ใบพลูนิยมกินกับหมากและปูนเป็นของขบเคี้ยว เป็นที่นิยมของผู้คนในหลายประเทศในเขตเอเชีย โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่นิยมการรับประทานหมาก พลูที่ใช้รับประทานกับหมากส่วนใหญ่จะเป็นพลูที่มีใบสีเขียวเข้มมากกว่าพันธุ์ที่มีใบสีออกเหลืองทอง นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายสีสู่ขวัญ ซึ่งต้องใช้หมากพลูเป็นเครื่องเซ่นไหว้ ช่วยรักษาอาการซ้ำบวม รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการไอเจ็บคอ และขับเสมหะ โดยคั้นน้ำจากใบพลูสดนำมาดื่ม ทำให้ลมหายใจหอมสดชื่น
พลู Piper betle Linn. Piperaceae
ชื่อสามัญ BETEL VINE
ชื่อท้องถิ่น : เปล้าอ้วน ซีเก๊าะ (มลายู – นราธิวาส ) พลูจีน (ภาคกลาง) พลูหลวง ปู เปล้าย้วน ซีเก๊ะ
ลักษณะของพืช
พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อ และมีปล้องชัดเจน ใบเดี่ยวติดกับลำต้น แบบสลับคล้ายใบโพธิ์ ปลายแหลม หน้าใบมัน ดอกออกรวมกันเป็นช่อแน่น
พลูเป็นไม้เลื้อย มีข้อและปล้องชัดเจน ที่ข้อมีรากสั้น ๆ ออกรอบข้อ ใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับลักษณะของใบคล้ายใบโพธิ์ ปลายใบแหลม ผิวใบมัน ดอกออกรวมกั้นเป็นช่อแน่น ปลูกโดยใช้ลำต้นปักชำ ขึ้นง่าย คนแก่ใช้ทาปูนแดง รับประทานกับหมาก
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะเป็นสีเขียว และใบแก่สีจะเข้มขึ้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 ซม. จะออกตามเถาบริเวณตา ใบจะมีกลิ่นฉุน พลูนั้นจะมีหลายชนิดคือพลูจีน พลูเหลือง พลูเขียว และพลูทองหลาง
ชนิดของพลู
น้ำมันหอมระเหยใบพลู หรือ Betel Vine สกัดจากใบพลู น้ำมันหอมระเหยมีสีเหลืองออกน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นฉุนค่อนข้างมาก มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้หลายชนิด เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในครีม หรือน้ำมันนวดบริเวณช่องท้องเพื่อดูแลระบบทางเดินอาหาร
สรรพคุณของใบพลูคือ ใบช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง แก้ลมพิษและฆ่าพยาธิ รักษาแผลช้ำบวม เลือดกำเดาออก แก้ลมพิษ แก้อาการคัน น้ำมันจากใบแก้คัดจมูก อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
“พลู” มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ สารที่เรียกว่า ชาวิคอล(chavicol) ยูจีนอล(eugenol) เบต้าซิโตสเตอรอล (-sitosterol) และซินีออล (cineol)เป็นต้น
สารสำคัญในใบพลูมีหลายชนิด ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ยับยั้งการเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง ต้านเชื้อราของโรคผิวหนังและกลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุต น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ลดการปวดบวมของกล้ามเนื้อ เคล็ด ขัดยอก
