พริกชนิดนี้รสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ ได้ ให้สีสันน่ารับประทาน และยังให้คุณค่าทางวิตามิน A, B1, B2 และ C มีสารแคปไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก โรคมะเร็ง
พริกหวานหรือพริกยักษ์ ( SWEET PEPPER / BELL PEPPER )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum annuum
ชื่อื่น พริกยักษ์, พริกระฆัง, พริกตุ้มใหญ่
พริกหวาน อยู่ในตระกูล มะเขือ ( Solanaceae ) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับ มะเขือเทศ ยาสูบ มันฝรั่ง ฯลฯ พริกเป็นพืชข้ามปี แต่ที่ปลูกเป็นการค้า ส่วนใหญ่จะปลูกฤดูเดียว ทำให้มีสายพันธุ์ใหม่จำนวนมาก มีความแตกต่างกันทั้งในด้านความสูง ขนาดทรงพุ่ม ขนาดของใบ จำนวนดอกต่อช่อ ลักษณะขนาด สีของผล ตลอดจนรสชาติและความเผ็ดผลมีลักษณะกลมยาวขนาดใหญ่พริกหวาน สีเขียว จะเป็นที่ต้องการของตลาดแต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือ เหลือง ส้ม หรือม่วง
ลักษณะของพริกหวาน
ต้นพริกหวาน จัดเป็นพืชข้ามปี แต่นิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว การเติบโตในระยะแรกจะเจริญเป็นลำต้นเดี่ยว เมื่อติดดอกช่อแรกตรงยอดแล้ว จากนั้นจะแตกกิ่งแขนงในแนวตั้งเป็นสองกิ่ง ทำให้จำนวนกิ่งเพิ่มขึ้น ตลอดฤดูการเจริญเติบโตผลผลิตที่ได้จะขึ้นอยู่กับจำนวนกิ่งและจำนวนผลต่อต้น ในช่วงระแรกที่กิ่งเจริญเป็นกิ่งอ่อน ต่อจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นกิ่งแก่ที่มีความแข็งและเปราะหักได้ง่าย โดยมีความสูงของต้นอยู่ประมาณ 0.5-1.5 เมตร มีรากเจริญในแนวดิ่งลึกประมาณ 90-120 เซนติเมตร รากแขนงแผ่กว้างออกด้านข้างประมาณ 90 เซนติเมตร ส่วนรากใหญ่จะอยู่กันอย่างหนาแน่นในระดับความลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตร สำหรับการปลูกพริกหวานนั้น จะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดินในสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียว
คุณค่าทางโภชนาการของพริกหวานสีเขียว ต่อ 100 กรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
สภาพแวดล้อม
พริกหวานต้องปลูกในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิได้เพราะต้องการสภาพอากาศอบอุ่น ความชื้นในอากาศต่ำ ไม่ทนทานต่อน้ำค้างแข็ง อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญอยู่ระหว่าง 20 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในอุณหภูมิต่ำสามารถทำให้ผลเจริญโดยไม่มีเมล็ด
ประโยชน์
พริกหวาน มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม เนื้อหนา มีหลายสีทั้งเขียว แดง เหลือง ส้ม และสีช็อคโกแลค มีรสชาติหวาน ไม่เผ็ด สามารถรับประทานสดในสลัด หรือนำมาผัดกับผักชนิดต่างๆ ให้สีสันน่ารับประทาน มีคุณค่าทางวิตามิน A, B1, B2 และ C มีสารแคบไซซิน ช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง
สรรพคุณทางยา
ช่วยกระตุ้นทางการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขั้น ช่วยเจริญอาหารบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน แก้หิด กลากเกลื้อน และสามารถลดความด้นโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัว และช่วยให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดี
การปลูกพริกหวานหรือพริกยักษ์ หรือมีเมล็ดน้อยอุณหภูมิในระยะก่อนดอกบาน จะมีอิทธิพลต่อการติดของเมล็ด มากกว่าอุณหภูมิหลังดอกบาน การปลูกในฤดูหนาวควรควบคุมให้อุณหภูมิอากาศในโรงเรือนสูงกว่าข้างนอก 5 องศา เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต ทำให้ทรงพุ่มสูง
สายพันธุ์ที่ใช้ปลูก
การปลูกพริกสีในโรงเรือน ควรเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกใน
โรงเรือน เช่น
การเพาะกล้า
