พริกไทย เป็นราชาแห่งเครื่องเทศที่มีรสชาติเป็นเลิศ ในการใช้ปรุงอาหารให้มีความเผ็ด ร้อน มีกลิ่นหอม ที่ใครรับประทานแล้วต้องติดใจ ไม่ว่าจะเป็น ปูผัดพริกไทยดำ กุ้ง ปลาหมึก เนื้อปลา ผัดพริกไทยดำ ฯลฯ นอกจากนี้พริกไทยดำยังมีสรรพคุณต่อสุขภาพอย่างมาก เช่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ มีสารแอนติออกซิแดนท์ เป็นต้น เป็นที่ต้องการของชาวตะวันตกมานาน
ชื่อท้องถิ่น : พริกน้อย (ภาคเหนือ) พริก (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Pepper , Black pepper , White pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper nigrum Linn.
ชื่อวงศ์ : PIPERACEAE
พริกไทย (pepper) อาจเรียกว่า pepper corn เป็นส่วนผล ที่ใช้เป็นเครื่องเทศ (spice) ซึ่งใช้เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร (flavoring agent) จากธรรมชาติ พริกไทย” มีชื่อพื้นบ้านว่า พริกน้อย ( ภาคเหนือ ) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เปปเปอร์ (Pepper) เปปเปอร์คอร์น (Pepper Corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไปป์เปอร์ไนกรัม (Piper nigrum L.) จัดอยู่ในวงศ์ ไปป์เปอร์ราซีอี้ (Piperaceae)
พริกไทยเป็นไม้เลื้อยมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ลำต้นมีข้อและปล้องชัดเจน และมีรากเกาะพันกับไม้ค้างหรือพืชอื่นๆ คล้ายรูปไข่หรือรี ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามข้อในทิศตรงกันข้ามกับใบช่อดอกตัวเมียมีกลีบประดับ รูปเกือบกลมขนาด 3 – 5 แฉก ช่อดอกตัวผู้มีดอกที่มีเกสรตัวผู้ 2 อัน ผลอยู่รวมกันเป็นช่อยาว 5 – 15 เซนติเมตร ผลรูปทรงกลมขนาด 3 – 6 มิลลิเมตรแก่แล้วมีสีดำ ภายในมี 1 เมล็ด
ลักษณะทั่วไป
พริกไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper nigrum Lin. จัดอยู่ในวงศ์ Piperaceae จัดเป็นพืชจำพวกไม้เถาเลื้อยมีความสูงประมาณ 5 เมตร
คุณค่าทางโภชนาการ
พริกไทยประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน (11.3 %) สตาร์ซ (50%) แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตานบี2 ไนอาซิน วิตามินซี
พริกไทย มีน้ำมันหอมระเหย (essential oil) เรียกว่าน้ำมันพริกไทย ในปริมาณร้อยละ 2-4 โดยพริกไทยดำ จะมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูงกว่า และมีกลิ่นฉุนกว่าพริกไทยล่อน องค์ประกอบหลักของน้ำมันพริกไทย จะเป็นสารประกอบ จำพวกโมโนเทอร์ปีน (monoterpenes) ร้อยละ 60-80 เซสควิทเทอร์ปีน (sesquiterpenes) ร้อยละ 20-40 ที่สำคัญได้แก่ ลิโมนีน (Limonene) บี คาร์โยฟิลลีน (B-caryophyllene) บี ไพนีน (B-pinene) และไพนีน (pinene) เป็นต้น
การศึกษา โอลิโอเรซินพริกไทย (peper oleoresin) โดยนำพริกไทยมาสกัด (extraction) ด้วยตัวทำละลาย พบว่า โอลิโอเรซิน ประกอบด้วย สารจำพวก อัลคาลอยด์ ที่สำคัญคือไพเพอร์รีน (piperine) (ร้อยละ 5-9) ไพเพอร์ลิดีน (piperidine) และไพเพอร์รานีน (piperanine) ซึ่งไพเพอร์รีน (piperine) และไพเพอร์รานีน (piperanine) เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อนการนำมาใช้ประโยชน์
