ผ้าหมักโคลน ภูมิปัญญาผ้าไทย

26 พฤษภาคม 2557 ภูมิปัญญา 0

ผืนผ้าเนื้อนุ่มเบาสบาย ลวดลายงดงามละเอียดลออ สีนวลตา น่าสวมใส่ เมื่อความภูมิปัญญาล้ำค่าบังเอิญนำมาซึ่งภูมิปัญญาล้ำค่า ชาวบ้านจึงไม่ละเลยที่จะให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของปู่ย่าตาทวด ชาวบ้านที่นี่พยายามหาวิธีที่จะรักษาเอาไว้ โดยนำความทันสมัยเข้ามาผสมผสาน ทำอย่างไรให้ผ้าทอยังคงได้รับความนิยมมาจนปัจจุบัน

ผ้าหมักโคลนบ้านนาต้นจั่น อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
ผืนผ้าเนื้อนุ่มเบาสบาย ลวดลายงดงามละเอียดลออ สีนวลตา น่าสวมใส่ เมื่อความบังเอิญนำมาซึ่งภูมิปัญญาล้ำค่า ชาวบ้านนาต้นจั่น อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย จึงไม่ละเลยที่จะให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาดั้งเดิมของปู่ย่าตาทวด ชาวบ้านที่นี่พยายามหาวิธีที่จะรักษาเอาไว้ โดยนำความทันสมัยเข้ามาผสมผสาน ทำอย่างไรให้ผ้าทอยัง

คงได้รับความนิยมมาจนปัจจุบันคุณเกตุทิพย์ วุฒิสาร หนึ่งในสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านนาต้นจั่น เปิดเผยแนวคิดของผ้าทอที่ นี่ว่า “เราพยายามนำแนวคิดของบรรพบุรุษมาผสม73ผสานกับรูปแบบความนิยมในปัจจุบัน ลายผ้าแต่ละผืนเกิดจากการสังเกตแล้วนำมาแกะสร้างเป็นลวดลาย ส่วนเคล็ดลับที่คนนาต้นจั่นภาคภูมิใจอยู่ที่ภูมิปัญญาผ้าหมักโคลน ในฐานะคนรุ่นใหม่ก็เกิดความคิดอยากประยุกต์ นำผ้าเหล่านั้นมาทำเสื้อผ้าสำเร็จรูปหลากหลายรูปแบบตามสมัยนิยม ผ้าทอหมักโคลนของบ้านนาต้นจั่นจึงไม่มีวันล้าสมัย”

pahmakklonyom

หมู่บ้านทำผ้าฝ้ายทอมือมีอยู่มากมาย แต่ละถิ่นแต่ละที่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป ผ้าของบ้านนาต้นจั่นมีเอกลักษณ์คือความนุ่มของเนื้อผ้า เมื่อนำมาสวมใส่จะให้ความรู้สึกอุ่นกายในเวลาหนาว และเย็นสบายในยามร้อน
เอกลักษณ์ผ้านุ่มนี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญ ตามคำบอกเล่าของพี่ป้าน้าอาในศูนย์ทอผ้าบ้านนาต้นจั่น และเด็กๆ ลูกหลาน น้องอาย ด.ญ.อชิรญา วุฒิสาร บอกว่า “แต่ก่อนชาวบ้านออกไร่ออกนากัน สวมใส่ผ้าซิ่นไปทำนา แล้วผ้าซิ่นก็เปื้อนโคลน กลับบ้านก็นำไปซัก สังเกตได้ว่าผ้าส่วนบนยังแข็งกระด้างเหมือนเดิม แต่ปลายผ้าซิ่นกลับนุ่มขึ้น กลายเป็นที่มาของภูมิปัญญาผ้าหมักโคลนค่ะ”

เสื้อผ้าที่เปรอะเปื้อนเลอะโคลน ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจอีกต่อไป การสังเกตของชาวบ้านนาต้นจั่น นำมาสู่ความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนากระบวน การผลิตผ้าทอหมักโคลนต่อไป

คนนาต้นจั่นทอผ้าสวมใส่ใช้เองมาตั้งแต่อดีต ว่างเว้นจากอาชีพหลักอย่างการเกษตร ก็นั่งทอผ้าใต้ถุนบ้าน ถักทอจนเป็นผืนก็เอาผล74งานมารวมกันที่ศูนย์ผ้าทอ แต่ด้วยผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือในปัจจุบันมีอยู่มากมายเกลื่อนตา ลูกค้าสามารถเลือกซื้อหาได้ทั่วไป ทางกลุ่มทอผ้าจึงเกิดความคิดนำเอาภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนโบราณ มาใช้สร้างความต่างให้กับผลิตภัณฑ์

pahmakklontak

นั่นก็คือการนำผ้าที่ทอแล้วไปหมักโคลน ผลที่ได้คือโคลนช่วยทำให้ผ้านุ่มขึ้น แม้ว่าสีอาจเปลี่ยนแปลงไป จากผ้าทอผืนเดิมที่เคยมีสีสันฉูดฉาดก็จะกลายเป็นผ้าสีละมุนตา

แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในตัวโคลน ได้แก่ ธาตุเหล็กและโพแทสเซียม แต่ที่มาของความนุ่มบนเนื้อผ้าที่ชาวนาต้นจั่นทราบกันดีมาจากธาตุเหล็ก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของธาตุเหล็ก จะเข้าไปแทรกซึมเป็นตัวขยายให้เส้นใยของผ้าขยายตัว จึงเกิดเป็นความนุ่ม อีกทั้งยังช่วยให้สีย้อมติดทนนาน ไม่เกิดการตกสีแหล่งขุดโคลนนั้นก็หาได้ไม่ยาก ทั้งจากห้วย หนอง คลอง บึง หรือบ่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติในชุมชน เด็กๆ สามารถไปช่วยพ่อแม่ขุดโคลนได้ ขุดเสร็จช่วยกันขนย้ายไปที่ศูนย์กลางผ้าทอหมักโคลนประจำหมู่บ้าน

หลังจากได้โคลนมาแล้ว ก็นำมาคัดกรองเศษผงที่ไม่ต้องการออก หรือหากว่าตรวจด้วยสายตาแล้วไม่พบสิ่งสกปรกใดๆ ก็สามารถนำโคลนเนียนนุ่มนั้นไปใช้ได้เลย โดยนำไปผสมน้ำในอัตราส่วนโคลน 15 กิโลกรัม ต่อน้ำ 30 ลิตร จากนั้นนำผ้าที่ทอแล้วมาแช่ในน้ำโคลน หมักผ้าในโคลนทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนนำไปย้อม

pahmakklonkaw

สีย้อมผ้าของคนนาต้นจั่นเป็นวัตถุดิบที่หาได้จากธรรมชาติรอบกาย ไม่ว่าจะเป็นสีแดงจากไม้ฝาง สีดำจากผลมะเกลือ หรือสีม่วงจากเปลือกมังคุด ฤดูกาลไหนมีพืชพรรณอะไร ผู้คนที่นี่ก็นำมาทำสีย้อมได้ทั้งนั้น

น้องเต้ ด.ช.ณัฐพล ศรีวิลัย บอกว่า “มะเกลือมีอยู่ทุกที่ในหมู่บ้านครับ เราเก็บเอาลูกดำๆ ที่ตกอยู่ใต้ต้นมาใช้ หรือลูกที่อยู่บนต้นก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ว่าเก็บยากกว่าลูกใต้ต้น ไม้ฝางก็ไปตัดมาจากสวน หรือหาได้จากป่าใกล้หมู่บ้าน เราเอามาใช้เฉพาะเปลือกของมัน เอามาต้มสกัดสี เวลานำมาย้อม ก็ต้มแช่ผ้าไว้ประมาณชั่วโมงครึ่งครับ”

นอกจากสีสันสบายตาน่าสวมใส่และความนุ่มของเนื้อผ้าแล้ว ลวดลายบนผืนผ้าที่งดงามไม่ซ้ำแบบนั้น มาจากความคิดสร้างสรรค์ของคนสมัยโบราณล้วนๆ ที่นำธรรมชาติรอบกายมาเป็นต้นแบบในการแกะลายผ้า
“ลายผ้าของเรามีหลายแบบด้วยกันค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นลายดอกไม้ต่างๆ ดอกผักแว่น ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกแก้วหน้าหมอน แต่หนูชอบลายดอกชมพู่ ผ้าบ้านนาต้นจั่นมีเอกลักษณ์อยู่ที่ความนุ่มกับลวดลายนี่ล่ะค่ะ อยากรู้ว่านุ่มอย่างไร ลายสวยแค่ไหน ต้องมาสัมผัสกันเองที่บ้านนาต้นจั่น”

pahmakklonmukspahmakklonka

ต้องขอบคุณบรรพบุรุษ ที่ค้นพบความมหัศจรรย์ของโคลนตม นำมาทำให้เกิดภูมิปัญญา มรดกล้ำค่าแห่งชุมชนนาต้นจั่น

ผ้าหมักโคลนภูมิปัญญาของชนเผ่าภูไทในอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
ผ้าหมักโคลน เป็นภูมิปัญญาของชนเผ่าภูไทในอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ที่อยู่คู่ชาวบ้านมาตั้งแต่โบราณกาล และยังคงสืบทอดเทคนิคการทำผ้าหมักโคลนมาจนถึงปัจจุบัน จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ผ้าทอมือเส้นใยธรรมชาติของบ้านหนองสูงที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่ในประเทศ แต่ยังคงได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศด้วย
นางนรินทิพย์เล่าถึงที่มาของผ้าหมักโคลนว่า สมัยก่อนชาวบ้านไปหาปลาในหนองน้ำแล้วใช้แหเพื่อดักจับปลา แต่แหถักใหม่มีสีขาวทำให้ปลาว่ายหนีไปหมด ชาวบ้านจึงนำแหไปแช่ในโคลนเพื่อให้แหมีสีดำคล้ำ จึงได้ลองนำเทคนิคดังกล่าวไปใช้กับการทำผ้าทอ โดยนำผ้าไปหมักในโคลนเช่นเดียวกับแห และนำไปย้อมต่อด้วยสีธรรมชาติ ซึ่งพบว่าผ้าที่ผ่านการหมักด้วยโคลนจะได้สีสันที่แปลกไปจากผ้าที่ไม่ได้หมักโคลน ซึ่งเมื่อนำไปย้อมสีก็จะได้ผ้าที่มีสีสดมากขึ้น เพราะโคลนช่วยจับสีทำให้สีเข้มขึ้น และสีติดทนนาน

pahmakklonmuk

สำหรับโคลนที่ใช้ในการหมักนี้จะใช้โคลนที่หนองน้ำ ที่บ้านหนองสูง ซึ่งเป็นดินโคลนที่มีอายุประมาณ 300-400 ปี โดยโคลนในท้องถิ่นอื่นๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ควรใช้โคลนดินเหนียว และเนื้อโคลนต้องละเอียด ไม่มีเม็ดดินเม็ดทรายปะปน

pahmakklonmukyom

ส่วนขั้นตอนการทำผ้าหมักโคลนก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เพียงแต่มีหลายขั้นตอนต้องใช้ความอดทนในการทำ เริ่มจากนำโคลนขึ้นมากรองด้วยตะแกรงเพื่อคัดกรองเอาพวกเม็ดกรวดเม็ดดินออกให้เหลือแต่เนื้อโคลนล้วนๆ แล้วนำไปผสมน้ำและเกลือตามความเหมาะสม คนให้เข้ากัน นำเส้นใยผ้าฝ้าย หรือผ้าไหมลงไปแช่ในโคลนที่เตรียมไว้ โดยใช้เวลาในการหมักประมาณ 3-6 ชั่วโมง ซึ่งสีของเส้นใยจะอ่อนหรือเข้มขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการหมัก เมื่อหมักได้เวลาที่ต้องการก็นำขึ้นมาบิด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง พอเส้นใยแห้งก็นำไปล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำกลับไปตากแดดให้แห้งอีกครั้ง จากนั้นจึงนำไปทำการย้อมสีตามที่ต้องการ

pahmakklonmuktor

โดยผ้าที่นำมาใช้หมักโคลนจะต้องเป็นผ้าทอเส้นใยธรรมชาติ และย้อมสีธรรมชาติ สีที่ได้มาจากการสกัดโดยใช้เปลือกไม้ไปแช่น้ำให้เปลือกไม้คลายสีออกมาแล้วนำไปต้มสกัดเอาน้ำสี จากนั้นก็ใส่เกลือ ทำการคนให้เข้ากันก็จะได้น้ำสีย้อม โดยผ้าหมักโคลนที่ทางกลุ่มทำออกจำหน่ายอยู่ในรูปของผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่ จุดเด่นของผ้าหมักโคลนคือ เนื้อผ้าแห้งเร็วและเบาสบาย บวกกับความเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ จุดนี้เองทำให้เป็นจุดสนใจของลูกค้าต่างประเทศจำนวนมาก ในอดีตรูปแบบของผ้าหมักโคลนจะทำสำหรับเป็นผ้าห่อเด็ก เพราะคุณสมบัติแห้งเร็ว ปัจจุบันหันไปใช้ผ้าขนหนูเพราะต้นทุนผ้าทอมือแพง ซึ่งมีแผนที่จะนำรูปแบบของผ้าห่อเด็กกลับมาทำอีกครั้งถ้าลูกค้าต้องการ

นางนรินทิพย์เล่าถึงแผนการตลาดของผ้าหมักโคลนว่า เดิมทางกลุ่มจะทำใช้กันเองในหมู่บ้าน แต่ต่อมาผ้าหมักโคลนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลังจากได้มีการนำผ้าเข้ามาขายในเมือง และได้คัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป ประกอบกับสื่อต่างๆ เข้ามาสัมภาษณ์ ทำให้ผ้าหมักโคลนเริ่มเป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะตลาดในต่างประเทศให้ความสนใจค่อนข้างมาก มีผู้จัดจำหน่ายผ้าแบรนด์ดังในต่างประเทศมาว่าจ้างให้ทางกลุ่มผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเอง เช่น สินค้าจากธรรมชาติแบรนด์ away จากประเทศออสเตรเลีย แบรนด์ Alex ประเทศเยอรมนี และแบรนด์จากสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Saphan นอกจากนี้ มีการผลิตป้อนให้ผู้จัดจำหน่ายในศูนย์การค้าสยามพารากอน เป็นร้านของคุณเผ่าทอง ทองเจือ และตอนนี้อยู่ระหว่างการทำผ้าตัวอย่างส่งไปให้ผู้จัดจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ถ้าผ่านก็จะสั่งซื้อเข้ามาเช่นกัน

pahmakklonmukpa

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น