เมล็ดพริกจะงอกช้ากว่าเมล็ดพืชตระกูลมะเขืออื่นๆ วัสดุเพาะควรประกอบด้วย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกเก่า ขี้เถ้าแกลบ เมล็ดพันธุ์พริกหนัก 10 กรัม จะมีเมล็ด 2,300 ถึง 2,600 เมล็ด ใช้เมล็ดพันธุ์ 20 40 กรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะได้ต้นกล้า 3,200 3,500 ต้น การจัดการเมล็ดก่อนเพาะ ควรแช่เมล็ดในน้ำผสมเบนเลท และแคปแทนอย่าง ละ 6 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 30 60 นาทีเพื่อป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ด และให้เมล็ดงอกเร็ว สม่ำเสมอ
หลังจากนั้นนำออกมาล้าง และนำไปแช่น้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาทีและแช่ใน KNO3( โพแทสเซียมไนเตรท ) เข้มข้น 0.1 0.2 % และใช้ผ้าเปียกหมาด ๆ หุ้มไว้ประมาณ 1 2 วัน หรือจนกระทั่งเริ่มมีรากสีขาวออกมา อย่าให้รากงอกยาวเพราะจะ ทำให้ไม่สะดวกในการหว่าน อุณหภูมิดิน 30 องศาเซลเซียส จะเหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ด โดยจะงอกภายในเวลา 6 10 วัน การเพาะในอุณหภูมิ15 องศาเซลเซียสเมล็ดจะงอกช้าหลังจากที่เมล็ดเริ่มงอก นำไปหยอดในถาดเพาะ ให้ลึก 1 ซม. กลบเมล็ด
การให้น้ำก่อนเมล็ดงอก ไม่ควรให้น้ำมาก และให้น้ำวันละสองครั้งเช้า เย็น เมื่อต้นกล้าเริ่มเจริญในระยะแรกจะรดน้ำวันละหนึ่งครั้ง ต่อจากนั้นจะให้น้ำสองถึงสามวันต่อครั้งขึ้นอยู่กับสภาพดินและสภาพอากาศ
ในระยะที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโต ควรฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักที่มีธาตุอาหารหลักและธาตุรอง ทุก 3 5 วัน และปุ๋ยน้ำทุก 7 วัน ย้ายต้นกล้าเมื่อมีใบจริง 3 4 ใบ หนึ่งอาทิตย์ก่อนถอนต้นกล้า ควรลดการให้น้ำเพื่อให้ต้นกล้าชะงักการเจริญต้นกล้าจะแข็งแรงและมีอาหารสำรองสำหรับการเจริญของรากใหม่
ระยะปลูก
การปลูกในโรงเรือนจะใช้ระยะ 50 x 100 120 เซนติเมตร การปลูกพริกสีแดง เหลือง ม่วง นิยมปลูกในโรงเรือน เนื่องจากมีอายุการเก็บเกี่ยวช้ากว่าสีเขียวใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งและปลูกเป็นแถวเดี่ยวกลางแปลง ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพริกหวาน คือ ระยะปลูก 40 x 50 ซม. ก่อนปลูกควรให้น้ำ เพื่อให้มีความชื้นพอเพียง การปลูกในดินที่ขาดน้ำ ดินจะดึงน้ำจากพืช ทำให้พืชเหี่ยวตาย การปลูกควรปลูกให้ลึกกว่าส่วนโคนเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ต้นเคลื่อนไหว
การให้น้ำ
พริกหวานเป็นพืชที่ไม่ทนทานต่อสภาพการขาดน้ำ หรือการให้น้ำมากเกินไปพริกต้องการน้ำ 400 1,000 มิลลิเมตร ตลอดฤดูปลูก ควรให้น้ำอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอระยะที่ย้ายปลูกใหม่ควรดูแลให้มีความชื้นอย่างพอเพียง แต่ไม่ควรให้มากจนน้ำขัง แฉะ จะทำให้รากเน่า ตายได้ง่าย
การปลูกในดินทราย ต้องให้น้ำบ่อยครั้งกว่าดินเหนียว ระยะที่มีหมอกลงจัดควรให้น้ำในตอนบ่ายเพื่อให้หน้าดินแห้งก่อนค่ำ นอกจากนี้การทดน้ำเข้าตามร่องประมาณ 1/3 ของความสูงของแปลง จะดีกว่าให้แบบพ่นฝอย
การควบคุมและกำจัดวัชพืช
การใช้วัสดุคลุมดินจะช่วยรักษาความชื้นในดินและควบคุมวัชพืช ถ้าหากใช้ฟางคลุมควรเป็นฟางเก่าเนื่องจากเพลี้ยจะชอบสีเหลืองถ้าใช้ฟางใหม่คลุมจะทำให้เกิดโรคใบหด
การใช้พลาสติกสีดำคลุมดิน ทำให้เพิ่มอุณหภูมิดิน ดังนั้นควรคลุมดินด้วยพลาสติกสีน้ำเงิน ซึ่งสะท้อนแสงและช่วยลดปริมาณแมลงปากดูด ควบคุมวัชพืชรักษาความชื้นและลดอุณหภูมิในดิน ผลการทดลองหลายแห่งพบว่าการคลุมดินด้วยพลาสติกสีน้ำเงิน และให้ปุ๋ยในรูปสารละลายแบบระบบน้ำหยดสามารถช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มขนาดของผล และ ช่วยให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น
การตัดแต่งกิ่งและการปลิดผล
เนื่องจากพริกหวานเป็นพืชที่ต้องการทั้งผลผลิตและคุณภาพดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ลำต้นโปร่ง เพิ่มอัตราการหมุนเวียนของอากาศ ลดการระบาดของโรคเกิดความสมดุลในการสร้างอาหารและการใช้อาหาร สำหรับการเจริญเติบโต ผลผลิตและคุณภาพของผล ตลอดจนยืดเวลาเก็บเกี่ยว จำนวนกิ่งและจำนวนผลต่อต้นขึ้นอยู่กับพันธุ์
ฤดูปลูก และมาตรฐานความต้องการของตลาด โดยทั่วไปจะตัดแต่งให้เหลือ 2 6 กิ่ง โดยคัดเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ การตัดแต่งให้เหลือ 2 กิ่งจะให้ผลขนาดใหญ่และคุณภาพสูง ปัจจุบันการปลูกพริกสี นิยมปลูกตัดแต่ง 2 กิ่งและปลูก 2 ต้นต่อหลุม เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวพริกหวานขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และฤดูปลูก โดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 70 130 วัน หลังย้ายปลูก พริกหวานสีเขียวเก็บเกี่ยวเมื่อผลเจริญเต็มที่ ผลแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน หลังจากระยะสุกเขียว ผลจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีม่วง / แดง / เหลือง เอทธีลีน ( ethylene : C2H4) จะช่วยเร่งการพัฒนาสีของผล
ระยะเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับระยะทางที่จะส่งไปตลาด ตลาดในท้องถิ่น เก็บเกี่ยวเมื่อผลเปลี่ยนสี 80 % ส่วนตลาดที่ห่างไกล เก็บเกี่ยวเมื่อเริ่มเปลี่ยนสี 35 60 %
การเก็บเกี่ยวจะใช้มีดที่บางและคม ตัดขั้วด้านที่ติดกับลำต้น ไม่ควรปลิดผลเนื่องจากจะทำให้ลำต้นฉีกขาด ควรให้มีขั้วติดผล เพื่อป้องกันการเน่าจากการเข้าทำลายของโรคที่แผลซึ่งเกิดจากการหลุดของขั้วแต่ควรระวังขั้วอาจจะทำให้ผลอื่น ๆ เกิดแผลในระหว่างการขนส่ง หลังเก็บเกี่ยว ควรล้างทำความสะอาดด้วยคลอรีนเข้มข้น 300 ppm และใช้น้ำอุณหภูมิ53 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันผลเน่าการลดความร้อนที่สะสมอยู่ในผลก่อนระยะเวลาเก็บเกี่ยว โดยรักษาอุณหภูมิของผลให้อยู่ระหว่าง 9 10 องศาเซลเซียส การลดอุณหภูมิเฉียบพลันโดยใช้ forced air cooling หรือ hydrocooling หรือ vacuum cooling จะช่วยยืดระยะเวลาการเก็บรักษา แต่หลังจาก hydrocooling ควรใช้พัดลมเป่าให้แห้งเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของโรคผลเน่าการเคลือบผิวจะช่วยลดการคายน้ำ ป้องกันผลเหี่ยวและป้องกันการเกิดแผลระหว่างการขนส่ง การห่อผลด้วย moisture retentive films เช่น perforated polyethylene ช่วยให้เก็บรักษาได้นานกว่าปกติ1 อาทิตย์
อุณหภูมิในการเก็บรักษา
ผลพริกหวานไม่ทนทานต่อสภาพอุณหภูมิต่ำ ไม่ควรเก็บรักษาต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาอยู่ระหว่าง 8 9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงกว่า 12 องศาเซลเซียส กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาของสี
แมลงศัตรูพริกหวาน
1. ไรขาว
ลักษณะการทำลาย ไรขาวจะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบของพริก ทำให้เกิดใบม้วนงอหงิกและหัวโกรน
การป้องกันและกำจัด
หมั่นตรวจดูยอดต้นพริกสม่ำเสมอ เมื่อพบไรขาว ควรฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ให้ทั่วใต้ใบ โดยเฉพาะใบที่อยู่ส่วนยอด และฉีดวันเว้นวัน เมื่อเริ่มระบาด 2 3 ครั้ง และเริ่มฉีดใหม่เมื่อพบศัตรูระบาด
เนื่องจากไรขาวจะระบาดมากในอุณหภูมิสูงและแห้งแล้งจึงป้องกันโดยรักษาแปลงปลูกให้มีความชื้นสูง โดยรดน้ำให้สม่ำเสมอ
2. เพลี้ยไฟ
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงและทำให้เกิดอาการยอดหดหรือใบหงิก โดยใบอ่อนที่ยอดเรียวยาวโค้งงอลง ขอบใบงอ ใบมีขนาดเล็กลง ผิวใบมีจุดสีน้ำตาลใบเหลืองและแข็งกรอบ เมื่อแตะ
ใบอ่อนเพียงเบา ๆ ก็จะหลุดร่วงอย่างง่ายดาย
การป้องกันกำจัด
ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม จะให้ผลดีและต้องฉีดพ่นให้ทั่วยอดและใต้ใบ ซึ่งศัตรูชนิดนี้หลบซ่อนตัวอยู่พริกอาจจะแตกยอดใหม่แต่จะให้ผลผลิตต่ำ การฉีดสารเคมีควรฉีดเวลา 10.00 11.00 น.
3. เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย เพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบส่วนยอดทำให้ยอดหงิก โดยใบพริกจะแสดงอาการ หยักเป็นคลื่นและหงิก ใบจะด่าง และมีขนาดเล็กลง พืชจะชะงักการเจริญและผลผลิตต่ำ
การป้องกันกำจัด
ฉีดสารเคมีเช่น เซฟวิน 85
4. หนอนกระทู้ผัก
ลักษณะการทำลาย หนอนกระทู้ผักมักจะพบเข้าทำลายในระยะที่พริกโตหรือตกพุ่ม ขณะที่หนอนยังเป็นตัวอ่อนการระบาดทำความเสียหายไม่รุนแรง การเข้าทำลายในระยะผลอ่อน จะกัดตรงโคนก้านส่วนที่ติดกับผลเป็นรูใหญ่ถ้าหากเป็นตัวอ่อนจะเข้าไปกัดกินไส้และเมล็ดในฝัก ส่วนหนอนตัวโตเต็มวัยจะกัดพริกเป็นรูจนถึงไส้และย้ายไปทำลายผลอื่นต่อไป หนอนชนิดนี้จะระบาดทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณที่ปลูกพืชผัก ฝ้ายและถั่ว ติดต่อกัน ตลอดปีการทำลายรุนแรงมักจะพบในฤดูฝน
การป้องกันและกำจัด
ใช้สารไล่แมลง จากน้ำหมักสมุนไพร
5. หนอนแมลงวันแตง
ลักษณะการทำลาย เจาะผลทำให้ผลเน่า มีหนอนอยู่ข้างใน ผลที่ถูกทำลายจะมีสีไม่สม่ำเสมอและร่วงก่อนผลสุก ถ้าหากสังเกตดูทั่วผล จะพบรูเล็ก ๆ อยู่กึ่งกลางผล ซึ่งเกิดจากแมลงวันแตงวางไข่
การป้องกันและกำจัด
ใช้สารไล่แมลง จากน้ำหมักสมุนไพร
6. หนอนเจาะผลมะเขือเทศ
ลักษณะการทำลาย จะระบาดตลอดทั้งปีโดยหนอนจะวางไข่ตามยอดอ่อนและดอกอ่อน ตัวหนอนที่ออก จากไข่จะกัดกินใบอ่อนก้านดอกหรือกลีบดอก การเข้าทำลายระยะที่พริกเป็นผลเล็ก หนอนจะ
เจาะเข้าไปกัดกินในผลทำให้ผลร่วงหรือเน่าทำความเสียหายรุนแรงกว่าหนอนกระทู้ผัก
การป้องกันกำจัด
ใช้สารไล่แมลง จากน้ำหมักสมุนไพร
โรคพริกหวาน
1. โรคต้นและใบไหม้
ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดกับพริกได้ทุกระยะของการเจริญ และทุกส่วนของพืช ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญและส่วนของพืชที่ถูกทำลาย การเข้าทำลายในระยะต้นอ่อน อาการจะคล้ายกับการทำลายของโรคโคนเน่า โดยเชื้อสาเหตุจะเข้าทำลายบริเวณโคนต้น แผลจะมีลักษณะคล้ายโดนน้ำร้อนลวก ทำให้ต้นกล้าล้มพับลง และแห้งตาย ส่วนการทำลายในระยะที่ต้นโต จะทำให้เกิดอาการรากเน่า ลำต้น กิ่ง จะเกิดเป็นแผลสะเก็ด ใบไหม้ ผลแห้งหรือเน่าโรคนี้จะระบาดมากในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิสูงอุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุอยู่ระหว่าง 8 38 องศาเซลเซียส
การป้องกันและกำจัด
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ดังนั้นก่อนเพาะควรแช่เมล็ดในน้ำอุ่น50 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 20 นาที ฉีดพ่นสารจากน้ำหมักสมุนไพร
2. โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา
ลักษณะอาการ เชื้อสาเหตุจะเข้าทำลายราก หรือส่วนของต้นที่อยู่ระดับและอยู่ใต้ดินเมื่อรากส่วนใหญ่ถูกทำลายพืชจะแสดงอาการ โดยใบที่อยู่ตอนล่างเหลืองและร่วงมาก ทำให้ทรงพุ่มบางตาต่อจากนั้นจะมีอาการเหี่ยวในเวลากลางวันช่วงที่มีแดดร้อนจัด และฟื้นในตอนเช้าสลับกัน 2 7 วัน แล้วจะเหี่ยวอย่างถาวรไม่มีการฟื้นอีก เชื้อสาเหตุจะระบาดรุนแรงในสภาพอุณหภูมิและความชื้นในดินสูงอุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 24 ถึง 28 องศาเซลเซียส ถ้าหากต่ำกว่า 17 หรือสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส การเจริญจะช้าหรือไม่เจริญเลย
การป้องกันและกำจัด
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นก่อนเพาะควรแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที ควรปรับสภาพดินให้เป็นกลาง เนื่องจากเชื้อสาเหตุจะเจริญได้ดีในดินที่เป็นกรดจัด ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพื่อให้ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ใช้สารเคมีเช่น เบนเลทผสม แคปเทนและน้ำ อัตรา 6:6:100 ราดก้นหลุมก่อนปลูกและราดโคนต้นหลังย้ายปลูก 15 วัน
3. โรครากเน่าโคนเน่า
ลักษณะอาการ โคนต้นจะเน่าสีน้ำตาล ในดินแถวโคนต้นมีเส้นใยราสีขาว ซึ่งบางส่วนจะเจริญขึ้นไปเกาะอยู่ตามโคนและรากต้นพริก จะสังเกตเห็นเม็ดราสีขาว น้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่ขนาดเท่าเมล็ดผักกาด ปะปนอยู่กับเชื้อราดังกล่าว ต้นที่โรคเข้าทำลาย แสดงอาการใบเหลือง และเหี่ยวตายในที่สุด
การป้องกันและกำจัด
โรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นก่อนเพาะเมล็ดควรแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที ปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 5 ปี ใช้ปูนขาวคลุกหน้าดินก้นหลุมก่อนปลูก ใช้สารเคมีเช่น เทอราคลอ ราดบริเวณโคนต้น
4. โรคใบด่าง จากเชื้อไวรัส
ลักษณะอาการ ใบพริกจะด่าง มีสีเหลืองสลับเขียว ใบหยักเป็นคลื่น บิดงอ อาการด่างเป็นลายไม่สม่ำเสมอ บางแห่งจะมีลายด่างมากบางแห่งจะมีน้อย เกิดขึ้นประปรายทั่วใบ ถ้าหากเข้าทำลายระยะต้นกล้าจะแคระแกร็นไม่ให้ผลผลิต การแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นโดยเพลี้ยอ่อน เป็นตัวพาหะ
การป้องกันและกำจัด
ฉีดสารสารน้ำหมักสมุนไพร
ลักษณะผลที่ผิดปกติ
อาการตายนึ่งของผล
อาการเริ่มแรกผิวของผลด้านที่โดนแสงอาทิตย์ส่อง จะปรากฎแผลสีขาว นิ่มและยุบตัว แผลอาจจะมีขนาดใหญ่ถึง 1/3 ของผล จะเกิดมากในสภาพที่ความเข้มแสงและอุณหภูมิสูง พืชมีทรงพุ่มขนาดเล็ก ใบไม่สามารถปกคลุมผลได้
อาการก้นเน่า
การปลูกพืชในสภาพที่ขาดแคลเซียม PH ต่ำ ขาดหรือมีน้ำมากเกินไป ส่วนปลายของผล จะเกิดเป็นแผลซ้ำ ต่อจากนั้นแผลจะแห้ง สีน้ำตาล หลังจากนั้นเชื้อโรคจะเข้าทำลายทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีดำ
ที่มา
รศ. นิพนธ์ ไชยมงคล สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน