พืชผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองท้องถิ่น ที่นำมาบริโภคกันในท้องถิ่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือนำมาปลูกไว้เพื่อสะดวกในการเก็บมาบริโภค ผักพื้นบ้าน จึงมีชื่อเฉพาะในแต่ละท้องถิ่นและมักนำไปประกอบอาหารตามท้องถิ่นนั้น ๆ
ผัก ถือเป็นอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์ เพราะนอกจากผักจะเป็นอาหารที่ให้ สารอาหารวิตามิน เกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับร่างกายแล้ว ผักเป็นยาช่วยป้องกันและรักษาโรคร้ายๆที่ไม่อาจจะรักษาได้ด้วยยาสมัยใหม่หลายโรคทีเดียว
ผักที่เราบริโภคแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ผักจีนหรือผักพันธุ์จากต่างประเทศ อีกชนิดหนึ่งก็คือผักพื้นบ้านของไทย
ผักพื้นบ้านนี้ มิได้มีเฉพาะที่เป็นพืชล้มลุก แต่ผักพื้นบ้านยังรวมความไปถึง ส่วนต่างๆ ของพืชทั้งที่เป็นไม้ยืนต้น ที่มักใช้ยอดพืช ผล ดอก ใบ เป็นอาหาร ไม้เลื้อย ไม้เถา ไม้พุ่ม หรือแม้แต่หญ้าและวัชพืชเราก็นำมาเป็นอาหาร และที่สำคัญ ผักพื้นบ้านเป็นผักที่แข็งแรง ไม่จำเป็นต้องใช้ สารเคมีจึงยิ่งทำให้เราลดความเสี่ยงต่อการบริโภคผักที่ปนเปื้อนสารเคมีไปได้อีก
ผักพื้นบ้าน หมายถึง พรรณพืชผักพื้นบ้านหรือพรรณไม้พื้นเมืองในท้องถิ่น ผักพื้นบ้านมี ชื่อเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น และนำไปประกอบเป็นอาหารพื้นเมืองตามกรรมวิธีเฉพาะของท้องถิ่น โดยตัวของผักของพื้นบ้านเอง มีคุณค่าในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับชาวบ้าน
ผักพื้นบ้านในประเทศไทยแบ่งเป็น 5หมวด
- หมวดใบและยอด เช่น ยอดโศก,ยอดแต้ว,ใบเปราะ,ใบชะคราม
- หมวดหัวและราก เช่น เผือก,กลอย,หัวบังเผื่อน,ข่าหลวง,รากสามสิบ
- หมวดดอก เช่น ดอกขจร,ดอกโสน,ดอกมะรุม,ดอกสาหร่าย,หัวปลี,ดอกนุ่น
- หมวดฝัก เช่น ฝักเพกา,ฝักมะรุม
- หมวดผล เช่น มะเขือยาว,มะเขือละโว้,แตงร้าน,ฟักข้าว,มะอึก
ผักพื้นบ้านแบ่งตามภาค 4 ภาค ดังนี้
- ผักพื้นบ้านภาคเหนือ เช่น กระทือ ผักหวานบ้าน พริกหนุ่ม ฟักแม้ว
- ผักพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ผักแพว ผักแขยง ผักพาย ผักไผ่ ผักแว่น
- ผักพื้นบ้านภาคกลาง เช่น ตำลึง บวบ มะขี้นก
- ผักพื้นบ้านภาคใต้ เช่น สะตอ ผักกูด ผักมันปู
ผักพื้นบ้านจำแนกตามแหล่งที่มาของพืชผักพื้นบ้าน
- เทือกเขา,ป่าดง,ป่าละเมาะ,แพะ,ป่าเหล่าเป็นประเภทไม้ป่าส่วนที่คนนำมาบริโภคเป็นผักมักเป็นยอดไม้ลูกไม้หน่อต้นอ่อน
- ไร่ส่วนเช่นพืชผักที่ขึ้นตามธรรมชาติและพืชผักที่ปลูกแซมตามไร่ข้าวสวนยางเช่นสะตอ,เหมียง,ฟักแฟง,ถั่วต่างๆ
- ทุกนา,หนอง,คลอกบึงส่วนใหญ่เป็นพืชน้ำที่มักเกิดเองตามธรรมชาติเช่นผักแว่น,ลำเพ็ง,ผักกูด,บอน,สันตะวา,อีฮิน
- สวนครัวผักริมรั้วได้แก่ผักปรุงรส,ผักกินยอดเช่นสะระแหน่,โหระพา,เซียงดา,ผักฮ้วนหมู,ผักชี,ย่านาง
ปัจจุบันสำหรับในประเทศไทยกองพฤกษศาสตร์กรมวิชาการเกษตร
ได้ทำการศึกษาและรวบรวมราขชื่อพืชผักพื้นบ้านในแต่ละภาค(ยกเว้นภาคกลาง)พบว่าพืชผักมีมากมายหลายร้อยชนิดโดยได้ จำแนกลักษณะทางอนุกรมวิธานและเก็บตัวอย่างพืชไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชและผลการสำรวจปริมาณของพืชผักมาบริโภคกันมาก ในภาคเหนือมีจำนวน 120 ชนิด,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ130ชนิด,ภาคใต้มีจำนวน158ชนิดพืชผักเหล่านี้ส่วนใหญ่ จะนำยอดอ่อน,ดอก,ผล, เมล็ดใสใช้บริโภค และได้มีการจำแนกพืชผักที่บริโถคเหล่านี้ออกเป็นกลุ่มผักสด,กลุ่มผักสุกโดยการต้ม, นึ่งหรือเผาและกลุ่มผักสุกโดยการแกง,ผัดและการสำรวจพืชผักพื้นเมืองไทยในจังหวัดอุดรธานีโดยเน้นพืชผักที่ขึ้นเอง
ตามธรรมชาติและประชาชนนำมาบริโภคเป็นอาหารพบว่ามีจำนวนถึง 120 ชนิดสามารถนำมาตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์ ตามวิธีอนุกรมวิธานได้ 86 ชนิดในจำนวนนี้เป็นพืชที่อยู่บนนก 73 ชนิดในน้ำ 13 ชนิดและพืชผักเหล่านี้มีการนำมาจำหน่ายในตลาด 50 ชนิดที่เหลือนอกจากนั้นจะได้บริโภคก็ต่อเมื่อเข้าไปในป่าการจำแนกตามวิธีรับประทานจะเป็นผักสด52ชนิดทำให้สุกโดยการลวกนึ่งต้ม 42 ชนิด ส่วนใหญ่นิยมรับประทานสดเพราะบริโภคนิสัยเป็นแบบนี้และถือว่าเป็นการประหยัดรายจ่าย ไม่เสียเวลาปรุงแต่ง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือมีพืชผักจำนวน 24 ชนิดที่พบว่ามีสารออกศ่เลตสูง ซึ่งหากรับประทานสด หรือรับประทานสดหรือรับประทานจำนวนมากอาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วได้ตัวอย่าง พืชผักเหล่านี้ได้แก่หมากลำ,ผักหม,
ผักกระโดนน้ำ,กระโดนบก,ผักเลนเคด,ผักติ้ว,ผักเม็ก,ผักหวานป่า,ผักอีเลิด,ผักคาด
คุณค่าทางโภชนาการของผักพื้นบ้านไทย
สารอาหารที่พบมากในผักพื้นบ้าน สำคัญๆได้แก่พวกแร่ธาตุและวิตามิน ซึ่งมีประโยชน์ คือ ช่วยให้อวัยวะต่างๆของร่างกายทำงานได้ตามปกติ แร่ธาตุและวิตามิน สำคัญ มีดังนี้
- แคลเซียม ร่างกาย มีแคลเซียมมากกว่าแร่ธาตุชนิดอื่นๆถ้าคิดโดยน้ำหนักแล้วแคลเซียมในร่างกายมีอยู่ประมาณร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกาย
- ฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน 85-90% มีอยู่ทั่วไปร่างกายที่มีแคลเซียมสูง มักจะเป็นแหล่งของธาตุฟอสฟอรัสด้วย
- ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบของเมล็ดแดง ที่เรียกว่าฮีโมโกลบิน ซึ่งจะเป็นตัวพาออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง การขาดธาตุเหล็กได้ผักพื้นบ้านที่มีธาตุเหล็กมากได้แก่ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักใบแมงลัก ใบกระเพรา ผักยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง
- วิตามินชนิดต่างๆ
ผักพื้นบ้านอาหารต้านโรคร้าย
ผักพื้นบ้านมีคุณสมบัติหลายประการที่เหมาะทั้งการป้องกันทั้งช่วยรักษาโรคความเสื่อมของร่างกาย เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้
- อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สีที่เขียวและรสที่ฝาดของผักพื้นบ้านจะมีสารต้าน อนุมูลอิสระสูงมากมีทั้งวิตามิน เบต้า-แคโรทีน และวิตามินซี
- ผักที่มีเบต้า-แคโรทีนสูง เช่น ยอดแค ใบกะเพราะ ใบขี้เหล็ก แครอท
- ผักที่มีวิตามินสูง เช่น ใบยอ ใบย่านาง ยอดและใบตำลึง ผักแพว ผักชีลาว ใบกระเจี๊ยบ
- ผักที่มีวิตามินซีสูง เช่น ดอกขี้เหล็ก ใบเหมียง ผักหวาน
สารผักและสารสมุนไพรวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีการค้นพบสารกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ” สารผัก” ( phytonutrient) เป็นสารที่ไม่ได้ทำหน้าที่แบบอาหาร 5 หมู่ แต่เข้าไปทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นภูมิต้านทาน ป้องกันไม่ให้เซลล์กลายพันธุ์เป็นมะเร็ง เช่น คาโรทีนนอยด์ ฟลาโวนอยด์ โปรแวนไทรไชยานิดินคาเตซินเทอร์ปีน
ผักพื้นบ้านต้านโรคมะเร็ง
- ใยอาหาร มีบทบาทสำคัญในการจับกับสารก่อมะเร็ง ทำให้ความเป็นพิษมีความเจือจางลง เมื่อร่างกายไม่ต้องสัมผัสกับสารก่อมะเร็งเป็นเวลานาน ย่อมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิดไปโดยปริยาย วิตามิน A B C และเบตาแคโรทีน หน้าที่ต้านมะเร็งที่สำคัญ คือเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ จับกับตัวก่อโรคคืออนุมูลอิสระ แร่ธาตุสำคัญ ลดความเสี่ยงมะเร็ง ได้แก่ เซเลเนียมลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอด กระเพาะอาหาร ตับไธรอยด์
