พิธีสืบชะตาแม่น้ำ ภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีคุณค่าและความหมาย

10 พฤศจิกายน 2556 ภูมิปัญญา 0

พิธีสิบชะตาแม่น้ำ เป็นพิธีกรรมทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน ซึ่งมีรากฐานจากพิธีสืบชะตาบ้านเมือง และชะตาคน อันเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีคุณค่าและความหมาย นอกจากเป็นการเรียกขวัญกำลังใจกลับคืนมาแล้ว ยังเป็นการใช้กุศโลบายซึ่งเข้ากับวิถีชุมชน ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคี เกื้อกูล ช่วยกันแก้ไขปัญหา และเกิดความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลแม่น้ำ ส่งผลดีต่อระบบนิเวศวิทยาแม่น้ำ และประการสำคัญที่สุด เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำให้เกิดความยั่งยืน เกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม

serbchatanams

พิธีสืบชะตาแม่น้ำเป็นพิธีกรรมที่คิดริเริ่มขึ้นมาใหม่ไม่มีในตำรา ไม่มีในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมสืบชะตาต่ออายุให้คน ผู้ที่ริเริ่มทำพิธีสืบชะแม่น้ำ คือ พระมานัสนทีพิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นการนำความเชื่อทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นเมืองทางภาคเหนือ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมและได้ตระหนักถึงคุณค่าของแม่น้ำและลำธาร รวมทั้งหาแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศลำน้ำที่สูญเสียไปให้ฟื้นคืนสู่สภาพสมดุล

เครื่องสืบชะตา ได้แก่ ไม้ค้ำโพธิ์ หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ หน่ออ้อย หน่อกล้วย กล้วย มะพร้าว ขันหมาก ข้าวสาร ข้าวเปลือกเสื้อใหม่ หมอนใหม่ ไม้ขนุน ใบเงิน ใบทอง ใบแก้ว ต้นไม้ที่เป็นมงคล เป็นต้น ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีความแตกต่างกันบ้าง

ช่วงเวลา เดือน ๑๒ เหนือ ขึ้น ๖ ค่ำ

ความสำคัญ
พิธีสืบชะตาแม่น้ำประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้าน มีความสำคัญดังนี้

  1. ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน
  2. ทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ
  3. เกิดความรักหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร

serbchatanam

พิธีกรรม

  1. ก่อนทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกัน ขุดลอกลำคลองและแหล่งน้ำ โดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือพื้นบ้าน
  2. ในวันกระทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ
  3. เครื่องสืบชะตาประกอบด้วย กระโจมไม้สามขา ท่อนแสก เรียกว่าสะพานเงิน สะพานทอง อีกท่อนหนึ่ง จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก ๆ จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข ๙ เครื่องประกอบอื่น ๆ ได้แก่กระบอกน้ำ หน่อกล้วย อ้อย ลูกมะพร้าว หม้อเงิน หม้อทอง เทียนถุง เมี้ยง บุหรี่ หมากพลู ข้าวตอกดอกไม้รวมกันในด้ง บทสวดที่ใช้ในการสืบชะตาแม่น้ำ คือบทสืบชะตาหลวง (อินทชาตา, ชินบัญชร อัฏฐอุณหัสสและธรรมสาลาวิจารสูตร)

serbchatanampitee

serbchatanamloy

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ภูมิปัญญา

แสดงความคิดเห็น