ผักเสี้ยนผี ผักสมุนไพรมากสรรพคุณ

22 สิงหาคม 2558 สมุนไพร 0

ผักเสี้ยนเป็นผักสมุนไพรประเภทของดีราคาเยาอีกตัวหนึ่ง ที่น้อยคนจะรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และยังสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่รู้จักวิธีการนำมารับประทาน

ชื่อสามัญ :Wild Spider flower, Phak sian phee.
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cleoma viscosa Linn.
วงศ์ CLEOMACEAE
ชื่ออื่นๆ ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ) ผักเสี้ยนตัวเมีย ไปนิพพานไม่รู้กลับ

ลักษณะทางวิทยาศาสตร์
ผักเสี้ยนผีเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มี ขนาดเล็ก หรือจัดอยู่ในจำพวกหญ้า แตกกิ่งก้านสาขาตามลำต้นจะมีขนอ่อนสีเหลืองปกคลุมทั้งต้นและมีเมือกเหนียว ๆอยู่ภายในลำต้น ใบเป็นใบรวม ช่อหนึ่งจะมีใบอยู่ 3 – 5 ใบ ซึ่งจะออกสีเขียวอมเหลือง ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ เนื้อในบางนุ่ม ตามผิวใบจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมเช่นกัน มีกลิ่นฉุน กว้าง 0.5 – 1 นิ้ว ยาว 0.5 – 2 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาวแหลม ดอกมีสีเหลืองบาง ที่ปลายดอกมีจงอยแหลม และมีขนปกคลุมอยู่เล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว คล้ายฝักถั่วเขียว แต่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก ตรงปลายผลมีจงอยแหลม ผลกว้างประมาณ 2 – 4.5 มิลลิเมตร ยาว 1 – 4 นิ้ว เมล็ดเมล็ดในผลมี สีน้ำตาลแดง ผิวย่น ใน 1 ผล มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีรูปร่างกลม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร

pagseanpeetoom

สรรพคุณและวิธีใช้
ผักเสี้ยนมีน้ำมันหอมระเหย (Volatic Oil) ประกอบด้วย Cyanide ซึ่งจะมีผลระบบทางเดินโลหิต และสารไฮโดรไซยาไนด์ (Hydrocyanide) ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง และยังมีกลิ่นเหม็นเขียวอย่างแรง เด็กรุ่นใหม่พอเข้าใกล้ได้กลิ่นผักเสี้ยนก็มักจะไม่ชอบ จึงทำให้สูญเสียโอกาสที่จะเรียนรู้คุณประโยชน์และภูมิปัญญาที่ว่าทำไมคุณย่า คุณยาย รวมถึงคุณแม่ด้วยจึงชอบผักเสี้ยนดองนัก
ต้นใช้ปรุงเป็นยาแก้ฝีในปอดแก้ขับหนองในร่างกาย หรือให้หนองแห้ง แก้ฝีในลำไส้ ในตับ ขับพยาธิในลำไส้ได้ โรคข้ออักเสบ ทาภายนอกแก้โรคผิวหนัง
ใบนำมาพอกแก้ปวดหัวบดกับเกลือทาแก้ปวดหลัง และแก้ปัสสาวะพิการ
ผักเสี้ยนผีมีฤทธิ์ แก้ปวดเป็นยาชาเฉพาะที่ เสริมฤทธิ์การนอนหลับ ยับยั้งเชื้อ HIV

pagseanpee

ในตำรายาโบราณมักนำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด ยานวดตำรับนี้อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี จากกองทุนชีวกโกมารภัจจ์ แนะวิธีการหุงไว้ คือ ใช้ผักเค็ดเลือกเอาแต่ใบสด (วัชพืชที่มักขึ้นคู่กับผักเสี้ยนผี หน้าตาคล้ายผักเป็ดหรือคราดหัวแหวน) ใช้เพชรสังฆาตสด ตองตึง ผักเสี้ยนผี เลือกเอาแต่ใบสด นำไปเคี่ยวในน้ำกะทิ (เลือกเอาแต่หัวกะทิ) เคี่ยวนานประมาณ 6-7 ชั่วโมง จะได้น้ำมันสีเขียวใส จึงเรียกว่าน้ำมันเขียวมรกต สรรพคุณดีมาก นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก ถ้ามีอาการปวดหัวใช้ใบสดตำพอกที่
เมล็ดผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลัง

นอกจากนี้ นำผักเสี้ยนผีไปต้มเอาน้ำกระสายยาแก้ซางขึ้นทรวงอก ถ้ามีอาการปวดหัวใช้ใบสดตำพอกที่
เมล็ดผักเสี้ยนนำมาต้มหรือชงเป็นชาดื่มช่วยขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน ถ้ามีอาการปวดหลังให้ใช้ใบสดตำผสมเกลือทาแก้ปวดหลังในตำรายาโบราณมักนำผักเสี้ยนผีไปเข้าตำรับยารักษาอาการปวดเมื่อยหรือหุง ทำน้ำมัน ใช้สำหรับนวด ยานวดตำรับนี้อาจารย์เนตรดาว ยวงศรี จากกองทุนชีวกโกมารภัจจ์ แนะวิธีการหุงไว้ คือ ใช้ผักเค็ดเลือกเอาแต่ใบสด (วัชพืชที่มักขึ้นคู่กับผักเสี้ยนผี หน้าตาคล้ายผักเป็ดหรือคราดหัวแหวน) ใช้เพชรสังฆาตสด ตองตึง ผักเสี้ยนผี เลือกเอาแต่ใบสด นำไปเคี่ยวในน้ำกะทิ (เลือกเอาแต่หัวกะทิ) เคี่ยวนานประมาณ 6-7 ชั่วโมง จะได้น้ำมันสีเขียวใส จึงเรียกว่าน้ำมันเขียวมรกต
สมุนไพรรักษาอาการหูเป็นน้ำหนวกหรือมีเสียงในหู วิธีใช้ นำเอาใบผักเสี้ยนผี ๒-๓ ใบ ล้างให้สะอาดและใช้มือขยี้จนใบแตกจึงเอาไปปิดรูหูไว้ ใบผักเสี้ยนผีจะทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมากแต่ให้อดทนไว้ น้ำหนวกไหลออกมามากต้องเอาใบผักเสี้ยนออกและทำอีกหนจนน้ำหนวกไหลออกมาจนหมด ในที่สุดอาการเจ็บป่วยก็หายสิ้น
คำแนะนำ ใบผักเสี้ยนผีนี้ยังมีคนใช้กับอาการปวดหูอื่นๆ ได้ดีอีกด้วย

ประโยชน์ เมล็ดมีน้ำมันและกรด linoleicสูง รับประทานได้ในอินเดีย ใช้เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณเป็นยาพอกแก้ปวดหัวและปวดตามข้อในอินเดียและจีน

ตำรับยาเข้ายาแก้เหน็บชาตามแข้งขา ต้มผักเสี้ยนผีกับ ใบบัวบก มะขวิด กินเป็นประจำ

สูตรรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังได้คือ เอาแก่นต้นขี้เหล็กบ้าน 15 กรัมต้นผักเสี้ยนผี ไม่รวมราก15 กรัม และต้นแมงลัก ไม่รวมราก 15 กรัม ต้มรวมกันกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะยังอุ่น ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 4 ครั้ง
เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ต้มกิน 2-3 วัน ติดต่อกันแล้วเว้น 2-3 วัน จึงต้มกินอีก 2-3 ครั้ง อาการจะดีขึ้น ให้ต้มกินอีก 2-3 ครั้ง หรือต้มกินได้เรื่อยๆจนหายแล้วหยุดกิน มีอาการเมื่อไรต้มกินใหม่ได้

รักษาอาการพิษงูกัด ท่านให้เอา ต้นผักเสี้ยนผีทั้งห้า (เอาทั้งต้นตลอดถึงราก) นำมาล้างให้สะอาดตำให้ละเอียด ผสมกับ เหล้า คั้นเอาเฉพาะน้ำยา ใช้รับประทาน ใช้กากพอกที่ปากแผล มีสรรพคุณแก้พิษงูกัด ฯ อีกขนานท่านให้เอา ต้นผักกะเฉด ต้นผักคราด ต้นผักเสี้ยนผี ต้นผักชีใหญ่ ทั้ง ๔ อย่างนี้ เอาอย่างละเท่า ๆ กัน นำมาล้างน้ำ ให้สะอาด ตำให้แหลก ผสมกับ สุรา หรือ น้ำซาวข้าว เป็นกระสาย คั้นเอาน้ำยาประมาณ ๑ ถ้วยชา ใช้รับประทาน ใช้กากยาพอกที่ปากแผล มีสรรพคุณแก้พิษงูกัด แก้เลือดทำ ฯ ทั้งสองขนานนี้มีสรรพคุณแก้พิษงูกัดทุกชนิด แก้ได้ทุกกรณี แม้ผู้ถูกงูกัดนั้นจะสลบ หมดสติ แน่นิ่ง ไม่รู้สึกตัวแล้วก็ตาม ก็พึงช่วยกันงัดปากให้อ้าออก แล้วกรอกน้ำยาให้เข้าสู่ท้องให้ได้ ผู้ป่วยจะฟื้น ขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ฯ

รักษาริดสีดวงบานทะโรค

ผักเสี้ยนผีทั้งห้า กระเพราทั้งห้า แมงลักทั้งห้า ขอบชะนางแดงทั้งห้า แก่นขี้เหล็ก
ต้มดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยชา ผักกระชับ เปลือกยาง ปูนขาว น้ำปัสสาวะ ต้มรมปากทวารวันละ ๑ ครั้ง

รักษาเบาหวาน

แก่นขี้เหล็ก ผักเสี้ยนผี ขมิ้นอ้อย หัวแห้วหมู รากเจตมูลเพลิง อย่างละ ๕ บาท ฟ้าทะลายโจรเท่ายาทั้งหมดรวมกัน ตากแห้ง บดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอน ขนาดปลายนิ้วก้อย กินเช้า-เย็น ครั้งละ ๓ เม็ด หายแล

รักษาโรคเบาหวาน อีกขนาน

เถาบอระเพ็ด หัวแห้วหมู ขมิ้นชัน ผักเสี้ยนผี หนักเท่ากัน ตากแห้งบดผง ผสมน้ำผึ้งปั้นลูกกลอน หรือจะอัดแคปซูลก็ได้ รับประทานประจำเป็นยาอายุวัฒนะ ผมเคยปรุงยานี้อยู่ราว ๒ ปี มีสรรพคุณดีมากอยู่ รักษาได้ทั้งเบาหวาน และลดความอ้วน แต่ผมผสมเกสรผึ้งลงไปด้วย สูตรเดิมเป็นตำราลายแทงจากเมืองพิษณุโลก ให้ปริศนาไว้ว่า หึ่งอากาศ พาดยอดไม้ ไซร้ธรณี หนีสงสาร ไปนิพพานไม่กลับ หมอโบราณแต่ละท่าน แต่ละภาคมักตีความหมายไม่เหมือนกัน ที่แตกต่างกันจะเป็นหนีสงสาร บางท่านว่าหัวไพล บางท่านว่า ขมิ้นอ้อย บางท่านว่าขมิ้นชัน ตัวผมตีเป็นขมิ้นชัน เพราะพระใช้ขมิ้นชันย้อมจีวร บวชเพื่อหนีสงสาร

