ผักที่ใช้บริโภคส่วนของใบและก้านใบเป็นผักสด หรือใช้รับประทานกับสาคูไส้หมู ต้นและรากใช้เป็นส่วนประกอบอาหารได้หลายอย่าง ใช้ต้มเป็นน้ำซุปหรือน้ำก๋วยเตี๋ยวทำให้มีกลิ่นหอมและรสชาติดี เมล็ดใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงของเครื่องแกงเผ็ด นำมาบดคลุกกับเนื้อวัวสดใช้ทำเนื้อสวรรค์ที่มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน กลิ่นหอมของเมล็ด ราก ใบ และต้นของผักชีสามารถใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L.
ชื่อสามัญ : Coriander
วงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออื่น : ผักหอม (นครพนม) ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ) ยำแย้ (กระบี่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล ใบ ลักษณะการออกของใบจะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ ผล จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น
ผักชีเป็นพืชผักสมุนไพร มักลิ่นหอม อายุสั้นประมาณ 40-60 วัน สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำ ที่ดี ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ผักชีเป็นผักที่ใช้ใบ ก้านใบและลำต้นบริโภค เป็นผักเครื่องเคียงและปรุงแต่งอาหาร ให้มีรสชาติ และกลิ่นหอมน่ารับประทาน
คุณค่าอาหาร
ผักชี 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
การเตรียมดินและการปลูก
พันธุ์ผักชีที่นิยมปลูกทั่วไปในประเทศไทย ได้แก่ พันธุ์สิงคโปร์ พันธุ์สิงคโปร์เมล็ดดำ และพันธุ์ไต้หวัน ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขายเมล็ดพันธุ์ผักทั่วไป
ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำขัง ดังนั้น ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น อย่าให้น้ำมากจนโชกเกินไป เพราะผักชีถ้าถูกน้ำหรือฝนมากๆ มักจะเน่าง่าย สำหรับวัชพืชที่ขึ้นในระยะแรกควรรีบกำจัดโดยเร็ว โดยใช้มือถอน อย่าปล่อยให้ลุกลามเพราะวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและอาหารจากผักชี
ผักชีจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 30-45 วัน เนื่องจากผักชีสามารถใช้ทุกส่วนบริโภค ควรเก็บเกี่ยวโดยการถอนด้วยมือติดทั้งต้นและรากไม่ขาด แต่ก่อนถอนควรรดน้ำบนแปลงให้ดินชุ่มชื้นเสียก่อนเพื่อสะดวกในการถอน เมื่อถอนเสร็จแล้วนำไปล้างดินออก ตกแต่งโดยเด็ดใบเหลืองใบเสียทิ้ง แล้วมัดๆ ละกิโลกรัม นำไปผึ่งลมแล้วบรรจุเข่ง เพื่อให้ผักชีไม่เกิดการเน่าเละขณะขนส่งอันเนื่องมาจากน้ำแฉะเกินไป ผลผลิตผักชีที่ดีต้องมีใบเขียวสม่ำเสมอ ไม่เป็นโรคใบลายหรือใบไหม้ มีรากขาวมาก รากยาวและไม่ขาด
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน