ต้นผักปราบที่จะเป็นพืชล้มลุก จะมีใบสีเขียวใบไม้ อมเทา ซึ่งมีความสูง ของต้นปราบนั้น มีความสูง เพียงแค่ 1 ฟุต เพียงเท่านั้นเอง ใบของต้นปราบนั้น จะมีการแยกออก จากลำต้น ส่วนของ โคนใบ นั้น จะเป็นกาบ ที่มีการหุ้มลำต้น ของต้นปราบเอาไว้ ส่วนความยาว ของใบ จะมีความยาว เพียงแค่ประมาณ 8 เซนติเมตร ความกว้าง ประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนดอก ของปราบนั้น จะมีขนาดเล็กๆ และจะมีสีม่วง โดยจะเป็นกลีบมีความสวย เพราะฉะนั้นแล้ว ผักปราบ นั้นจะสามารถ เจริญงอกงาม ได้ดี และจะมีการอยู่ร่วม กันเป็นจำนวนมาก
ผักปราบชอบเกิดในพื้นทีทั่วไปชื้นๆหน่อย หรือริมคลอง ตามกระถางดอกไม้ก็มีเห็นบ่อย ผู้คนส่วนมากตัดถอนทิ้ง เพราะว่ามันเป็นหญ้า รกรุงรัง และตายยากด้วย ถอนวางไว้ที่ไหนมันก็เกิดต่อที่นั่น
เปลี่ยนใหม่ เก็บมาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพซะเลย ตอนนี้ที่ชมรมเกิดเองเยอะไม่ถอนทิ้งทั้งหมดเหลือไว้เป็นผัก ทุกๆวันหากมีน้ำพริกจะเก็บยอดอ่อนมาจิ้มน้ำพริก หรือส้มตำ อร่อยรสจืดๆ มันๆ มีเหมือกเล็กน้อยเหมือนผักกรูด
ผักปราบใบกว้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina Benghalenis Linn
วงศ์ : COMMELINACEAE
ชื่ออื่นๆ :ผักปราบ ผักปราบใบกว้าง หญ้าปล้องขน ผักปลาบน้ำ ผัก ปลาบดง ปลายร้าง
ลักษณะ
ผักปราบเป็นพืชอายุปีเดียว ลำต้นอวบน้ำทอดเลื้อยไปตามพื้นดินปลายยอดชูตั้งขึ้น สูง 65-85 เซนติเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 3.5 มิลลิเมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ (ovate) หรือรูปรี (elliptic) กว้าง 1.0- 3.5 เซนติเมตร ยาว 1.7 8.0 เซนติเมตร โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นยาว 0.8 1.6 เซนติเมตร ขอบใบมีขนครุย (ciliate) มีใบประดับสีเขียวหุ้มช่อดอก ตามลำต้นแผ่นใบทั้งสองด้านและ หลังใบประดับ (bract) จะมีขนละเอียดสั้นๆ ปกคลุมหนาแน่น ดอกแบบช่อกระจุก (cymose) ออกดอกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อนใส กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน อับเกสรเพศผู้มี 6 อัน ซึ่ง 4 อัน เป็นหมันจะมีสีเหลืองสด อีก 2 อันไม่เป็นหมันจะมีสีม่วงเข้ม ยอดและก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูสีม่วงอ่อน พบออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
ผักปลาบใบแคบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Commelina diffusa Burm.f.
ชื่อสามัญ spreading dayflower, wandering jew, watergrass, frenchweed
วงศ์ COMMELINACEAE
ชื่ออื่นๆ ผักปลาบ (ภาคกลาง) ผักปลาบขอบใบเรียว (เชียงใหม่) ผักปลาบใบแคบ
ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำไม่มีขน แตกกิ่งก้านเลื้อยแผ่ไปตามพื้นดินสูง 30 – 155 เซนติเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 – 4.9 มิลลิเมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ ssรูปขอบขนานถึงรูปหอกแกมรูปไข่ (ovate oblong-ovate lanceolate) กว้าง 1.2 – 2.8 เซนติเมตร ยาว 2.1 – 12.5 เซนติเมตร หน้าใบไม่มีขน ผิวหน้าใบสากมือ หลังใบนุ่มไม่มีขน ถึงมีขนน้อยมาก ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย (serrulate) จะสังเกตุได้เมื่อใช้เลนส์ขยาย กาบใบยาว 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ขอบกาบใบมีขนยาว 2.0 – 2.5 มิลลิเมตร ช่อดอกแบบช่อกระจุก (cymose) ประกอบด้วยดอกย่อย 1 – 3 ดอก มีใบประดับสีเขียวหุ้มช่อดอกหลังใบประดับมีขนยาว 1 – 1.5 มิลลิเมตรปกคลุมปานกลาง กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สี เขียวอ่อนใสถึงม่วงอ่อนใส กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงินหรือม่วงคราม อับเรณูมี 6 อัน ซึ่ง 4 อันเป็นหมันจะมีสีเหลืองสด แต่อีก 2 อันไม่เป็นหมันจะมีสีม่วงคราม ยอดเกสรเพศเมียสีม่วงคราม ก้านเกสรเพศเมีย (style) และก้านชูอับเรณู (filament)สีม่วงอ่อนใส ขยายพันธุ์ด้วยลำต้นและเมล็ด ออกดอกช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ประโยชน์
เป็นอาหารสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม กระบือ ภาคเหนือใช้รับประทานเป็นผัก เป็นสมุนไพร ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ลำต้นเป็นส่วนผสมต้มน้ำดื่ม แก้ไอมีน้ำมูกข้น ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว ใช้ใบ ทั้งต้น ตำคั้นน้ำทา แก้โรคผิวหนังผื่นคัน หูด ปวดหู หูอื้อ รักษาแผลสด แผลถลอก ห้ามเลือด
คุณค่าทางอาหาร
มีโปรตีน 16.8 – 19.6 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.31 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 4.4 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.6 6.5 เปอร์เซ็นต์ ADF 31.5 – 3 5.4 เปอร์เซ็นต์ NDF 42 – 51.1 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 8.1 – 9.8 เปอร์เซ็นต์ DMD 59.7 – 68.3 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag) ธาตุเหล็ก 587 พีพีเอ็ม ไนเตรท 136 พีพีเอ็ม และออกซาลิกแอซิด 913 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
วิธีการปลูก:
พืชชนิดนี้ สามารถนำมาปลูกได้ง่าย เพราะว่าเป็นพืชล้มลุก ที่สามารถเกิดขึ้นมาได้ ทุกสภาพของดิน ได้เป็นอย่างดี มากเลย วิธีการในการขยายพันธุ์ โดยการใช้ ต้นของผักปราบ นำมาแยกออกไป เพื่อที่จะนำปลูกชำ แต่จะเกิดขึ้น มากได้ไม่ยาก
ส่วนที่นำมาใช้ เป็นยาใช้ได้ทั้งต้น
สรรพคุณทางยาไทย
ต้นผักปราบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ โดยวิธีการ นำมาล้างให้สะอาด จากนั้น นำเอาผักปราบ ที่ล้างแล้วนำไปตากให้แห้ง เพื่อสามารถ เก็บเอาไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้อีก
ช่วยในการแก้อาเจียน ได้เป็นอย่างดี โดยการเอาต้นผักปราบแห้ง หรือผักปราบสดมาต้มน้ำ นำมาดื่ม เพื่อช่วยในการลดอาการอาเจียนได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
– โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
– ตำราเเพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม โดย กองการ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน