ผักก้านตรง ราก-ใบเป็นยา

6 มีนาคม 2560 พืชผัก 0

ผักก้านตรง หรือ คันทรง เป็นไม้ป่าเบญจพรรณที่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของเวียดนาม มาเลเซีย สรรพคุณทางยา ใบอ่อนเป็นผักหรือต้มน้ำอาบรักษาอาการบวม ผื่นคันตามผิวหนัง ส่วนรากต้มรักษาโรคบิด ไข้จับสั่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Colubrina asiatica Brongn.
วงศ์ RHAMNACEAE
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ ผักคันทรง ผักก้านถึง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หน้าตาคล้ายๆ ผักหวานบ้าน มีหลายชื่อแล้วแต่ละท้องถิ่นจะเรียกผักคันทรง ผักก้านตรง ผักก้านถึง เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 2-3 เมตร กิ่งก้านเล็กกลม สีเขียวใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปหอกกว้าง 1.5- 2 ซม. 3-4 ซม. ปลายและฐานใบแหลม ขอบใบหยัก เส้นใบมี 3 คู่ ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างดอกขนาดเล็กสีเหลืองปนเขียว กลิ่นหอมอ่อนๆออกตามซอกใบตามกิ่งก้านเรียงเป็นแถว เป็นช่อเล็กๆ ดอกย่อย 8-14 ดอกดอกรูปจาน ดอกบานกว้างประมาณ 0.2-0.3 ซม. ก้านดอกสั้นยาว0.3-0.4 ซม.รูปกลมแป้นสีเขียวเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.6 ซม.

ประโยชน์ด้านอาหาร ยอดอ่อนสามารถนำมาปรุงอหารได้หลากหลายชนิด เช่น ลวกกินกับน้ำพริก ผักรองห่อหมก ผัดน้ำมัน แกงส้ม แกงเลียง

สรรพคุณทางยา
รากผักก้านตง เป็นสมุนไพรที่หมอยาอีสานใช้มากตัวหนึ่ง มีสรรพคุณเย็น แก้พิษร้อนถอนพิษไข้ นิยมใช้ร่วมกันสามสหาย คือ รากย่านาง รากผักหวานบ้าน รากผักก้านตง เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออกตุ่มต่างๆ
ใบและเปลือก ต้มอาบแก้บวมเนื่องจากไตและ หัวใจพิการ แก้น้ำเหลืองเสียแก้เหน็บชา

เพาะขยายพันธุ์ การปักชำ และเพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์
เมล็ดและปักชำลำต้น ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ฤดูหนาว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต
ขึ้นทั่วไปในป่าดงดิบ ป่าละเมาะตามที่รกร้างและข้างถนนหรือปลูกในบริเวณบ้าน เพื่อใช้รับประทานเป็นผัก

สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ราก ฝนกับน้ำมะพร้าว กินแก้บวม ตานขโมย (โรคพยาธิในเด็กอายุ 5-13 ปี มีอาการซูบผอม อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีอาการท้องเสีย)
ตำรายาไทยใช้ ราก รสฝาดเฝื่อน แก้อาการบวม น้ำเหลืองเสีย กินแก้ร้อนในกระหายน้ำ ใบและเปลือกต้น รสฝาดเฝื่อน ต้มน้ำอาบแก้เม็ดผื่นคัน แก้บวมทั้งตัว เนื่องจากโรคไตหรือโรคหัวใจพิการ น้ำเหลืองเสีย และเหน็บชา ใบ ปรุงยาต้มทาบรรเทาอาการระคายเคืองที่ผิว และรักษาโรคผิวหนังบางชนิด ผล ทำให้แท้ง ใช้เบื่อปลา

ประเทศมาเลเซียใช้ ต้น ต้มกินบรรเทาอาการโรคกระเพาะอาหาร ใบ มีรสขม ช่วยเจริญอาหาร ยาต้มจากใบ ทาแก้อาการแพ้ ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบ ฝี ผล ทำให้แท้งบุตร น้ำมันจากเมล็ด รักษาโรคข้อรูมาติก แก้อาการชา แก้ปวดตามตัว และศีรษะ แก้ไข้ บรรเทาปวด
ชาวฮาวายใช้ ใบ แทนสบู่ และ ผล ใช้เบื่อปลา

องค์ประกอบทางเคมี
พบสารกลุ่มซาโปนิน colubrine, colubrinoside มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน, สารแลคโตน ebelin สารกลุ่มฟลานอยด์ เช่น kaempferol-3-O-rutinoside, rut

ข้อควรระวัง ทั้งผลและใบ มีสารซาโปนิน การบริโภคมากเกินไปทำให้เกิดอันตรายได้ และทำให้ง่วงนอน ผล ทำให้แท้งบุตรได้ ในสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานทั้งใบและผล

การใช้ประโยชน์
รากผักก้านตงเป็นสมุนไพรที่หมอยาอีสานใช้มากตัวหนึ่ง มีสรรพคุณเย็นแก้พิษร้อนถอนพิษไข้ นิยมใช้ร่วมกันสามสหาย คือ รากย่านาง รากผักหวานบ้าน รากผักก้านตง เป็นยาหลักในตำรับยาแก้ไข้ แก้ไข้พิษ ไข้ออกตุ่มต่างๆ
ทางอาหารและทางยาใบอ่อน และยอดอ่อน นำมาต้มให้สุกรับ ประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกปลาร้าหรือน้ำพริกแดง แกงแคร่วมกับผักอื่นๆ แกงกับปลาย่าง
ใบและเปลือกต้มอาบแก้บวมเนื่องจากไตและ หัวใจพิการ แก้น้ำเหลืองเสียแก้เหน็บชา

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น