ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด ผักสลัดหวาน กรอบ อร่อย

11 ธันวาคม 2558 พืชผัก 0

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด (Butter head Lettuce) เองก็เป็นผักที่นิยมกินเป็นสลัดด้วยเช่นกัน เพราะมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย เหมาะจะกินคู่กับเนื้อปลาทูน่า และเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ อีกทั้งผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ โพรแทสเซียม กรดโฟเลต แต่ข้อเสียก็คือเก็บได้ไม่เกิน 2 วันก็จะเหี่ยวเน่าไม่น่ากินแล้ว

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด (Butterhead Lettuce) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lactuca sativa L. ลักษณะทั่วไป ผักกาดหอม บัตเตอร์เฮด ใบมีลักษณะอ่อนนุ่มเป็นมัน เรียงซ้อมกันแน่นคล้ายดอกกุหลาบ และห่อหัวแบบหลวมๆ

pagbutterhead

ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 24 อาศาเซลเซียส ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถูสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6 6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดเป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด รับประทานเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกต่างๆ ห่อเมี่ยงคำ เนื้อย่าง และยำต่างๆ หรือนำมาตกแต่งในจานอาหาร
ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

pagbutterheads

ปลูกผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด

  • ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็น กรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทน ต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝนควรปลูกใต้โรงเรือน
  • อุณหภูมิ ผักกาดหอมบัตเตอร์เฮด เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางในจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม

การปฏิบัติดูแลรักษาผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด และโรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลง กว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย (รองพื้นที่) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์
ข้อควรระวัง

  • อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหากการระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย
  • อย่าเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
  • กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
  • ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
  • ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ต้องวัด pH ก่อนช่วงเตรียมดิน
  • หลังย้ายกล้าในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำ และจิ้งหรีด

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่ดการเจริญเติบโต การให้น้ำไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิดโคนเน่า

pagbutterheaddin

การใส่ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อนโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ
ข้อควรระวัง

  • ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
  • การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบทระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
  • ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
  • ไม่ควรปลูกซ้ำที่

pagbutterheadton

การเก็บเกี่ยว เมื่อมีอายุ ได้ประมาณ 40-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้มีดตัดและเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียกน้ำ ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก
ข้อควรระวัง

  • ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะ เน่าง่าย
  • เก็บซากต้นนำไปเผาหรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก

pagbutterheadbai

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของผักกาดหอมบัตเตอร์เฮดในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

  • ระยะกล้า 20-25 วัน โรคกล้าเน่า, โรครากปม
  • ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 25-30 วัน โรคใบจุด, โรครากปม
  • ระยะห่อห้ว 30-35 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม
  • ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุด, โรคหัวเน่า, โรครากปม

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น