- สารสำคัญต้านมะเร็งอื่นในพืชได้แก่ สารกลุ่มอัลเลี่ยมในหอม กระเทียมลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร สารไอโซฟลาโวกับมะเร็งเต้านม สารโพลีฟีนอลกับมะเร็งปอดและมะเร็งลอดอาหาร สารกลูโคชิโนเลทและอินโดล ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
อาหารจากพืชลดความเสี่ยงมะเร็งชนิดต่างๆ
- ผัก ผลไม้ มีใยอาหารวิตามิน แร่ธาตุและสารออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพ เช่นแคโรทีนอยด์ ลดความเสี่ยงมะเร็งในช่องปากกล่องเสียง หลอดอาหาร ปอดกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เต้านม อาจลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก รังไข่
- เมล็ดธัญพืช ได้แก่ เมล็ดข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟาง ข้าวบาร์เลย์ ประกอบด้วยแป้ง 70% ใยอาหาร โปรตีน วิตามิน B E ธาตุเหล็ก ธัญพืชที่ไม่ขัดสีลดความเสี่ยงของมะเร็ง กระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่ได้
- เครื่องเทศ มีสารสำคัญ คือ แคโรทีนอยด์ วิตามิน C กระเทียม อาจลดความความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหาร ขมิ้น มีสารเคอคิวมินเป็นสารสำคัญต้านมะเร็ง และต้านการทำลาย DNA ขิง พบว่าน้ำมันมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง ลดการจับทำลาย DNA พริกไทย ต้านมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ พริก มีสารสำคัญคือ แคบไซซิน มีทั้งก่อมะเร็งและต้านมะเร็งเห็ด เห็ดที่บริโภคเป็นอาหาร เช่น เห็ดหอม มีสารเลนติแนนที่เชื่อว่าเป็นสารต้านมะเร็ง เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เบต้า-กลูแคน คุณสมบัติต้านมะเร็ง
- ชา กาแฟ มีสารสำคัญเฟลโวนอย และฟีนอลที่คิดว่าเป็นสารสำคัญต้านมะเร็ง ชาเขียวอาจลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะ แต่กาแฟเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก คือ ไม่ดื่มร้อนจัดจนทำลายเซลล์เยื่อบุในช่องปาก และ หลอดอาหารและเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งมากขึ้น
แนวกินผักพื้นบ้าน
- ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) เจ็บป่วยด้วยธาตุไฟควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสขม เย็น เปรี้ยว และจืด เช่น ผักหนาม ขี้เหล็ก มะขาม ตำลึง
- ฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) เจ็บป่วยด้วยธาตุลม ควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสสุขุม รสเผ็ดร้อน เช่น กระเจี๊ยบแดง หอมแดง แมงลัก
- ฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม) เจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ ควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสขม ร้อน และเปรี้ยว เช่น สะเดา ข่าอ่อน พริกไทย ผักแพว
แนวทางบริโภคผักพื้นบ้านตามลักษณะสีผิวกายและโลหิต
- คนผิวขาว โลหิตมีรสหวาน ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านรสเผ็ด ร้อน ขม
- คนผิวขาวเหลือง โลหิตมีรสเปรี้ยว ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านรสเค็ม
- คนผิวคำแดง โลหิตรสเค็ม ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านได้ทุกรสยกเว้นรสเค็ม
- คนผิวดำ โลหิตมีรสเค็มจัด และเย็นจัด ควรเลือกรับประทานผักพื้นบ้านรสหวาน
แนวทางการบริโภคผักพื้นบ้านตามอายุ
- ปฐมวัย (อายุแรกเกิดถึงอายุ 16 ปี) เป็นช่วงอายุทำให้เกิดโรคทางธาตุน้ำ ควรรับประทานผักพื้นบ้านรสขม และเปรี้ยว