โรคอัมพาต อาการของผู้ป่วย
เมื่อเริ่มเป็นวันแรกจะรู้ตัวทันทีเมื่อเกิดขึ้นเวลา ใดก็แล้วแต่จะทำให้มึน ชา ตามัว ปากเบี้ยว สมองมึน งง และจะชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แขน ขา ถ้า ผู้ใดเป็นโรคนี้แล้วไม่ได้รับการรักษาแบบโบราณจะมี โอกาสหายยากหากร่างกายเป็นโรคนี้ในระยะ 1-3 วัน สามารถแก้ไขได้ทัน รักษาเพียง 7 วันก็หายแต่ถ้าเป็น โรคนี้นานจะต้องมีการจับเส้น จุดที่เกิดโรค อัมพฤกษ์ – อัมพาต พร้อมทั้งรับประทานยาต้มควบคู่กันไปด้วย

ลูกประคบแก้อัมพฤกษ์อัมพาตตำรับของจันทบุรี
ยานี้ประกอบด้วย

  1. หัวไพล
  2. หัวหอมเปราะ
  3. หัวว่านเหลือง
  4. ผักเสี้ยนผี
  5. ผิวมะกรูด
  6. ใบหนาด
  7. พิมเสน
  8. การบูน
  9. แมนทอล
  10. เหล้าขาว

วิธีปรุง

  1. หายาที่ต้องการเมื่อหาครบทุกอย่างแล้วควรหั่นแต่ละ สิ่งนั้น เอาอย่างละหนึ่งกำมือถ้าต้องการ ตัวยามากก็เพิ่มตามส่วนที่ต้องการ
  2. เมื่อนำมาหั่นเรียบร้อยแล้ว เอายารวมกัน แล้วนำมาโขลก หรือบดกับเครื่องบดยาก็ได้
  3. ยาที่บดเสร็จแล้ว นำมาผสมกับ (เหล้า-พิมเสน แมนท่อน) เหล้าขาว 2 แก้ว และการบูร
  4. เคล้ากันให้ทั่ว พอควรจึงบีบเอาน้ำยาไว้ เพื่อทาส่วนนอกของร่างกาย
  5. นำกากยาที่เหลือจากการบดคั้นเอาน้ำไว้ นำกากยามาใส่ที่ผ้าขาวบาง นำมานึ่งเพื่อต้องการความร้อน พออุ่นๆ ที่จะแตะผิวหนังได้ เวลาที่ทำควรนำลูกประคบ 2 ลูก เพื่อผลัดเปลี่ยนเวลารักษาจะได้ไม่เสียเวลา

เมื่อทำเช่นนี้แล้วยังมียาต้ม อบให้ผู้ป่วยได้ถ่าย เหงื่อร้ายในร่างกายที่ไม่ได้ออกกำลังกายในระยะที่ป่วย อยู่นั้น ให้หายป่วยเร็วขึ้น ถ้าใครได้รับการรักษาแผน โบราณนี้ จะมีโอกาสที่จะหายได้นักแล ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ตำราแพทย์แผนโบราณ อ.หนู วัด เขาจำปาง จ.จันทบุรี

pagseanpees pagseanpeehor pagseanpeedoks pagseanpeecho

ท่านกล่าวไว้ว่า ผึ้งอากาศ พาดยอดไม้ หงายธรณี ลูกทาส ลูกไทย พญาช้างดำ พระยาช้างเผือก บวชหนีสงสารไปนิพพานไม่กลับ
เฉลย ผึ้งอากาศ คือน้ำผึ้ง พาดยอดไม้ คือเถาบอระเพ็ด หงายธรณี คือหญ้าแห้วหมู
ลูกทาส คือเม็ดข่อย ลูกไทย คือพริกไทย พญาช้างดำ คือเปลือกตะโกนา พระยาช้างเผือก คือเปลือกถ่อน (ต้นทิ้งถ่อน) บวชหนีสงสาร คือขมิ้นหัวขึ้น (ขมิ้นอ้อย) ไปนิพพานไม่กลับ คือผักเสี้ยนผี
วิธี ทำ นำตัวยาทั้งหมดมาอย่างละเท่าๆ กัน ตากแห้งแล้วบดเป็นผง ปั้นผสมน้ำผึ้งเป็นเม็ดลูกกลอน
ขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วตากให้แห้งจึงเก็บได้นาน กินครั้งละ 1 2 เม็ด วันละ 1-2 ครั้ง

สูตรรักษาอาการปวดหัวเรื้อรังได้คือ เอาแก่นต้นขี้เหล็กบ้าน 15 กรัมต้นผักเสี้ยนผี ไม่รวมราก15 กรัม และต้นแมงลัก ไม่รวมราก 15 กรัม ต้มรวมกันกับน้ำจนเดือด ดื่มขณะยังอุ่น ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ วันละ 4 ครั้ง
เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ต้มกิน 2-3 วัน ติดต่อกันแล้วเว้น 2-3 วัน จึงต้มกินอีก 2-3 ครั้ง อาการจะดีขึ้น
ให้ต้มกินอีก 2-3 ครั้ง หรือต้มกินได้เรื่อยๆจนหายแล้วหยุดกิน มีอาการเมื่อไรต้มกินใหม่ได้

ยาแก้ลมเหน็บชามือเท้าตาย
โกฏทั้ง ๕ ชราทั้ง ๕ มหาหิงค์ ยาดำ ลูกกระวาน ดีปลี เจ็ตมุนทั้งสอง หัสคุณทั้ง ๒ ผักแพลแดง สมุลแว้งเปล้าทั้งสอง ขิงข่า คนทีสอ ก้านชา ใบมะกา ดอกจัน หนักสิ่งละ ๑ บาท ราชพฤกษ์ ๓ ฝัก ต้มกินจะหาย (ยาแก้เหน็บชามือเท้าตาย หากเป็นเพศหญิง ให้ต้มยาหน้า ๑ วรรค ๑ น้ำสักหม้อก่อน คือ ยาลมเลือด แล้วต้มยาเหน็บชาเป็นหม้อ ๒-๓ หม้อ)

ผักเสี้ยนผีทั้งห้า กระเพราทั้งห้า แมงลักทั้งห้า ขอบชะนางแดงทั้งห้า แก่นขี้เหล็ก
ต้มดื่มก่อนอาหาร เช้า-เย็น ครั้งละ ๑ ถ้วยชา ผักกระชับ เปลือกยาง ปูนขาว น้ำปัสสาวะ ต้มรมปากทวารวันละ ๑ ครั้ง

โบราณท่านว่าจะปลูกผักเสี้ยน เลือกเอาคืนเดือนมืด ลงไปบริเวณที่จะปลูก จะเตรียมดินก่อนหรือไม่ไ ม่สำคัญ เอาภาชนะอะไรก็ได้มา 1 ใบ จากนั้น แก้ผ้านุ่ง(ท่านว่าอย่างนี้จริงๆนะ)แล้วกระเดียดภาชนะออกไป ที่ ที่จะปลูก มือทำเป็นหยิบเมล็ดผักเสี้ยนออกจากภาชนะ แล้วหว่านออกไป ให้รอบๆ ปากก็ร้องว่าปลูกผักเสี้ยนจ้าๆ ไม่นานพอฝนตก จะมีผักเสี้ยนงอกขึ้นมาเอง เป็นเรื่องแปลก ท่านเลยว่า ผักเสี้ยนผี (สงสัยผีจะมาดู และช่วยปลูก)

ต้นผักเสี้ยนผี ปลูกไว้ช่วยๆกัน อย่าบอกเลยว่าหาง่าย หาจะใช้จริงๆไม่ง่ายเท่าไหร่หรอก สรรพคุณเหลือล้นใครเห็นแล้วก็จดจำ บันทึกเก็บไว้ใช้ได้ถึงชนร่นหลัง ก่อนที่ตำหรับยาทั้งหมด จะหายและตายไปพร้อมกับคนโบราณ

ที่มา
ตำราแพทย์แผนโบราณ อ.หนู วัด เขาจำปาง จ.จันทบุรี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น