พริกไทย นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นรส (flavoring agent) และใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) ที่ได้จากธรรมชาติแล้ว ยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรด้วย โดยมีสรรพคุณตามตำรับยาไทยคือ ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท ชาวจีนใช้พริกไทยระงับอาการปวดท้อง แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค มีรายงานว่า piperine สามารถใช้แก้ลมบ้าหมู (Antiepileptic) ได้ และเมื่อเตรียมอนุพันธ์ของ piperine คือ Antiepilepsinine พบว่าสามารถแก้อาการชักได้ผลดีกว่า และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ผลงานวิจัยของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่าสารพิเพอรีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) สามารถป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
สรรพคุณของพริกไทยและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของพริกไทยคือ ดอก ผลอ่อน ผลแก่ ใบ และเถา ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี
การนำพริกไทยมาใช้ประโยชน์ นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นรส และถนอมอาหารแล้ว ยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรด้วย โดยมีสรรพคุณตามตำรับยาไทยคือ ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะและกระตุ้นประสาท ชาวจีนใช้พริกไทยระงับอาการปวดท้อง แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค มีรายงานว่า piperine สามารถใช้แก้ลมบ้าหมู (Antiepileptic) ได้ และเมื่อเตรียมอนุพันธ์ของ piperine คือ Antiepilepsinine พบว่าสามารถแก้อาการชักได้ผลดีกว่า และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ในขั้นตอนการผลิตพริกไทยดำ จะได้ส่วนที่เป็นพริกไทยเบา หรือเมล็ดลีบออกมาด้วย ชาวสวนส่วนใหญ่ จะนำพริกไทยเบานี้ไปทิ้ง หรือนำไปทำปุ๋ย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (หป.ทผ.) จึงได้นำพริกไทยเบาส่วนนี้มาศึกษา การสกัดน้ำมันหอมระเหยและโอลิโอเรซิน พบปริมาณน้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.5 โดยมีคุณสมบัติทางเคมี และฟิสิกส์ใกล้เคียงกับน้ำมันพริกไทยดำ และมีปริมาณโอลิโอเรซิน ร้อยละ 10 ซึ่งประกอบด้วย piperine ร้อยละ 1.2 ซึ่งน้อยกว่าปริมาณ piperine ในพริกไทยดำ
วิธีเตรียมพริกไทยเพื่อทำเป็นยาสมุนไพรก็ไม่ยาก ให้นำผลแก่จัดไปตากแดดให้แห้ง ในแต่ละครั้งจะรับประทานครั้งละ 15-20 ผล ( ผลแก่จัดตากแห้ง ) ซึ่งเมื่อบดออกมาแล้วจะหนักประมาณ 0.5-1 กรัม เมื่อบดเป็นผงแล้วก็นำไปชงกับน้ำอุ่นรับประทาน หรือทำเป็นลูกกลอนก็ได้ แต่บางท่านก็รับประทานผลแก่ตากแห้ง 15-20 ผล โดยไม่บดเลยก็มี ซึ่งก็ได้เหมือนกัน เนื่องจากพริกไทยจัดเป็นอาหารและยาด้วย ดังนั้นผลข้างเคียงแทบจะไม่พบเลย แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรใช้กับหญิงมีครรภ์ เนื่องจากพริกไทยมีรสเผ็ดและจัดเป็นยาร้อน หญิงมีครรภ์อ่อนๆไม่ควรรับประทานมากนะคะ เพราะว่าอาจจะทำให้แท้งได้
ข้อแตกต่างระหว่างพริกไทยดำ กับ พริกไทยขาว
ทั้ง พริกไทยดำ (Black Piper) และพริกไทยขาว (White Piper) ได้มาจากพืชชนิดเดียวกันคือ พริกไทย แต่วิธีการเก็บเกี่ยวต่างกัน
