ผักโขมหนาม ชื่อท้องถิ่นในภาคใต้เรียกว่า ผักโหมหนาม , แม่ฮ่องสอน และกะเหรี่ยง เรียกว่า กะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่ , เขมรเรียกว่า ปะตี ส่วนภาคกลางจะเรียกว่า ผักขมสวน เป็นพืชล้มลุก ในตำรายาไทย จะใช้ทั้งต้น ใบ และราก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amaranthus spinosus L.
ชื่อวงศ์ AMARANTHACEAE
ชื่ออื่น บะโด่(ลั้วะ), ด่อเร่น(ปะหล่อง), ผักโขมหนาม(คนเมือง) ผักโหมหนามกะเหม่อลอมี แม่ล้อกู่ ผักขมสวน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทั่ว ๆ ไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การใช้ประโยชน์
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ รากเผาไฟพอข้างนอกดำ จี้ที่หัวฝี ช่วยให้ฝีที่แก่แตก ทั้งต้น ผสมข้าวโพดทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้บวม ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แน่นท้องและขับน้ำนม มีรายงานวิจัยว่า ทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก รากต้านสารพิษที่ทำลายตับ พบรายงานจากประเทศบราซิลว่า พืชนี้เป็นพิษต่อวัว ควายและม้า ทำให้มีอาการเซื่องซึม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องเสียกลิ่นเหม็นมาก บางครั้งมีเลือดปนในอุจจาระ
ผักโขมหนาม หรือผักโหมหนาม ทั้งต้น แก้ตกเลือด แก้แน่นท้อง ขับน้ำ ขับปัสสาวะ ใบ ฟอกเลือด ฟอกแผล ราก ใช้รักษาอาการคันที่ผิวหนัง โดยการนำมาอาบ เป็นยาระบายสำหรับเด็ก ตำพอกปิดแผลที่เป็นหนอง แก้น้ำร้อนลวก
ข้อห้ามใช้ : สตรีที่มีครรภ์ หรือในขณะที่มีประจำเดือนห้ามรับประทาน
ที่มา
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.phppage=search_detail
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน