ผักกูด เฟิร์นกินได้ อร่อยเพื่อสุขภาพ

20 กุมภาพันธ์ 2556 พืชผัก 0

“ผักกูด” เป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิร์นที่อยู่ในวงศ์ “Athyriaceae” ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ และยังเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์อีกด้วย โดยมีสรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต ความดันโลหิตสูง

ผักกูด (Diplazium esculentum(Retz.)Swartz)

ชี่ออื่น ผักกูดขาว(เชียงใหม่) ผักกูด (กลาง) กีบม้าลม ดูกู
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dryopteris amboinensis Ktze. F
วงศ์ DRYOPTERIDACEAE
ชื่อสามัญ Oak fern
แหล่งที่พบ ทั่วไปทุกภาค
ประเภทไม้ เฟิร์น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

  • ต้น เป็นไม้จำพวกเฟิร์น เป็นเหง้าตั้งตรง สูงมากกว่า 1 เมตร มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มขอบดำ ขอบเกล็ดหยักซี่ฟัน
  • ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบมีขนาดต่างกัน มักยาวกว่า 1เมตร ก้านใบยาว70 ซ.ม. กลุ่มใบย่อยคู่ล่าง มักลดขนาด ปลายเรียวแหลมโคนรูปกึ่งหัวใจ หรือรูปติ่งหู ขอบหยักเว้าลึกเป็นแฉกเกือบกึ่งเส้นกลาง ใบย่อย แฉกปลายมน ขอบหยักซี่ฟันแผ่นใบบาง กลุ่มอับสปอร์อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อย มักเชื่อมกับกลุ่มอับสปอร์ ที่อยู่ในแฉกติดกันซึ้งมีเส้นใบมาสานกัน

แหล่งที่พบ
ผักกูดพบในป่าที่เป็นที่โล่ง ขึ้นตามที่ชื้น บริเวณริมลำน้ำทั่วไป ที่ลุ่มน้ำท่วมถึงและเป็นที่โล่งแจ้งมากกว่าป่าทึบ

วิธีปลูก
รากที่สมบูรณ์ของผักกูดที่ห่างจากต้นเดิม ส่วนปลายรากที่โผล่พ้นดินจะเจริญเป็นต้นอ่อน ซึ่งจะเกิดรอบๆ ต้นแม่สามารถแยกมาปลูกได้ ซึ่งสามารถนำมาปลูกแบบไม้ประดับในกระถางในสวนก็ได้

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ริมห้วยริมน้ำและชะง่อนหินที่มีความชันสูงของป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งป่าดิบเขา และป่าผลัดใบ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ขึ้นหนาแน่นตามชายป่ามีแดดส่องถึง ตามบริเวณ
ลำธารหรือบริเวณต้นน้ำ ปลูกได้ตามชายคลอง ห้วยหนองต้นจะแห้งเฉาในฤดูแล้ง และแตกหน่อใหม่
ในฤดูฝน ผักกูดชอบความชื้นสูง บริเวณดินแฉะ

kuudyodd

ผักกูดเป็นพืชตระกูลเฟิร์นกินได้ชนิดหนึ่ง มีเหง้าสูงได้ 1 เมตร ใบเป็นแผงรูปขนนก ตอนอายุยังน้อยจะแตกเป็นรูปขนนกชั้นเดียวคู่ขนานกันไปตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ เมื่ออายุมากขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นรูปขนนก 2 ชั้น ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย เติบโตในฤดูฝนในที่โล่งแจ้งมีน้ำชื้นแฉะ จะพบมากกว่าที่ในป่าทึบ