คือ
การขยายพันธุ์พริกไทย ทำได้โดยวิธีปักชำ โดยตัดส่วนลำต้นที่ไม่แก่จัดยาวประมาณ 5-7 ข้อ ปักชำไว้จนรากงอกออกมาแข็งแรง แล้วจึงนำไปปลูก โดยต้องทำค้างไว้เกาะด้วย พริกไทยสามารถขึ้นได้ ในดินทั่วๆไปที่มีการระบายน้ำได้ดี และชอบอากาศที่อบอุ่นและชื้น
การขยายพันธุ์พริกไทยด้วยวิธีการตอนกิ่ง :
วิธีการตอนพริกไทย จะใช้ขุยมะพร้าวไปหุ้มบริเวณข้อที่มีตุ่มราก เหมือนการตอนทั่วไป แต่ไม่ต้องควั่นกิ่งเหมือนกับตอนกิ่งไม้ผล หลังจากหุ้มข้อได้ประมาณ 1 เดือน รากบริเวณข้อที่หุ้มจะงอกออกมา เมื่อเห็นรากขาวเจริญจนเต็มถุง จึงตัดกิ่งมาชำไว้นานประมาณ 1 เดือน พริกไทยก็จะแตกยอดออกมาใหม่ 1-2 ชุด ซึ่งพร้อมสำหรัยการนำไปปลูกหรือจำหน่าย โดยคุณสมบูรณ์จะเลือกตอนกิ่งในช่วงฤดูฝน ทำให้ในแต่ละปีมีรายได้จากการขายกิ่งตอนพริกไทยราคาต้นละ 15-20 บาท วิธีการเลือกกิ่งตอนจะใช้วิธีนับข้อจากปลายยอดเข้ามา 3 ข้อ (พริกไทย 1 ยอด จะตอนได้ประมาณ 4-5 ตุ้ม เนื่องจากมีแขนงมาก)
ในทางวิชาการการขยายพันธุ์ต้นพริกไทยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการปักชำ โดยใช้ลำต้นหรือเถาของส่วนยอดหรือส่วนอื่นที่ไม่แก่จัด ที่มาอายุประมาณ 1-2 ปี เกษตรกรจะต้องตัดจากต้นที่สมบูรณ์, แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง นำกิ่งพันธุ์มาตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร (มีข้อ 5-7ข้อ) ลิดใบทิ้งและตัดกิ่งแขนงตรง 3-4 ข้อล่างออก นำยอดไปปักชำในกระบะหรือชำใส่ในถุงดำ ให้ข้ออยู่ใต้ระดับดิน 3-4 ข้อ เมื่อรากเจริญดีจึงย้ายปลูกแปลง
การเพาะปลูก
พริกไทยมีแหล่งกำเนิดอยู่ในบริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจ ของประเทศที่มี อากาศร้อน เช่น บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฯลฯ พริกไทย มีลักษณะลำต้นเป็นเถาเลื้อย มีราก เล็ก ๆ ออกตามข้อของลำต้น เพื่อใช้ในการยึดเกาะ ใบรูปไข่เรียวสลับกันไป ดอกเป็นช่อยาว ออกตรงซอกใบ ดอกย่อยสมบูรณ์เพศสีขาว ผลมีลักษณะกลมจัด เรียงตัวแน่นอยู่บนแกน ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดง การขยายพันธุ์พริกไทย ทำได้โดยวิธีปักชำ โดยตัดส่วนลำต้นที่ไม่แก่จัดยาวประมาณ 5-7 ข้อ ปักชำไว้จนรากงอกออกมาแข็งแรง แล้วจึงนำไปปลูก โดยต้องทำค้างไว้เกาะด้วย พริกไทยสามารถขึ้นได้ ในดินทั่วๆไปที่มีการระบายน้ำได้ดี และชอบอากาศที่อบอุ่นและชื้น
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
พริกไทยแบ่งตามวิธีการเก็บ และเตรียมได้เป็น 2 ชนิด คือพริกไทยดำ (black pepper) และพริกไทยขาวหรือพริกไทยล่อน (white pepper) พริกไทยดำ เตรียมได้จากการนำผลพริกไทยที่โตเต็มที่ มาตากแห้ง ส่วนพริกไทยล่อนได้จากการนำผลพริกไทยที่สุกแล้ว มาแช่ในน้ำ เพื่อลอกเปลือกชั้นนอกออกไป จากนั้นนำไปตากแห้ง
พันธุ์พริกไทย
พันธุ์ซาราวัค หรือพันธุ์คุชซิ่ง
พันธุ์ที่ชาวสวนพริกไทยจังหวัดจันทบุรี นิยมเรียกพันธุ์มาเลเซียนั่นเอง เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก เป็นพันธุ์ที่นำมาจากรัฐซาราวัค ประเทศมาเลเซียสามารถต้านทานโรครากเน่าได้ดีกว่าพันธุ์จันทบุรี ซึ่งปลูกอยู่แต่เดิม เจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า ถ้าต้นสมบูรณ์จะให้ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย ประมาณ 9-12 กิโลกรัมต่อค้างต่อปี หรือไร่ละประมาณ 3,600-4,800 กิโลกรัมต่อปี แต่ส่วนใหญ่ การเจริญเติบโตในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกัน ผลผลิตก็แตกต่างกันไป
