ผักโขม ผักเพื่อสุขภาพ

19 พฤศจิกายน 2557 พืชผัก 0

ผักโขมเป็นผักสุขภาพชั้นยอด ในใบผักโขมเป็นแหล่งวิตามินเอ วิตามินซี กรดแอมิโน และสารอาหารอื่น ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง นอกจากนั้น ในผักโขมยังมี เบต้าแคโรทีนสูง มีสารซาโปนินที่ช่วยลดคอลเลสเทอรอลในเลือดอีกด้วย ผักโขมยังมีเส้นใยอาหารมาก จึงช่วยระบบขับถ่าย และลดความเสี่ยง การเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ AmaranthusLividusLinn.
ชื่อสามัญ Chineses spinach
วงศ์ Amaranthaceae
ชื่ออื่นๆ ผักโขม(กลาง),ผักโหม,ผักหม(ใต้), ผักโหมเกลี้ยง(แม่ฮ่องสอน),กระเหม่อลอเตอ (กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ

  • ผักโขมเป็นพืชล้มลุกปีเดียวลำต้นสีเขียวตรงแตกกิ่งก้านสาขามากใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม ใบออกแบบสลัลกว้าง 2.5-8 ซม.ยาว 3.5-12 ซม.ขอบใบเรียบดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียวออกตามซอก ใบเมล็ดสีน้ำตาลเกือบดำ
  • ผักโขมหัดเป็นพืชล้มลุกสูงราว2ฟุตมีขนเล็กน้อยใบเขียวเข้มรียาวประมาณ4นิ้วปลายใบมนหลังในมีขน และรอยย่นก้านใบสั้นดอกเล็กสีน้ำเงินอมม่วง
  • ผักโขมหนามเป็นพืชล้มลุกปีเดียวลำต้นตรงเป็นเหลี่ยมหรือกลมผิวเรียบแตกกิ่งก้านมากใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ปลายใบแหลมออกสลัลกันก้านใบยายและมีหนามเกิดขึ้นตรงโคนก้านใบ1คู่ดอกเป็นดอกช่อสีเขียว อ่อนดอกย่อขนาดเล็กช่อดอกมีหนามแหลมแต่หนามเล็กกว่าต้นเมล็ดลีดำหรือสีน้ำตาล

pagkomdok

ผักโขมหนาม
มีหนามแหลมตามข้อยาว 1-3 เซนติเมตร ทั้งต้น แก้ตกเลือด แก้แน่นท้อง ขับน้ำ ขับปัสสาวะ ใบ ฟอกเลือด ฟอกแผล ราก ใช้รักษาอาการคันที่ผิวหนัง โดยการนำมาอาบ เป็นยาระบายสำหรับเด็ก ตำพอกปิดแผลที่เป็นหนอง แก้น้ำร้อนลวก เป็นยาแก้ตกเลือด แก้ฝี แก้ขี้กลาก เป็นยาขับน้ำนม แก้แน่นท้อง แก้พิษ แก้ช้ำใน แก้ไข้ ระงับความร้อน ใช้ในเด็กแก้ลิ้นเป็นฝ้าละออง เบื่ออาหารได้อย่างดี รับประทานเป็นผัก ลำต้น โดยลอกเปลือก และหนามออก ยอดอ่อนใช้แกงจืด ผัดน้ำมัน แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม ทั้งต้นย่างไฟ แก้ตกเลือด แน่นท้อง ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ในอินโดนีเซีย ใช้ฟอกเลือด พอกแผล อินเดียใช้ต้น ใบ และราก แก้อาการคันตามผิวหนัง เป็นยาระบายในเด็ก โขมหนามขมหนาม เป็นพืชในกลุ่มวัชพืช ขึ้นง่ายและขึ้นเองตามธรรมชาติ ก้านและลำต้นมีหนาม ใบเป็นสีเขียวใหญ่กว่าผักโขมแดง ส่วนที่ใช้เป็นยา ทั้งต้น

pagkomnam pagkomnamdok

ผักโขมจีน
มีคุณค่าทางอาหารสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใบและลำต้นขนาดใหญ่สีแดงสะดุดตา รสชาตดี สามารถปลูกไว้เพื่อประกอบอาหารและปลูกไว้เพื่อประดับสวนได้

pagkombai pagkomkaw pagkomkawbai

คุณค่าทางอาหารของผักโขมผักโขม

  • ผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเป้นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม ในคุณสุภาพสตรี
  • ผักโขมมีสาร ซาโปนิน(Saponin)ที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล ในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์
  • วิตามินเอในผักโขม ช่วยในการมองเห็น และช่วยบำรุงสายตา
  • วิตามินซี นอกจากในเรื่องป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ยังช่วยเสริมสร้าคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิว
    ในผักโขมนั้นอุดมไปด้วยเส้นใย จึงช่วยในระบบขับถ่าย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

pagkomdang

นอกจากผักโขมจะมีคุณค่าในด้านสารอาหารต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ผักโขมยังมีคุณค่าในด้านสมุนไพรไทยหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งตำราประมวลสรรพคุณยาไทย ของ สมาคมแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน ได้กล่าวถึงประโยชน์ด้านสมุนไพรไทยของผักโขมเอาไว้ดังนี้

  • ผักโขมหัด(น่าจะเป็นผักโขมบ้าน) ใช้รากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อนใน แก้ไข้ต่างๆ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เมื่อต้มเอาน้ำมาอาบ มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี
  • ผักโขมหนาม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ระงับความร้อน แก้ไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าในเด็ก

การนำผักโขมไปใช้ ประกอบอาหาร
แกงเลียงผักโขมถ้าจะให้พูดคงหลายเมนู ยกตัวอย่างที่เด็ดๆแล้วกันนะครับเช่น ผักโขมผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักโขมหมูบะช่อ สลักผักโขม ซุปผักโขม ยำผักโขม นำมาต้มจิ้มน้ำพริกต่างๆก็อร่อย นี่แค่อาหารไทย ถ้าใครไปทานในร้านพิซซ่า ก็จะเจอเมนูผักโขมอบชีส อันนี้ผมเคยลองแล้ว อร่อยไม่เบา อ้อลืมบอกในสมัยก่อน(จนถึงปัจจุบัน) นิยมทำแกงเลียงผักโขมให้แม่ที่พึงคลอดรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าช่วยบำรุงเลือดและ เรียกน้ำนม ซึ่งความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงเพราะในผักโขมอุดมด้วยธาตุเหล็ก จึงสามารถช่วยตรงนี้ได้

pagkompad

ผักโขม เป็นผักพื้นบ้านที่มีเส้นใยมากและอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เป็นผักที่ใช้ทานเพื่อบำรุงน้ำนมของคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกใหม่ๆ และการทานผักโขมยังสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์เป็นผักพื้นบ้านที่นำมาประกอบอาหารได้ทั้งเมนูอาหารไทยอย่างเช่น แกงเลียง ผัดน้ำมันหอย หรือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารฝรั่ง ซึ่งมีคำแนะนำในการปลูกดังนี้

คำแนะนำการปลูกผักโขมผักพื้นบ้าน

  1. ปลูกโดยใช้เมล็ด เป็นพืชที่ดูแลง่ายและปลูกได้ตลอดทั้งปี
  2. ผักโขมเหมาะสำหรับปลูกกลางแจ้ง โดยใช้วิธีหว่านเมล็ดห่างๆลงในแปลงดินแล้วคลุมทับด้วยฟางหมั่นรดน้ำให้ชุ่มทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
  3. หากต้องการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดควรปลูกให้มีระยะห่าง 40 ซม.x50 ซม.
  4. เมื่อผักโขมอายุได้ 20-25 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวขายได้เรื่อยๆ ช่วงนี้จะทานได้ทั้งต้นและใบ หากปล่อยให้แก่ก็สามารถเก็บใบและยอดอ่อนทานได้
  5. ควรใส่ปุ๋ยเมื่อผักโขมอายุได้ 30 วัน หรือ 50 วัน เมื่อขายไม่ทันหรือทานไม่หมดก็สามารถปลูกไว้เพื่อเก็บเมล็ดได้

pagkomkla

ผักโขมชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื่นขึ้นใต้ร่มเงาขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวลำต้นสีเขียว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พบทั่วไปในหลายพื้นที่ ขึ้นง่าย โตเร็ว ทนแล้งได้ดี ไม่ทนน้ำขัง ผักโขมบ้าน ผักโขมสวน และผักโขมจีน ชนิดที่คนนิยมกินและมีวางขายทั่วไปก็คือผักโขมจีนนั่นเองลำต้นอวบน้ำ สูง 1 2 ฟุต ใบอวบใหญ่ สีเขียวเข้ม

pagkompao pagkomplang

ที่มา
http://ไทยสมุนไพร.net/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%A1/

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น