- มัชฌิมวัย ( อายุ 16 ถึง อายุ 32 ปี) เป็นช่วงอายุทำให้เกิดโรคทางธาตุไฟ ควรรับประทาน ผักพื้นบ้านรสเย็น และจืด
- ปัจฉิมวัย (อายุมากกว่า 32 ปีขึ้นไป) เป็นช่วงอายุทำให้เกิดโรคทางธาตุลม ควรรับประทานผักพื้นบ้าน รสเผ็ดร้อน รสสุขุม (รสไม่ร้อนไม่เย็น) แนวทางการบริโภคผักพื้นบ้านตามกาลเวลา
คุณค่าทางโภชนาการของผักพื้นบ้าน
คุณค่าของผักพื้นบ้านมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ในอดีตคนไทยมีการบริโภคผักพื้นบ้านในชีวิตประจำวันโดยนำมาปรุงเป็นอาหารหรือ นำมาแปรรูปเก็บไว้ยามขาดแคลน ซึ่งในผักพืชบ้านประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีความจำ เป็นต่อร่างกาย ดังนี้
1. ใยอาหาร (Dietary Fibre)
ใยอาหาร หมายถึง ส่วนประกอบของพืชที่รับประทานได้ และคาร์โบไฮเดรตประเภทเดียวกันที่ไม่ถูกย่อยและไม่ดูดซึมในลำไส้เล็กของ มนุษย์ แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งใยอาหารนั้นมีชนิดที่ละลายน้ำ และชนิดที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ชนิดที่ละลายน้ำได้แก่เมล็ดแมงลัก ส่วนชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ เสี้ยนของผักคะน้า เป็นต้น
การบริโภคพืชผักพื้นบ้านที่มีใยอาหารจะช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระ ช่วยในการขับถ่ายทำให้ ท้องไม่ผูก ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้
ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใยอาหาร 25 กรัม (ก.) ต่อวัน การบริโภคใยอาหารมากกว่า 50 กรัมต่อวัน อาจขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิดได้เช่น แคลเซียม
2. แร่ธาตุ (Mineral)
ในพืชผักพื้นบ้านมีแร่ธาตุ แคลเซียม ฟอสฟอรัสและเหล็ก ซึ่งปริมาณขึ้นอยู่กับพืชผักพื้นบ้าน แต่ละชนิด ดังนี้
- แคลเซียม ( Calcium : Ca) เป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยควบคุมการทำงานของหัวใจ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ คนเราจึงจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมจากอาหาร ซึ่งแคลเซียมมักมีอยู่มากในอาหารจำพวกนม ปลาตัวเล็กที่รับประทานทั้งก้าง ในขณะเดียวกันก็มีในผักพื้นบ้านอีกด้วย ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคแคลเซียม ผู้ใหญ่ อายุ 19-50 ปี ควรบริโภค 800 มิลลิกรัม( มก.) ต่อวัน ส่วนผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปควรบริโภค 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน การรับประทานพืชผักพื้นบ้านทำให้เราได้รับแคลเซียมอีกทางหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันพืชบางชนิด เช่น ใบชะพลู มีปริมาณออกซาเลต(oxalate)ค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมากๆและติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดนิ่วในไตหรือ กระเพาะปัสสาวะได้
- ฟอสฟอรัส (Phosphorus : P) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อชีวิต มีบทบาทสำคัญคือเป็นส่วนประกอบของกระดูกโดยรวมตัวกับแคลเซียม และเป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่ควรบริโภค 700 มิลลิกรัมต่อวัน
- เหล็ก (Iron : Fe) เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็กทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่เพศชายให้บริโภค 10.4 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเพศหญิงให้บริโภค 24.7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งธาตุเหล็กก็มีอยู่ในพืชผักพื้นบ้านหลากหลายชนิด
3. สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)
อนุมูลอิสระหรือประจุอิสระ (Free radical) คือ สารที่มีอะตอม/หมู่อะตอม/โมเลกุลที่มีอิเลคตรอนเดี่ยวจึงเกิดความไม่คงตัว ต้องแย่งอิเลคตรอนจากโมเลกุลข้างเคียง ทำให้เกิดความเสื่อมสลายเซลล์เป็นบริเวณกว้าง ร่างกายของคนเราได้รับอนุมูลอิสระทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมลพิษต่าง ๆ จากอากาศ อาหาร ที่มีสารเคมีปนเปื้อน ภายในร่างกายเองก็เกิดความเครียด อนุมูลอิสระในขนาดที่พอดีจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีใน เซลล์ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว แต่ถ้ามีมากเกินไปทำให้เกิดความเสื่อมของร่างกายอาจถึงรหัสพันธุกรรม ทำให้การแบ่งเซลล์ผิดปกติเป็นสาเหตุของมะเร็ง ในพืชจะมีการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อความอยู่รอด ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติ ได้แก่ เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอีที่มีในผักผลไม้ ผักพื้นบ้านที่มีสารต้านอนุมูลอิสระมีดังนี้
- เบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) เบต้าแคโรทีน จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์สามารถเปลี่ยนรูปเป็นเรตินอลได้ในทางเดินอาหาร เชื่อว่า แคโรทีนอยด์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- วิตามิน (Vitamin) ในผักพื้นบ้านมีวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ และวิตามินซี
– วิตามินเอ (Vitamin A) มีความสำคัญต่อการมองเห็น การเจริญเติบโตของเซลล์ ระบบภูมิคุ้มกัน และการสร้างเม็ดเลือด ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่เพศชายควรบริโภค 700 ไมโครกรัมต่อวัน เพศหญิงควรบริโภค 600 ไมโครกรัมต่อวัน
– วิตามินซี (Vitamin C) มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์คอลลาเจน คาร์นิทีน สารเหนี่ยวนำกระแสประสาท เพิ่มภูมิต้านทานและช่วยในการดูดซึมเหล็ก มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ผู้ใหญ่เพศชายควรรับประทาน 90 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเพศหญิงควรรับประทาน 75 มิลลิกรัมต่อวัน
- ผักพื้นบ้านชนิดใดที่สามารถรับประทานสดได้ควรรับประทานสด แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ความร้อนในการปรุงอาหารควรใช้ในเวลาสั้นๆ เพื่อลดการสูญเสียวิตามินซี
4. โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ( Protien and Carbohydrate)
นอกจากนั้นในผักพื้นบ้านยังมีสารอาหารประเภทโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อีกด้วย ซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบโครงสร้างของร่างกาย มีหน้าที่ช่วยในการเจริญเติบโต คาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน
- สารอาหารประเภทโปรตีน จะมีมากในเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว แต่ในขณะเดียวกันผักพื้นบ้านก็มีโปรตีนเช่นกัน แต่จะมีปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณโปรตีนที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ผู้ใหญ่เพศชายให้บริโภค 700 ไมโครกรัมต่อวัน ผู้ใหญ่เพศหญิงให้บริโภค 600 ไมโครกรัมต่อวัน
- สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานหลัก โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม เมื่อถูกเผาผลาญในร่างกายจะให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรี่ หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตช่วยสร้างไกลโคเจนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำรองของตับ และกล้ามเนื้อ อาหารที่มีสารอาหารจำพวกคาร์ไบไฮเดรตมาก ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน แต่ผักพื้นบ้านบางชนิดก็มีสารอาหารคาร์โบไฮเดรตอยู่เช่นกันจากข้อมูลทั้งหมดสนับสนุนว่า พืชผักพื้นบ้านของไทยมีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพเป็นอย่าง มาก มีทั้งใยอาหารเพื่อช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย มีสารอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี เป็นต้น จะเห็นได้ว่าผักพื้นบ้านหลายชนิดที่มีคุณค่าทางโภชนาการในหลายๆด้าน และมีปริมาณสารอาหารสูง ซึ่งถ้าเราบริโภคผักพื้นบ้านแม้เพียงชนิดเดียวหรือในปริมาณเล็กน้อยก็สร้าง คุณค่าทางโภชนาการได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้มีผักพื้นบ้านหลายชนิดที่สามารถปลูกเพื่อการค้าและส่งออกไปจำหน่าย ยังต่างประเทศ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
ผักพื้นบ้านและอาหารเพื่อสุขภาพ
- ปรับธาตุด้วยผักพื้นบ้าน
- บรรพบุรุษไทยได้ผสมผสานองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างกลมกลืนเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เช่น การรับประทานอาหาร ได้มีการจัดอาหารตามธาตุเจ้าเรือน จากความหลากหลายของพืชผักและสมุนไพรไทยทำให้อาหารแต่ละพื้นบ้านของไทยจึงมีหลากหลายรสชาติ และสามารถปรับใหม่สอดคล้องกับธาตุจ้าเรือนได้อย่างสอดคล้อง เช่น แกงส้มมีรสเปรี้ยว บำรุงธาตุน้ำ แกงเลียง แกงแค มีรสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุลม หรือเมี่ยงคำเป็นอาหารปรับธาตุชั้นหนึ่ง เพราะมีเครื่องปรุงหลายอย่าง เช่น ใบชะพลู มะนาว พริก หอม ขิง มะพร้าว ถั่ว น้ำตาล กุ้งแห้ง สามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละคน หรือยำผักพื้นบ้าน 4 ธาตุ ที่รวบรวม ผัก4 ธาตุ หลากหลายชนิด
ยำผักพื้นบ้าน 4 ธาตุ
เป็นการนำผักพื้นบ้านแต่ละธาตุ ซึ่งมีหลากหลายรสชาติมารวมกัน คือ
- ธาตุดิน รส ฝาด หวาน มัน เค็ม
- ธาตุน้ำ รส เปรี้ยว
- ธาตุลม รส เผ็ดร้อน
- ธาตุไฟ รส ขม เย็น จืด
ทำให้เป็นอาหารปรับธาตุชั้นหนึ่งเช่นเดียวกัน เพราได้ใส่ผักพื้นบ้านแต่ละธาตุรวมอย่างน้อย 30 ชนิด รสชาติที่ผสมผสานกลมกล่อม และอุดมด้วยสารเส้นใย วิตามินเอ ซี อี แคลเซียม ฯลฯ ซึ่งมีประโยชน์ในการ ช่วยรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคผัวใจเบาหวาน ลมไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น
ตัวอย่างผักพื้นบ้าน 4 ธาตุที่ใส่ในยำผักพื้นบ้าน
ธาตุดิน
ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุดิน เป็นผักที่มี รสฝาด หวาน มัน เค็ม เช่น มะขามป้อม สมอไทย ฝรั่ง แครอท ทองหลาง กระโดน ถั่วพู ผักฮาก ฟักทอง ยอดเม็ก ถั่วฝักยาว เป็นต้น
- แครอท รสหวาน มีเบต้าแคโรทีน และสารเส้นใยสูง ต้านอนุมูลอิสระ
- กระโดน ใบรสฝาด แก้ท้องร่วง สมานลำไส้
- ฟักทอง ผล รสหวาน มัน บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร มีเบต้าแคโรทีนสูง ต้านอนุมูลอิสระ
- ยอดเม็ก รสฝาด แก้ท้อง อืด
- ถั่วฝักยาว รสมัน แก้ท้องอืด บำรุงไต
ธาตุน้ำ
ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุน้ำเป็นผักที่มี รสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะดัน มะกอก ติ้ว มะนาว มะเขือเทศ มะเฟือง ตะลิงปลิง เป็นต้น
- มะม่วง ใบ รสเปรี้ยว แก้ระดูเสีย กัดเสมหะ ขับฟอกโลหิต แก้หวัด ระบายท้อง
- มะกอก ใบ รสเปรี้ยวอมฝาด แก้โรคธาตุพิการ แก้บิด สารเส้นใบสูง ลดความดันโลหิต และ ไขมันในเลือด
- ติ้ว ใบ รสเปรี้ยว มีเบต้าแคโรทีนสูง รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ
- มะนาว ผล รสเปรี้ยว ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ขับเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ
ธาตุลม
ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุลม เป็นผักที่มี รสเผ็ดร้อน เช่น กะเพรา กระชาย ยี่หร่า โหระพา หูเสือ ชะพลู ข่าอ่อน ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ขิง ตะไคร้ ผักไผ่ ผักคราดหัวแหวน สะระแหน่ เป็นต้น
- กะเพรา ใบรสเผ็ดร้อน ขับลม แก้ปวดท้อง แก้คลื่นเหียน อาเจียน มีเบต้าแคโรทีนสูง ต้านอนุมูลอิสระ
- กระชาย ราก รสเผ็ดร้อน ขับปัสสาวะ แก้บิดมูกเลือด ลดความดันโลหิต
- ยี่หร่า ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน ขับลม
- โหระพา ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลม วิงเวียน ขับเสมหะ
- ชะพลู ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ มีวิตามินเอสูง ต้านอนุมูลอิสระ
- ข่าอ่อน เหง้าอ่อน รสเผ็ดร้อน แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ
- ผักชีฝรั่ง ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน ขับลม
- ขิง เหง้าอ่อน รสเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน กระตุ้นภูมิ ต้านทาน
- ตะไคร้ ทั้งต้น รสเผ็ดร้อน แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ลดความดันโลหิต ต้านอนุมูลอิสระ
- ผักชีลาว ยอดอ่อน รสเผ็ดหอมฉุน แก้ไข้ มีวิตามิน เอ และซีสูง รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ความ ดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ
- ผักไผ่ ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน มีวิตามันซีสูง รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
ธาตุไฟ
ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุไฟเป็นผักที่มี รสขม เย็น จืด เช่น มะละกอ บัวบก กะหล่ำปลี ผักเป็ดน้ำ ผักกาดหอม เป็นต้น
- มะละกอ ผลดิบ รสจืด ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ขัดปัสสาวะ ขับพยาธิ
- บัวบก ใบ รสขม มัน รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดความดันโลหิต มีวิตามิน เอ และแคลเซียมสูง ต้านอนุมูลอิสระ
- ผักเป็ดน้ำ ยอดอ่อน รสจืดเย็น แก้วัณโรค ไอเป็นเลือด ต้านอนุมูลอิสระ
- ผักกาดหอม ใบอ่อน รสเฝื่อนเย็น ช่วยทำให้นอนหลับ แก้ไข้ แก้ไอ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ
- กะหล่ำปลี ใบอ่อน รสจืด ดับพิษ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
วิธีทำยำผักพื้นบ้าน 4 ธาตุ
- ล้างผักทุกอย่างให้สะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
- หั่นหรือซอยผักแต่ละชนิดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
- คั่วงาดำ งาขาว โปรตีนเกษตร พริกขี้หนูแห้ง ให้หอม
- คลุกเคล้าผักแต่ละชนิดให้เข้ากัน โรยงาขาว งาดำ โปรตีนเกษตรที่คั่วแล้ว เติมน้ำยำบีบมะนาว คลุกเคล้าให้เข้กันอีกครั้ง แล้วชิมรสตามชอบ
ส่วนประกอบน้ำยำผัก
- น้ำตาลทรายแดง 5 กก.
- น้ำสะอาด 4 ลิตร
- น้ำมะนาว 3 ขวด
- เกลือ 2 ถุง
- เนื้อสับปะรดปั่น 1 ลูก
วิธีทำน้ำยำผัก
เคี่ยวน้ำตาลทรายแดง เกลือ เนื้อสับปะรดปั่น น้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู และน้ำสะอาด ให้เหนียวโดยใช้ไฟแรงพอเดือด แล้วจึงใช้ไฟอ่อน ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง ชิมรสตามชอบ ถ้าชอบรสเผ็ดอาจใส่พริกขี้หนูป่นด้วยก็ได้
เรียบเรียงโดย
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
สถาบันการแพทย์แผนไทย