ฝางเสนเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเยี่ยมอีกอย่างหนึ่ง เอาไปผสมผสานกับตัวยาสมุนไพรต่างๆ ได้มากมายสร้างสรรพคุณให้ยาสมุนไพรอย่างวิเศษสุดเสมอ แต่เอกลักษณ์ของฝางเสน ก็มีอยู่คือแก่นเนื้อไม้ของฝางเสนจะเป็นสีแดง ถ้าแช่น้ำเอาได้สีแดงจะละลายออกมา จากเนื้อไม้ เป็นสีที่สดสวยมาก ชาวบ้านเอามาผสมเป็นสีผสมอาหารได้ดีเป็นต้นว่าทำขนมให้เป็นสีแดงเป็นสีจากธรรมชาติที่น่าสนใจ เอาฝางเสนนี้ไปปรุงเป็นน้ำยาอุทัยตามแบบอย่างโบราณได้ดีน้ำยาอุทัยจึงจึงมีสีแดงสดใสของฝางเสน
ต้นฝางเสน เป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ตามลำต้น และ กิ่งก้านจะมีหนาม โคนหนามนี้พองคล้ายกับฐานนม ใบฝางเสน เป็นไม้ใบรวม ลักษณะการเรียงใบคล้ายกับใบหางนกยูงไทย มีสีเขียว ดอกฝางเสน ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง ผลฝางเสน เป็นฝักรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ ฝักของฝางนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแก่นสีเหลืองเรียกว่า ฝางส้ม และ แก่นสีแดงเข้มเรียกว่า ฝางเสน ตรงปลายฝักนี้จะยาวแหลมยื่นออกมาเล็กน้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan L.
ชื่อสามัญ : Sappan Tree
วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น : ฝางเสน (กลาง), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่), โซปั้ก (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง 5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : แก่นของไม้มีสีแดง
สรรพคุณ :
ฝาง มี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่าฝางส้ม ใช้ทำเป็นยาต้ม 1 ใน 20 หรือยาสกัดสำหรับ Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ใช้แก่นฝางต้มเคี่ยว จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิมใช้ย้อมผ้าไหม งามดีมาก ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย
สรรพคุณทางยา
แก่นฝาง
น้ำมันระเหย
วิธีและปริมาณที่ใช้
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ขึ้นได้ทุกสภาพพื้นดิน ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, สมุนไพร