การใช้ใบพลูรักษาโรคและอาการต่างๆ นั้น พบว่ามีการใช้แบบง่ายๆ อาทิ ดับกลิ่นปาก ใช้เคี้ยวแล้วคายทิ้งวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยดับกลิ่นปากได้ ดับกลิ่นกายใช้ใบสดขยี้ให้แหลกแล้วใช้ทาถูที่ใต้รักแร้เป็นประจำ แก้ลมพิษ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้ทาจนหาย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียด คั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อนสักหนึ่งแก้วดื่ม ช่วยลดอาการปวดจุก แน่นเฟ้อ และบำรุงกระเพาะอาหารด้วย ลดปวดบวม ใช้ใบพลูเลือกใบใหญ่ๆ นำไปอังไฟให้ร้อน ใช้ไปประคบบริวณที่ปวดบวมช้ำ รักษากลากและฮ่องกงฟุต เอาใบสดโขลกให้ละเอียดดองกับเหล้าขาวทิ้งไว้ 15 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดที่เจริญเต็มที่ มีรสเผ็ด
ขนาดและวิธีใช้ สำหรับรักษาลมพิษ ใช้ใบพลูสด 3-4 ใบ ตำผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น วันละ 3-5 ครั้งก็จะหาย ขนาดและวิธีใช้ สำหรับรักษากลากเกลื้อน ใช้ใบพลูสด 3-4 ใบ ตำ ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น วัน ละ 3-4 ครั้ง ทานาน 3-5 อาทิตย์ เพื่อให้เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลาก หายขาด
สรรพคุณ
– แก้ลมพิษ การที่ใบพลูสดสามารถรักษาลมพิษได้ เพราะใบพลูมีน้ำมันพลู (คือ BETEL OIL) มีฤทธิ์ทำให้ปลายประสาทชาจะทำให้หายคัน และผื่นลมพิษจะยุบ
– รักษากลาก การที่ใบพลูสดสกัดด้วยเหล้าโรง สามารถรักษาโรค กลากให้หายได้ เพราะในใบพลูสดมีน้ำมันพลู (BETEL OIL) ซึ่งมีสาร หลายชนิดที่สำคัญคือ “ชาวิคอล” เป็นตัวออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
วิธีการปลูกพลู
ให้เตรียมดินโดยขุดดินตากไว้ 24 สัปดาห์ แล้วจึงพรวนดินอีกครั้งก่อนปลูกใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 1.52 เมตร ระหว่างแถว 1.5 เมตรขุดหลุมขนาดกว้างยาวและลึก 50 ซม. 40 ซม. และ 30 ซม. ตามลำดับ ใช้ปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินใส่หลุมจนเต็มหลุมทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงนำยอดเถาที่ปักชำไว้แล้ว 3 สัปดาห์ ลงปลูกในหลุมสำหรับยอดเถาที่ใช้เป็นท่อนพันธุ์นั้น ควรยาว 3050 ซม. มีข้ออยู่ 57 ข้อ และไม่ควรใช้กิ่งแขนงทำเป็นท่อนพันธุ์เพราะมักจะไม่แตกพุ่ม เมื่อนำท่อนพันธุ์ลงปลูกแล้ว ควรใช้เชือกยึดเถาไว้กับไม้หลักชั่วคราว ซึ่งใช้ไม้ไผ่ขนาดเล็กยาว 1 เมตร และควรทำร่มบังแสงให้ด้วย รดน้ำทั้งเช้าและเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นอาจเว้นได้บ้าง เมื่ออายุ 12 เดือน จึงเอาวัสดุบังร่มออก และเมื่ออายุ 3 เดือนจึงทำค้างถาวร โดยใช้ไม้แก่นหรือไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลาง 611 ซม. สูง 33.5 เมตร ปักห่างจากต้นประมาณ 15 ซม. ลึกลงไปในดิน 1 เมตร มัดไม้หลักชั่วคราวให้ติดกับหลักใหม่ ต่อมารากที่ออกตามข้อจะเกาะติดกับหลักและต้นพลูก็จะเจริญเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามไม้ค้างพลู เมื่อต้นพลูตั้งตัวได้แล้วจึงรดน้ำวันเว้นวัน
การบำรุงรักษา พรวนดินกำจัดวัชพืชรอบโคนต้นเพื่อให้แปลงโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และป้องกันเชื้อโรคและแมลงต่างๆ อาศัย ตัดแต่งกิ่งเมื่ออายุมากโดยหักข้อที่กิ่งแขนงไม่แตกใบออก กิ่งแขนงที่จำนวนข้อมากเกินไป ก็ควรหักให้เหลือเพียง 57 ข้อ การตัดกิ่งควรทำทุกๆ 3เดือน ใส่ปุ๋ยคอก 3 เดือนต่อครั้ง นอกจากนี้ควรป้องกันและกำจัดโรคและแมลงต่างๆ ด้วย
การเก็บใบพลูและการแต่งกิ่ง
การจัดใบพลูเพื่อจำหน่าย
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน