พริกหยวก ผลมีรสเผ็ด

30 กันยายน 2557 พืชผัก 0

พริก หยวกถือเป็นพืชที่สร้างรายได้ดีสำหรับเกษตรกรที่ว่างเว้นจากฤดูทำนา การปลูกและดูแลนั้นไม่ยาก สามารถใช้นาข้าวที่ว่างอยู่ หลังจากเกี่ยวเก็บข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไถยกร่องเพื่อการปลูกพริกหยวกได้เลย แต่ต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอสำหรับการรดน้ำ และใช้เวลาเพียง 2เดือนในการปลูก หลังจากนั้นสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตพริกหยวกได้นานถึง 3เดือน สามารถสร้างรายได้เสริมให้เกษตรได้อย่างดี

ชื่อสามัญ Banana Pepper, Paprika, Garden Pepper, Chili Pepper, Chili Plant, Red Pepper, Spanish pepper, Sweet Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum Linn.
วงศ์ SOLANACEAE เช่นเดียวกับพริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกหวาน
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ พริกหนุ่ม (พายัพ), พริกตุ้ม พริกตุ้มนาก (ไทย), พริก พริกซ่อม (ทั่วไป) เป็นต้น

ลักษณะของพริกหยวก
ต้นพริกหยวก เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน จัดเป็นไม้ล้มลุกฤดูเดียวหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร ลำต้นตั้งตรงและแตกกิ่งก้านมาก โคนต้นเป็นเนื้อไม้แข็ง ส่วนยอดเป็นเนื้อไม้อ่อน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีปลูกทั่วไปในประเทศที่มีอากาศร้อน

prigyougking

ใบพริกหยวก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวได้ถึง 10 เซนติเมตร

prigyougs

ดอกพริกหยวก ออกเป็นดอกเดี่ยวตากซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาวนวลเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปปากแตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก (แต่อาจจะมีกลับตั้งแต่ 4-7 กลีบก็ได้) โดยปกติจะมีเกสรเพศผู้ 5 อัน เท่ากับจำนวนกลีบดอก เกสรนี้จะแตกออกมาจากตรงโคนของกลีบดอก อับเกสรเพศผู้มักมีสีน้ำเงินและแยกตัวเป็นกระเปาะเล็กๆ ยาวๆ ส่วนเกสรเพศเมียจะชูขึ้นเหนือเกสรเพศผู้ ส่วนของยอดเกสรเพศเมียจะมีรูปร่างคล้ายกระบอกหัวมนๆ รังไข่มีพู 3 พู (อาจจะมี 2 หรือ 4 พูก็ได้) และดอกมีลักษณะห้อยลง

prigyougdok

ผลพริกหยวก ผลสดมีหลายรูปร่างและหลายขนาด โดยมากมักเป็นรูปกรวยกว้าง หรือมีลักษณะตั้งแต่แบนๆ กลมยาว ไปจนถึงพองอ้วน และสั้น ยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นกระเปาะ มีฐานขั้วผลสั้นและหนา ผลอ่อนเป็นสีเขียว เหลือง ครีม หรือสีม่วง เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง สีส้ม สีเหลือง หรือสีน้ำตาล โดยปกติแล้วผลอ่อนมักจะชี้ขึ้น ส่วนผลแก่อาจชี้ขึ้นหรือห้อยลงตามแต่สายพันธุ์ที่ปลูก ภายในมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปโล่กลมแบน สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาล (เมล็ดจะเกาะรวมกันอยู่ที่รก (Placenta) ซึ่งจะมีตั้งแต่โคนผลจนถึงปลายผล)

prigyougmed

เมล็ดพริกหยวก ความเผ็ดของพริกหยวกเกิดจากสารแคปไซซิน (Capsaisin) หรือ Capsacutin ซึ่งอยู่ที่รกตามบริเวณที่มีเมล็ดเกาะอยู่ หากถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้[1] ปริมาณของสาร Capsaisin จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดและสายพันธุ์ของพริก ซึ่งสามารถเรียงลำดับตามความเผ็ดได้ดังนี้ คือ พริกขี้หนู 18.2 ppm., พริกเหลือง 16.7 ppm., พริกชี้ฟ้า 4.5 ppm., พริกหยวก 3.8 ppm., พริกหวาน 1.6 ppm. (จะเห็นได้ว่าพริกหยวกมีความเผ็ดน้อยกว่าพริกขี้หนูหลายเท่าตัว) และเนื่องจากสาร Capsaisin สามารถละลายในน้ำได้เพียงเล็กน้อย แต่จะละลายได้ดีในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ ถ้าต้องการลดความเผ็ดของอาหารในปาก ก็ให้รับประทานอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหรือดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าดื่มน้ำเปล่า เนื่องจากน้ำเปล่าที่เราดื่มนั้นจะช่วยแค่บรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดยังไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด เพราะว่าน้ำละลายสารดังกล่าวได้ไม่ดีนั้นเอง

prigyougpa

สรรพคุณของพริกหยวก

  • สาร Capsaisin ในผลเป็นตัวช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง จึงช่วยในการบำบัดโรคเบาหวานได้ (ผล)
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (ผล)
  • ช่วยบำรุงเลือดลม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  • ผลมีรสเผ็ด (แต่เมล็ดไม่มีรสเผ็ด) เนื่องมาจากสาร Capsaisin ใช้ในปริมาณน้อยๆ จะมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นน้ำย่อย (ผล)
  • ผลมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ผล)
  • ช่วยขับปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  • ช่วยแก้กามโรม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  • ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (ผล)
  • ยาดองเหล้าพริก (Tincture of Capsaicin) สามารถนำมาใช้ผสมในขี้ผึ้ง ใช้เป็นยาทาถูนวด และ Plaster ทาภายนอก เป็นยารักษาอาการปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบได้ เพราะทำให้บริเวณที่ถูกทาร้อนและมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น (ยาดองเหล้าพริก)

หมายเหตุ : การใช้ผลให้นำมาปรุงเป็นอาหาร

เมล็ดพันธุ์พริกหยวก
หา ซื้อเมล็ดพันธุ์พริกหยวกจากร้านขายเมล็ดพันธุ์พืชทั่วไปนำมาเพาะลงกระบะที่ เป็นดินร่วนผสมกับปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมัก หลังจากหว่านเมล็ดลงในแปลงให้นำฟางมาคลุมแปลงเพาะ รดน้ำเช้า-เย็น พอต้นกล้ามีใบงอกออกมา 1-2ใบ ให้นำฟางออก รอกล้าพริกโตประมาณ 15-20เซนติเมตร หรือมีอายุ 30วัน ค่อยย้ายลงมาปลูกในแปลงที่เตรียมเอาไว้

prigyougkla

การเตรียมแปลงสำหรับปลูกพริกหยวก
ให้ยกร่องสูง 20เซนติเมตร กว้าง 1เมตร ความยาวประมาณ 8-10เมตร ก่อนย้ายต้นกล้าพริกหยวกมาลงแปลงปลูกประมาณ 7วัน ให้ใส่ปุ๋ย เพื่อเพิ่มสารอาหารในดิน ร่วมกับปุ๋ยหมัก 1-2ตันต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดิน ลงในร่องและคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำพลาสติกใสมาคลุมแปลงปลูกเพื่อป้องกันความชื้นระเหยออก จากดิน และช่วยป้องกันวัชพืชเจริญเติบโตในแปลงปลูกได้ผลดี และก่อนปลูกหนึ่งวันทำการเจาะรูพลาสติกใส่ในแปลงและขุดหลุมสำหรับปลูกพริก หยวก ห่างกันระหว่างตัน ระหว่างแถว 50เซนติเมตร จากนั้นสามารถนำต้นกล้าพริกหยวกมาปลูกได้ทันที

prigyougtaw

การดูแลต้นพริกหยวก
ในช่วงแรกให้รดน้ำอย่างชุ่มเพียงพอ เช้าและบ่าย แต่ระวังอย่าให้น้ำขังในแปลงปลูก พริกหยวกต้องการน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำ รดน้ำมากเกินไปอาจจะทำให้รากเน่า ต้นพริกเหี่ยวได้ ในช่วงที่ต้นพริกอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวสามารถรดน้ำได้บ้างเพื่อเพิ่มความชุ่ม ชื้นในดิน การใส่ปุ๋ยนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3ช่วง คือ ช่วงเร่งการเจริญเติบโต หลังจากย้ายลงแปลงปลูกได้ 15วัน ให้ใส่ปุ๋ยในปริมาณ 60-100กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อต้นพริกโตเต็มที่หรือประมาณ 30-45วัน ให้ใส่ปุ๋ยเร่งดอกและตา ใสปุ๋ย ในปริมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อพริกหยวกให้ผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ให้พิจารณาใส่ปุ๋ยบ้าง สังเกตจากปริมาณผลผลิตที่ได้ทุก 15-30วัน

การปลูกพริกหยวกจำเป็นต้องมีปักค้างเพื่อช่วยในการพยุงต้นพริกหยวก และตัดแต่งกิ่งใบให้โปร่งเพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆสะสมอยู่ใต้พุ่มต้น และควรดูแลเรื่องวัชพืชและโรคแมลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สามารถใช้น้ำหมักชีวภาพในการช่วยไล่แมลงหรือเพลี้ยได้ เมื่อต้นพริกหยวกอายุได้ 2เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว และสามารถเก็บได้นานถึง 3เดือน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น