ผักชายา นั้นอันที่จริงแล้วมันมีหลากหลายชื่ออย่างเช่น ผักไชยา ผักคะน้าเม็กซิโก ผักโขมต้น ผักชัยยะ ชายาแพลนท์ ฯลฯ แต่ด้วยความที่มันถูกใช้มาเป็นอาหารและยาของชนชาวมายาซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองของเม็กซิโกที่มีความรู้เรื่องศิลปะวิทยาการหลากหลายตามที่เราได้รู้กันมาบ้าง ผักชนิดนี้จึงได้รับความสนใจและนำไปสู่การศึกษาว่าผักชนิดนี้มันมีดีอะไร และจากการศึกษาวิจัยพบว่าผักชายามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า ทั้งๆ ที่ผักโขมก็ถือว่าเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่ทำไมมันจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานและยังไม่สูญหายไปจนถึงปัจจุบัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cnidoscolus aconitifolius
วงศ์ Euphorbiaceae
เชื่อกันว่าต้นชายามีแหล่งกำเนิดที่แหลม Yucatan ในประเทศเม๊กซิโก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวพบต้นชายาหลากหลายสายพันธุ์มากที่สุด และยังเป็นศูนย์การของอารายธรรมของชาวมายาแห่งหนึ่ง ชาวมายาใช้ต้นชายาในการทำอาหารมานานก่อนที่ชาวสเปนเข้าไปยึดครองดินแดนของพวกเขา ต่อเมื่อชาวตะวันตกจึงนำเอาต้นชายาไปทวีปต่างๆ แต่เนื่องจากต้นชายาไม่ค่อยจะออกดอก หรือเป็นเมล็ด โดยทั่วไปทำการขยายพันธุ์ทำโดยใช้การปักชำกิ่ง ทำให้การพกพาไปกับเรือเพื่อพาไปยังดินแดนใหม่ไม่สะดวกเหมือนพืชชนิดอื่นที่เอาไปแต่เมล็ดก็เพียงพอ (ไม่ต้องรดน้ำ หรือดูแลมากตอนอยู่ในเรือ) นี่อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้นชายาไม่ค่อยจะแพร่หลายจนเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในแถบอาเซียน
ลักษณะ
ผักยืนต้น ญาติกับสบู่ดำชนิดนี้ แหล่งกำเนิดมาจากคาบสมุทรยูคาตาน ในอเมริกากลาง แต่ตอนนี้คุณอาจพบได้ใน ภาคใต้ ภาคกลางและภาคเหนือของทวีปอเมริกา หรือแม้แต่เขมร (ในเขมรและแถบศรีสะเกษ มักเรียกเพี้ยนตามเขมรว่า ไชยา)
ชายาเป็นที่รู้จักกันน้อยมาก ผักใบเขียว ของ ชาวมายัน อยู่ในสกุล Cnidoscolus ซึ่งประกอบด้วย 40กว่าชนิด ผักชายา ถูกนำเข้าสู่ คิวบา และไปยัง ฟลอริด้า เป็นไม้พุ่ม ความสูงประมาณ 6-8 ฟุต แต่ละใบ 6-8 นิ้ว มีดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกันเหมือนสบู่ดำ
นำมาใช้ บริโภคเหมือนผัก Spinach ใบควรต้มไม่น้อยกว่า 1 นาที .ใบสดมีพิษจากกรดไฮโดรไซยานิก คล้ายคลึงกับใบมันสำปะหลัง ควรต้มเดือดอย่างน้อย 1 นาที ก็ทำลายพิษได้ แพร่พันธุ์ง่ายแบบสบู่ดำคือการเพาะเมล็ด และ ปักชำ
เป็นผักที่มีประโยชน์มากกว่าผักโขมเสียอีก ยังมีการมาทำน้ำโครโรฟิลกันในหลายประเทศ
ใบเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน, วิตามิน, แคลเซียม, เหล็กและ และยังเป็นแหล่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ คำเตือน..ต้องไม่ปรุงในหม้ออลูมิเนียมเป็นปฏิกิริยาที่เป็นพิษจะส่งผลทำให้เกิดอาการท้องเสีย งานวิจัยมากมายยังบ่งชี้ว่าน้ำจากใบรักษาเบาหวานได้
มีข้อมูลที่เชื่อถือได้แจ้งว่าชายา เป็นทั้งอาหารและยาที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงมากเผ่ามายาในสมัยก่อนก็มีการปลูกไว้บริโภค โดยเฉพาะแคลเซียมที่สูงกว่าผักโขมเกือบ 10เท่า
ชายามีสารไซยาไนด์เช่นเดียวกับหน่อไม้ดังนั้นการบริโภคทุกครั้งควรผ่านความร้อนเสียก่อน ไม่เหมาะต่อการบริโภคสดต่อเนื่องกันนานๆ
ผักชายานั้นสามารถนำมาบริโภคได้เหมือนกับผักคะน้าโดยมันจะมีก้านที่กรอบ อร่อย และไม่เหม็นเขียว มีความหวานเฉพาะตัว ส่วนใบก็สามารถบริโภคได้เช่นกัน ซึ่งในการนำมาประกอบอาหารก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับผักคะน้าอย่างเช่นนำมาผัดน้ำมันหอย ผัดไฟแดง หรือจะต้ม แกง ทอด ลวก ก็ได้ทั้งนั้น แต่มีสิ่งที่ต้องพึงระวังคือต้องทำให้สุกก่อนนำมารับประทานเพราะผักชายามีสารไซยาไนด์เช่นเดียวกันกับหน่อไม้จึงไม่ควรบริโภคสด ที่สำคัญมันสามารถแก้ปัญหาโรคเก๊าท์ เบาหวาน และต้านความดันได้ดี นอกจากนี้มันยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ด้วย เพราะฉะนั้นหามาปลูกติดบ้านกันไว้บ้างก็น่าจะดีไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว
ประโยชน์ของผักชายา
การขยายพันธุ์ทำได้ง่าย ๆ โดยการตัดท่อนชำเหมือนมันสำปะหลัง ทนแดด ทนแล้งได้ดีมาก
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน