ภูมิปํญญาชาวบ้านเป็นพื้นฐานความรู้ความสามารถของชาวบ้าน ซึ่งเป็นคนธรรมดาสามัญในท้องถิ่นที่คิดประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นแล้วมีการสั่งสมหรือพัฒนาให้ดีขึ้นถ่ายทอดสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นองค์ความรู้ต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นและ แต่ละชุมชนทั้งในด้านการทำมาหากินการอยู่ร่วมกันในสังคม มีการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามต่างๆไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและความเชื่อ จึงมีคุณค่าทางจิตใจ ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงเป็นสิ่งผูกพันคนในท้องถิ่นเข้าด้วยกันและเป็นความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ คงมีมาไม่ต่ำกว่า 70 ปีมาแล้ว โดยเป็นกิจการซึ่งมีเจ้าของเป็นชาวจีน และจ้างแรงงานในแถบนั้น ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวจีน กิจการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ชาวบ้านเรียกกันว่า ลานมะเกลือ
วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมผ้าด้วยมะเกลือ
การใช้พื้นที่
การแต่งตัวเวลาทำงาน ผู้หญิงนิยมใส่เสื้อแขนยาวและเย็บผ้าต่อปลายแขนอีกให้ยาวคลุมฝ่ามือ เพื่อกันแดด และกันยางมะเกลือกัด นิยมนุ่งผ้าถุง มักไม่ใส่รองเท้าเพราะทำงานไม่ถนัด ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขาก๊วยสีขาวทำด้วยผ้าดิบ ซึ่งกลายเป็นสีดำเมื่อโดนสีย้อมในเวลาต่อมา มีทั้งใส่เสื้อและไม่ใส่
อุปกรณ์
วิธีการย้อมผ้า
นำผลมะเกลือดิบมาตำให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำสีเหลืองมาใช้ย้อมผ้า ผ้านั้นจะมีสีเหลือง แต่เมื่อตากให้แห้งจะมีสีเขียวจะต้องย้อมและตากแห้งอย่างนี้ซ้ำ ๆ กัน 5 ? 6 ครั้ง ผ้าจะเปลี่ยนสีจนกระทั่งกลายเป็นสีดำตามต้องการ อีกวิธีหนึ่ง คือ นำผลสุกสีดำมาบดละเอียด กรองแต่น้ำสีดำมาย้อมผ้า โดยย้อมแล้วตาก แล้วนำกลับมาย้อมซ้ำอีกประมาณ 3 ครั้ง ถ้าจะให้ผ้ามีสีดำสนิทและเป็นมันเงาด้วย ให้นำผ้าไปหมักในดินโคลน 1 ? 2 คืน หรืออย่างน้อย 5 ชั่วโมงแล้วจากนั้นจึงนำมาซักให้สะอาด การย้อมผ้าด้วยมะเกลือ ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก
ขั้นตอนการย้อม
หมายเหตุ ต้องย้อม 4 ? 5 ครั้ง ( ทำซ้ำทุกขบวนการตั้งแต่ ย้อม ซัก ตาก )
การถนอมผ้าโดยวิธีการอบ
สูตรชาวกูยนำพืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ ลูกตะครอง หัวขมิ้นชัน หัวหว่านเปราะหอม ใบเล็บครุฑ ใบอ้มใบขาไก่แดงใบสาปแร้งสาปกานำสมุนไพรทั้งหมดมาผสมกันสกัดความหอมด้วยน้ำเป็นน้ำปรุงหอม
แหล่งที่มา ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม
ป้ายคำ : ผ้า