ผักกาดแก้ว ผักกาดหอมห่อ

19 ธันวาคม 2558 พืชผัก 0

ผักกาดแก้ว (Iceberg Lettuce) เป็นผักอีกชนิดที่นิยมรับประทานเป็นสลัดผัก ผักกาดแก้วอุดมไปด้วยไฟเบอร์ วิตามินเอ วิตามินซี โพรแทสเซียม กรดโฟเลต และสารอาหาร รวมทั้งแร่ธาตุที่มีประโยชน์กับร่างกาย

ผักกาดหอมห่อ หรือ ผักกาดแก้ว มี ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Lactuca sativa var.capitata ลักษณะทั่วไป เป็นผักสีเขียวค่อนข้างอ่อน ใบห่อเป็นหัว เนื้อใบหนากรอบเป็นแผ่นคลื่น เป็นพืชที่ปลูกง่าย ตลาดมีความต้องการสูง

paggadkawhao
ผักกาดหอมห่อเป็นผักกาดหอมที่มีลักษณะใบเรียงตัวกันหลายใบ ซ้อนกันแน่น ปลายใบหุบลงห่อห่มกันเป็นชั้นๆจนมีลักษณะเป็นหัว ใบด้านในมีสีเหลืองอ่อน ใบด้านนอกมีสีเขียวถึงเขียวแก่ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • ชนิดหัวห่อแน่น ใบค่อนข้างบาง มองเห็นเส้นใบ กรอบ และเปราะง่าย ใบจะเรียงตัวห่อซ้อนทับกันจนเป็นหัวคล้ายกะหล่ำปลี แต่ต่างกันที่สี และลักษณะใบเท่านั้น นิยมนำมารับประทานสด และทำผักกาดดอง เป็นต้น
  • ชนิดหัวห่อหลวม เป็นชนิดที่พบได้มากในตลาดค้าผัก แบ่งออกเป็นผักกาดหอมห่อหลวมทั่วไป และห่อหลวมแบบยาว ซึ่งจะต่างกันที่แบบห่อยาวจะมีรูปทรงกลม และเรียวยาวกว่า ลักษณะของผักกาดหอมห่อหลวม ใบจะอ่อนนุ่ม ไม่กรอบ ผิวใบมัน และหนากว่าผักกาดหอมห่อแน่น และลักษณะการห่อหัวจะหลวม ไม่อัดกันแน่น

paggadkawa

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมผักกาดหอมห่อ
ผักกาดหอมห่อ หรือ ผักกาดแก้ว เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24 C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และพืชจะสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้นในช่วงฤดูฝน ควรปลูกในโรงเรือน

paggadkawtad

การใช้ประโยชน์ และคุณค่าทางอาหารของผักกาดหอมห่อ
ผักกาดหอมห่อเป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่งในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้ในบางชนิด ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลัก และมีวิตามินซีสูง โดยเฉพาะผักกาดหอมที่มีใบสีแดง นอกจากนี้ยังให้ฮีโมโกลบิน(hemoglobin) ช่วยป้องกันโรคโลหิดจาง บรรเท่าอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

การปฎิบัติดูแลรักษา ผักกาดหอมห่อ ผักกาดแก้ว ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดดและโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืชแห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 ม. ใส่ปุ๋ย (รองพื้น) ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์

การปลูก ระยะปลูก 3030 ซม. 3 แถว ในฤดูร้อน และ 4040 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน(เพื่อป้องกันการระบาดของโรค)
ข้อควรระวัง

  • อย่าปลูกในหลุมใหญ่หรือลึกเพราะน้ำอาจขังหากระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย
  • อย่างเหยียบหลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
  • กล้าควรแข็งแรง อายุไม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
  • ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
  • ก่อนใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์ต้องวัน pH ก่อนช่วงเตรียมดิน
  • หลังย้ายกล้าปลูกในฤดูฝนให้ระวังหนอนกระทู้ดำ และจิ้งหรีด

paggadkawbai

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า

การให้ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ยพร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อมโต๊ะ กลบดินแล้วรดน้ำ
ข้อควรระวัง

  • ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อป้องกันอาการปลายในไหม้(Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหา ขาดธาตุรอง
  • การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบกระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผลต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
  • ควรเตรียมแปลงปลูกโดยใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักปริมาณที่มาก
  • ไม่ควรปลูกซ้ำที่

paggadkawplang

การเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ ได้ประมาณ 40-80 วัน หลังย้ายปลูก ใช้หลังมือกดดูถ้าหัวแน่นก็เก็บได้(กดยุบแล้วกลับดินเหมือนเดิม) ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3 ใบเพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย หรือค่ำแล้วผึ่ง ลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัวอย่าล้างผักบรรจุลงลังพลาสติก
ข้อควรระวัง
ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มี่ 2-3 วัน เพราะเน่าง่าย
เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาด และสะสมโรคในแปลงปลูก

paggadkawdin

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญ ผักกาดหอมห่อ ในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

  • ระยะหยอดเมล็ด 0-25 วัน หนอนกระทู้ดำ, หนอนซอนใบ,
  • ระยะการเจริญเติบโต 20-25 วัน โรคใบจุดเซอคอสปอร์รา, โรคใบจุดเซนโซเรีย, ปลายใบไหม้, หนอนกระทู้ดำ, หนอนซอนใบ, หนอนกินใบ
  • ระยะห่อหัว 30-35 วัน โรคใบจุดเซอคอสปอร์รา, โรคใบจุดเซนโซเรีย, ปลายใบไหม้, หนอนซอนใบ, หนอนกินใบ
  • ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุดเซอคอสปอร์รา, โรคใบจุดเซนโซเรีย, ปลายใบไหม้, หนอนซอนใบ, หนอนกินใบ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น