ผักกูดมีหลายชนิด เช่น กูดดอย กูดน้ำ กูดหิน และกูดขาว เป็นต้น แตกต่างกันเพียงสีของต้นและลักษณะใบเล็กน้อย เช่น กูดแดง จัดได้ว่า เป็น หนึ่งใน พันธ์ไม้ ที่ ปัจจุบันนี้ ประสบปัญหาการลดจำนวนลง เป็นอย่างมาก เนื่องจาก เดิมทีนั้น ต้นกูดแดง เป็น พันธ์ไม้ ที่ขึ้น ตาม พื้นที่ป่า กระจาย ตามภาค ต่างๆ ของประเทศไทย แต่ปัจจุบัน เนื่องจากปัญหา การตัดไม้ทำลายป่า และ การบุกรุกและทำลายป่า ตลอดจน สภาวะ การเสื่อมโทรมของดิน ที่ เพิ่มความรุนแรง ขึ้นทุกขณะ ทำให้ ต้น กูดแดง ได้รับผลกระทบ ไปด้วย โดนตรง

ลักษณะของต้น กูดแดง เป็น
ลำต้นทอดขนานพันต้นไม้อื่น ปลายยอดมีสเกลสีน้ำตาลรูปค่อนข้างกลมปกคลุม ซึ่งมักจะหลุดไปเมื่อต้นแก่ ใบเป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อยติดสองข้างของก้านใบ ใบที่สร้างสปอร์และใบที่ไม่สร้างสปอร์มีรูปร่างต่างกันชัดเจน ที่ไม่สร้างสปอร์ใบทั้งใบจะยาวประมาณ 45 80 ซม. มีใบย่อยออกสองข้างของก้านใบ ใบย่อยแต่ละใบรูปร่างคล้ายคลึงกัน คือมีก้านใบสั้นๆ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ฐานใบขอบแหลม แผ่นใบเรียบเป็นมัน มีขนาด 12.5 x 2.5 ซม. ใบสร้างสปอร์จะเกิดที่ยอด ใบย่อย มีขนาดประมาณ 20 ซม. X 3 ซม. โดยมีกลุ่มของอับสปอร์คลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน ยกเว้นบริเวณเส้นกลางใบ

ผักกูดจะพบขึ้นเองโดยธรรมชาติ ในป่าโล่งที่มีความชื้นสูง และบริเวณที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมถึง ปัจจุบันเป็นที่นิยมบริโภคมากจึงมีการนำไปปลูก โดยการแยกต้นอ่อนที่แตกออกจากกอผักกูด นำไปปลูกในดินที่มีความชื้นสูง ชาวบ้านรุ่นเก่าๆ รู้จักผักกูดมาตั้งแต่โบราณแล้ว ส่วนคนรุ่นใหม่น้อยนักจะรู้จักและรู้จักรับประทาน มียอดอ่อนขายตามตลาดสดทั่วไป
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าผักกูดเป็นผักบอกสภาวะแวดล้อมให้คนรู้ว่า บริเวณไหนอากาศไม่ดี ดินไม่บริสุทธิ์ มีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้นเด็ดขาด ผักกูดจึงถือได้ว่าเป็นอาหารพิเศษอย่างหนึ่งจากธรรมชาติมีสารเบต้าแคโรทีนและธาตุเหล็กในตัวสูง เมื่อรับประทานแล้วจึงได้ประโยชน์

ผักกูดสามารถนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง โดยเราจะนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาทำเป็นอาหาร แถมเมนูจากผักกูดก็ยังอร่อยถูกปากหลายๆ คนเป็นพิเศษอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงปลากับผักกูด จะกินสดๆ หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรกินสดบ่อยนักเพราะจะมีสารออกซาเลตสูง โดยสารนี้จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญๆ อีกทั้งหากสะสมสารนี้ไปในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้ออกซาเลตไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว จึงควรทำผักกูดให้สุกก่อนกิน

สารอาหารในผักกูดนั้นก็มีมากมาย โดยมีสารเบต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กสูง นอกจากนั้นก็ยังให้แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินซี ไนอาซีน ผักกูดยังเป็นผักพื้นบ้านของไทยที่มีสรรพคุณทางยา โดยจะช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ใบของผักกูดใช้ต้มน้ำดื่มหรือกินสด ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟันและขับปัสสาวะเด็ดขาดมาก ลดความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด ส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ช่ออ่อน ทำแกงกับปลาเนื้ออ่อนน้ำจืด เช่นปลาช่อนหรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ แต่ไม่นิยมกินสดๆ กันเพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น