ผักชีฝรั่ง เป็นผักที่มีกลิ่นฉุน มักจะนำไปประกอบอาหารในภาคอีสานและภาคเหนือ เช่น นำไปใส่ลาบ เป็นต้น นอกจากจะนำผักชีฝรั่งไปประกอบอาหารเพื่อให้ได้ความอร่อยและมีกลิ่นหอมแล้วผักชีฝรั่งยังมีประโยชน์และสรรพคุณอีกมากมายที่จะช่วยบำรุงรักษาร่างกายเราจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ผักชีฝรั่งถือเป็นสมุนไพรไทยพื้นบ้านเช่นกัน
ผักชีฝรั่ง มีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่ประกอบด้วย วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี ธาติเหล็ก เส้ยใย โพแทสเซียม เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีคลอโรฟิวล์สูง เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีน้ำมันหอมระเหยหลายอย่าง อีกทั้งยังมีรสชาติอร่อยหากนำมาประกอบอาหาร ส่วนมากเป็นอาหารของภาคอีสาน ภาคเหนือ อาหารประจำท้องถิ่น
ชื่อภาษาอังกฤษ Sawtooth corianser, Spiny coriander, long coriander, Culantro
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eryngium foetidum L.
ชื่อพ้อง Eryngium antihystericum Rottler
วงศ์ Umbelliferae (Apiaceae)
ชื่ออื่นๆ ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ ผักจีดอย(ภาคเหนือ), ผักชีไทย,ผักชีใบเลื่อย(ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ,ผักหอมเป(ขอนแก่น,เลย), หอมน้อยฮ้อ(อุตรดิตถ์), หอมป้อม,หอมเป(ชัยภูมิ), หอมป้อมเปอะ(กำแพงเพชร) แมะและเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชวงศ์เดียวกับผักชีใบมีกลิ่นหอมรากเป็นแท่งยาวปลายเรียวแหลมใบขึ้นเป็นกระจุกรอบดคนต้นรูปร่างปลายใบหอกแกมรูปปลายลิ้นไม่มีก้านใบขอบใบเป็นติ่งหนามขนาดใบยาว 3-20 เซนติเมตร กว้าง1-3 เซนติเมตร ลำต้นที่ออกดอกมักแตกกิ่งเป็นแฉกหลายครั้งช่อดอกมีใบประดับและมีติ่งหนามช่อดอกรูปร่างทรงกระบอกกลมยาว 5-10 มิลลิเมตรดอกไม่มีก้านสีเขียวอมเหลืองผลเรียบผิวขรุขระ
ประโยชน์ทางยา : กลิ่นหอม รสมันอมขมเล็กน้อย ใบบัวบกสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ รักษาแผลให้หายได้ เป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันเพื่อใช้ในการรักษาแผลสดหรือแผลหลังผ่าตัด
ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ใบอ่อนและใบที่เจริญเต็มที่ใช้เป็นผักและเครื่องปรุง ผักชีฝรั่งจะเจริญงอกงาม ดีในฤดูฝน
การปรุงอาหาร : ใบอ่อนและใบของผักชีฝรั่งรับประทานเป็นผักสด โดยเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ยำ ก้อย ได้ หรือซอยใส่ยำหมู ยำไก่ หรือยำผัก ใบผักชีอ่อนยังรับประทานโดยนำไปใส่ต้มยำเนื้อ ต้มยำเครื่องในวัว เพื่อปรุงรสและดับกลิ่นคาวได้
สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง
ผักชีฝรั่ง มีคุณค่าทางโภชนาการคือประกอบด้วย เส้นใย แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ไอโอดีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ไนอาซิน มีสารคลอโรฟิลล์สูง มีน้ำมันหอมระเหย เช่น เอพิออล (apiol) เบอแกบทีน (bergaptein) ไมรีสทิซิน (myristicin) ฟูราโนคิวมารีน (furanocumarin) ฟลาโนวอยด์ (flavonoids) นอกจากนี้ยังมีกรดโฟลิกและเมือก”มูซิเลจ” (mucilage) ที่รากอีกด้วย
ข้อควรระวัง
จากข้อมูลการรายงานสรรพคุณของผักชีฝรั่งพบว่า ชาวอียิปต์ได้นำมาใช้เมื่อมีอาการปวดท้องหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ อย่างไรก็ตามมีคำแนะนำว่า สำหรับสุภาพสตรีไม่ควรใช้ในขณะมีครรภ์
การปลูก : ปลูกได้ 2 วิธี คือ
โรคแมลงที่สำคัญ : มีอยู่ 4 ชนิด คือ
การเก็บเกี่ยว : ผักชีฝรั่งเริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 120 วัน หลังเมล็ดงอก หรือ 30 วันนับจากย้ายลงปลูก การเก็บจะถอนทั้งต้นมีรากติด หรือตัดทีละต้น
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน