ผักกูดแดง ผักพื้นบ้านผักยอดแดง

15 มกราคม 2558 พืชผัก 0

กูดแดง จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในพันธ์ไม้ที่ปัจจุบันนี้ ประสบปัญหาการลดจำนวนลง เป็นอย่างมาก เนื่องจากเดิมทีนั้น ต้นกูดแดง เป็น พันธ์ไม้ที่ขึ้นตามพื้นที่ป่ากระจาย ตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย แต่ปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และ การบุกรุกและทำลายป่า ตลอดจนสภาวะการเสื่อมโทรมของดินที่เพิ่มความรุนแรง ขึ้นทุกขณะ ทำให้ ต้นกูดแดง ได้รับผลกระทบไปด้วยโดยตรง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Stenochlaena palustris.
ชื่อวงศ์ PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรงสวน, ผักยอดแดง, ผักกูดแดง (กลาง), ลำเท็ง, ละเท็ง, ลำเพ็ง(ใต้), ปากุ๊มะดิง (มลายู)

ลักษณะ
ลำต้นทอดขนานพันต้นไม้อื่น ปลายยอดมีสเกลสีน้ำตาลรูปค่อนข้างกลมปกคลุม ซึ่งมักจะหลุดไปเมื่อต้นแก่ ใบเป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อยติดสองข้างของก้านใบ ใบที่สร้างสปอร์และใบที่ไม่สร้างสปอร์มีรูปร่างต่างกันชัดเจน ที่ไม่สร้างสปอร์ใบทั้งใบจะยาวประมาณ 45 80 ซม. มีใบย่อยออกสองข้างของก้านใบ ใบย่อยแต่ละใบรูปร่างคล้ายคลึงกัน คือมีก้านใบสั้นๆ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ฐานใบขอบแหลม แผ่นใบเรียบเป็นมัน มีขนาด 12.5 x 2.5 ซม. ใบสร้างสปอร์จะเกิดที่ยอด ใบย่อย มีขนาดประมาณ 20 ซม. X 3 ซม. โดยมีกลุ่มของอับสปอร์คลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน ยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบ

paggooddangton paggooddangsuan paggooddangking

กูดแดง เป็นพืชเฟิร์นเลื้อยเถามีลักษณะกลม ขนาดราว 5-7 มม. สีเขียว บางช่วงเรียบบางช่วงมีขนหรือเกล็ด มีใบออกจากเหง้า ใบปกติมีข้อเกิดบนก้านใบย่อย ใบประกอบขนนกเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน ขนาด 15-30 x 30-70 ซม.ใบย่อย 20-30 ใบ เรียงสลับรูปรีเรียวแคบ ก้านสั้นขนาดของใบย่อยไม่แน่นอน เฉลี่ย 3 x 15 ซม.ปลายใบเรียวแหลมฐานใบกลม ขอบใบหยักไม่เป็นระเบียบมีหนามแหลมคมที่ปลายหยัก เส้นใบตรง ขนานกันเป็นระเบียบ ใบย่อยสร้างสปอร์รูปรีแคบ ขนาดไม่แน่นอน เฉลี่ย 0.3 x 20 ซม. ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ด้านล่างมีอับสปอร์ สีน้ำตาลปกคลุม ใบอ่อนสีแดงอ่อนถึงแดงเข้มลำเท็ง พบทั่วไปในป่าน้ำท่วมขังที่มีแสงแดดรำไร แต่ก็พบบ้างในที่มีแดดเต็มวัน หากขึ้น ในที่โล่งจะแผ่ขยายเป็นวงกว้าง หนาแน่น

paggooddangyod

ถิ่นกำเนิด และ พื้นที่ที่พบ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในประเทศ พบตามริมห้วย ที่ลุ่มป่าพรุ ที่ชื้นแฉะ ป่าดิบชื้น และพบขึ้นพันต้นไม้ใหญ่ในป่า

ประโยชน์

  • เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ใบใช้เป็นผักสดได้ทำให้เป็นยาระบาย ลำต้นเหนียวใช้สานตระกร้าได้
  • ใบและยอดอ่อน เป็นผักพื้นบ้าน ใช้แกงเลียง ทำให้น้ำแกงมีสีแดง – ม่วง
    paggooddangsho

สรรพคุณทางสมุนไพร
ใช้ใบตำผสมกับดินประสิวดิบเล็กน้อยโปะกระหม่อมเด็กแก้ร้อนใน ทั้งต้น ต้มแก้ไข้ผ้าง ไข้พิษ ไข้ปวดหัวตัวร้อน ไข้หวัด หืดหอบ ไข้สันนิบาต นอกจากนี้ลำเพ็งยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้รากลำเพ็งรักษาแผลงูกัด ยอดอ่อนมีสรรพคุณบำรุงเลือด เถาใช้เป็นยาบำรุงหญิงที่เพิ่งคลอดลูก

paggooddangs

ที่มา
เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งแประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ 379 หน้า.
วัชรี ประชาศรัยสรเดช. 2542. ผักพื้นเมือง เหนือ อีสาน ใต้. 81 หน้า.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2542. ผักพื้นบ้านภาคใต้ 279 หน้า.

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น