงผักกระเฉด ฉีดพ่นสม่ำเสมอทุก ๆ 7 วัน หลังจากเก็บผลผลิต โดยใช้อัตราที่กรมพัฒนาที่ดินแนะนำ คือ 1 : 500 เมื่อฉีดส่วนผสมดังกล่าวแล้วจะพบว่า ผักกระเฉดจะยาวเร็วและขาวอวบ รสชาติหวานกรอบ

kachednam

การเก็บเกี่ยว เมื่อผักกระเฉดประมาณ 20 วัน ก็เก็บขายได้แล้ว พอเก็บผลผลิตแล้วให้ฉีดน้ำหมักทันที อีก 4 วัน ก็เก็บขายได้อีก นิยมบรรจุใส่ถุง ถุงละ 10 กิโลกรัม ราคาขึ้นลงแล้วแต่ราคาผักในตลาด

การดูแลโรคและศัตรูผักกระเฉด จะมีก็พวกเพลี้ยและหนอนเจาะข้อ ถ้าพบผักกระเฉดมีใบหงิกๆ แสดงว่า หนอนลงผักกระเฉดซะแล้วป้องกันไม่ยาก โดยทุก ๆ 7 วัน ให้ใช้สารขับไล่แมลง ที่ผสมสารเร่ง พด.7 ซึ่งหมักจากข่า ตะไคร้หอม สะเดา ยาสูบ ไว้ 15 วัน ผสมน้ำฉีดพ่นป้องกันแมลง เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง และเพลี้ยอ่อน เมื่อผักกระเฉดอายุครบ 2 เดือน ก็เริ่มให้ผลผลิต หากปลูกไม่มากนักทางที่ดียกกอนั้นขึ้นมาทำลายทิ้งเลยจะดีกว่า ไม่ต้องเสียค่ายาให้เปลืองเงิน นอกจากนี้ ยังเจอปัญหาโรคใบร่วง ถ้าเป็นให้เก็บกอออกเลย แล้วนำปุ๋ยอินทรีย์น้ำพด.7 ที่หมักได้ที่แล้วผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 1 : 200 (ประมาณ 2 ลิตร ต่อไร่) ฉีดพ่นบริเวณต้นผักกระเฉด 7 วัน ต่อครั้ง เมื่อผักกระเฉดแตกยอดอ่อน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผสมแล้ว (1 : 200) ฉีดพ่นบนบริเวณต้นผักกระเฉด 7 วัน ต่อครั้ง ส่วนสมุนไพร (ข่า บอระเพ็ด สะเดา สาบเสือ พริก ยาฉุน โล่ติ๊น) ที่นำมาหมักทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากสารเร่ง พด.2 ประมาณ 1 เดือน นำน้ำหมักสมุนไพรที่ได้มาผสมกับน้ำ อัตราส่วน1/5 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันแมลง 7 วัน ต่อครั้ง โดยผสมพร้อมกับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ฉีดพ่นพร้อมกัน (ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 1 ลิตร +น้ำหมักสมุนไพร 1/5 ลิตร+น้ำ 200 ลิตร) ส่วนกากที่เหลือก็นำไปทำเป็นปุ๋ยหมักเป็นอาหารของพืชต่อไปได้อีก

kachedyod

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้น้ำ

แสดงความคิดเห็น