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ซีลอนยอดแดง
เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา นิยมปลูกเพื่อขายเป็นพริกไทยสด มากกว่าทำพริกไทยดำหรือขาวลักษณะของยอดจะออกสีน้ำตาลแดง จึงเรียกกันว่า “ซีลอนยอดแดง”
ลักษณะประจำพันธุ์
พันธุ์ซีลอนยอดขาว
เป็นพันธุ์พริกไทยที่นำมาจากประเทศศรีลังกา เช่นเดียวกันกับพันธุ์ซีลอนยอดแดง พริกไทยพันธุ์นี้ความจริงเป็นพริกไทยพันธุ์ PANIYUR-1 ซึ่งเป็นพริกไทยพันธุ์ลูกผสมของประเทศอินเดีย ระหว่างพ่อพันธุ์ Uthirankota กับแม่พันธุ์ Cheriyakaniyakadan (John.K.Ghanara tham, 1994) พริกไทยพันธุ์นี้จะมีลักษณะเถาอ่อน สีจะเขียวอ่อนเกือบขาวโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน จึงนิยมเรียกว่า “ซีลอนยอดขาว” เนื่องจากมีผู้นำพันธุ์มาจากประเทศศรีลังกา (ซีลอน) ลักษณะต่าง ๆ จะคล้ายกับพันธุ์ศรีลังกาที่แตกต่างกันชัดเจนก็คือส่วนยอด ช่อผลจะยาวกว่าพันธุ์ศรีลังกาเล็กน้อย การเจริญเติบโตเร็วกว่าพันธุ์ซาราวัค ผลสดจะมีลักษณะโตกว่าพันธุ์ซาราวัค นิยมปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นพริกไทยสด เพื่อส่งโรงงานทำพริกไทยดอง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การเตรียมดิน
ป่าเปิดใหม่ ต้องขุดตอ เก็บรากไม้เศษหญ้าออกให้หมดเสียก่อนขุดดิน ตากดินทิ้งไว้ 15 วัน แล้วจึงไถพรวน แล้วปรับหน้าดิน
พื้นที่ลาดชันเกิน 15 องศาต้องปรับพื้นที่แบบขั้นบันได
วิธีการปลูก
การเตรียมกิ่งพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ
ตัดจากค้างที่สมบูรณ์ เหนือพื้นดิน 50 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนยาว 5-6 ข้อ ตัดกิ่งแขนง ข้อที่ 1-3 ดอก แล้วนำไปปลูกหลุมละ 20 กิ่ง
นำกิ่งพันธุ์ที่ตัดเป็นท่อนแล้ว ปักชำในถุงพลาสติก ขนาด 9×14 นิ้ว ประมาณ 2-3 เดือน พริกไทยจะงอกรากและแตกยอด จึงย้ายปลูกในแปลง
ระยะปลูก
การปักค้าง
ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซีเมนต์ ขนาด 4x4x4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น หลังจากนั้น ขุดหลุมขนาด 40×60 เซนติเมตร ลีก 40 เซนติเมตร ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ผสมดินกันปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1:1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครี่งหลุม นำยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลุกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม ใช้วัสดุพลางแสง ประมาณ 3-6 เดือน จนกว่าพริกไทยจะตั้งตัวได้
การตัดแต่ง
การให้น้ำ
ควรให้แบบ mini sprinkler
ระยะเวลาการให้น้ำ หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน/ครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้วควรให้ 3-4 วัน/ครั้งตามสภาพดินฟ้าอากาศ
แมลงศัตรูพริกไทย
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน