แม่พิมพ์ โถตันคำ เดิมเป็นคนกาฬสินธุ์ หลังสมรสกับนายทอง โถตันคำ ซึ่งเป็นคนสกลนคร จึงได้ย้ายถิ่นฐานมาสร้างครอบครัวที่บ้านเลขที่ 93 หมู่ 3 บ้านนาขาม ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก หลังสามีเสียชีวิต ต้องหาเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน มารับจ้างที่กรุงเทพมหานครนาน 3 ปี จึงหันกลับบ้าน หวังจะดูแลลูกและอยู่ด้วยกันด้วยความอบอุ่น เริ่มศึกษาเรียนรู้วิถีเกษตรผสมผสาน จากปราชญ์ชาวบ้านเครือข่ายอินแปง พ่อเขียน ศรีมุกดา ให้แนวคิดการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกพืชผักที่กินในชีวิตประจำวัน แม่พิมพ์จึงได้นำความรู้มาดำเนินกิจกรรมในแปลงเกษตรของตนเอง
เริ่มจากขยายคันนาให้กว้างเพื่อปลูกพืชผัก และจัดสรรให้มีป่าหัวไร่ปลายนา อุตสาหะหาบน้ำรดพืชผัก กระทั่งออกดอกผลงดงาม หลังทำเกษตรผสมผสานได้ผลดี แม่พิมพ์แบ่งปันความรู้ ขยายแนวคิดเกษตรผสมผสาน คันนาใหญ่และวิถีการพึ่งตนเองไปยังญาติพี่น้อง ชักชวนมาลองดู มาลองทำ เป็นแบบอย่างของชุมชน หวังให้ชุมชนที่อยู่และชุมชนรอบข้างมีข้าว มีปลากินอุดมสมบูรณ์ และมีพื้นที่สำหรับปลูกป่าหัวไร่ปลายนา ด้วยหวังว่าเมื่อปลูกป่าให้เป็นดง หมู่หงส์จะคืนนา หมู่ปลาจะคืนน้ำ
ภูมิหลัง (กิจกรรมที่เกิดขึ้น ลักษณะการดำรงชีวิต วิถีชีวิตเดิม ก่อนก่อตั้งศูนย์ต้นแบบ)
แม่พิมพ์ มีองค์ความรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสาน บริหารจัดการทรัพยากรที่มีในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างพื้นที่ของตนเองซึ่งแต่ก่อนเป็นพื้นที่ทำนาทั้งหมด มาเป็นแปลงเกษตรผสมผสาน โดยขยายคันนาให้กว้างประมาณ 4 เมตร สูง 1 เมตร สำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ ไม้ผล สมุนไพร ไม้ใช้สอย จัดสรรพื้นที่สร้างแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในแปลงเกษตร เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ยังคงการทำนาไว้ แต่เปลี่ยนเป็นการทำนาอินทรีย์ นอกจากนี้ยังมีการสร้างมูลค่าและคุณค่าของผลผลิตทางการเกษตร เช่น การทำข้าวฮาง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวนาสมัยก่อน มีสมาชิกในครอบครัวจำนวนมาก ถ้าปีใดเกิดภัยแล้ง ข้าวที่เก็บในยุ้งฉางไม่เพียงพอต่อการบริโภค ต้องหาวิธีนำข้าวที่กำลังจะสุกเต็มที่มารับประทาน จึงได้นำข้าวมาทำเป็นข้าวฮาง จะได้ข้าวที่มีกลิ่นหอม นุ่ม น่ารับประทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง
แม้เวลาจะผ่านมากว่า 10 ปี ความรู้สึกกัดเซาะในช่วงเวลาที่ผ่าน ยังไม่หายจากการที่เสียสามีที่เป็นเสาหลักของครอบครัว พิมพ์ โถตันคำ ต้องแบกรับภาระ เป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ ให้กับลูกสาวทั้ง 3 คนในเวลาเดียวกัน เคยท้อให้กับความยากลำบาก แต่ชีวิตยังเหลือสิ่งที่ล้ำค่าที่สุด นั่นคือลูกสาวทั้ง 3 คน รอยยิ้มของลูกน้อยเป็นแรงผลักดัน ให้ความสูญเสียที่ได้รับในวันนั้นได้แปรเปลี่ยน กลายเป็นพลังให้สู้ นางพิมพ์ โถตันคำ ได้เรียนรู้การเกษตร
เมื่อปี พ.ศ.2539 และได้ตัดสินใจกู้ยืมเงิน ธ.ก.ส.เป็นเงิน 150,000 บาท เพื่อนำมาเป็นทุนในการทำไร่อ้อยบนที่ดิน 21 ไร่ ที่สามีทิ้งไว้ให้ ในปีนั้นเองหลังจากความแห้งแล้งผลผลิตอ้อยไม่ดี นางพิมพ์ โถตันคำ ขาดทุนในการปลูกอ้อยอย่างสิ้นเชิง จึงได้หยิบยืมเงินจากเพื่อนบ้านเพื่อนำมาเป็นค่าศึกษาให้กับลูกๆ เมื่อปี พ.ศ.2542 นางพิมพ์ โถตันคำ ได้เรียนรู้วิชาการเกษตรแบบผสมผสานจากปราชญ์ชาวบ้านเครือข่ายอินแปง พ่อเขียน ศรีมุกดา โดยในวันนั้นพ่อเขียน ศรีมุกดา ได้ให้แนวคิดแบบผสมผสานปลูกพืชผักที่กินได้ในชีวิตประจำวัน
ในวันนั้นแม่พิมพ์ ได้นำความรู้มาดำเนินกิจกรรมในแปลงเกษตรของตนเอง เริ่มจากการขยายแปลงนาให้กว้าง การให้มีป่าหัวไร่ปลายนา ปลูกทุกอย่างที่กิน กินผักทุกอย่างที่ปลูก ทนสู้อุตสาหะรดน้ำจนออกดอกออกผลเริ่มนำผลที่ปลูกได้มากินเองในครอบครัว แบ่งปันญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงสุดท้ายเมื่อเหลือค่อยนำไปขายยังตลาด หลังจากทำการเกษตรแบบผสมผสานได้ผลดี แม่พิมพ์ขยายคันนาใหญ่แบ่งปันวิชาความรู้ไปยังญาติพี่น้องชักชวนมาลองดูมาลองทำเป็นแบบอย่างของชุมชน หวังให้ชุมชนที่อยู่และชุมชนรอบข้าง มีข้าวมีปลากินและมีพื้นที่สำหรับปลูกป่าหัวไร่ปลายนา ปลูกป่าให้เป็นดงหมู่หงส์จะคืนนา นาจะคืนน้ำ
จากผลแห่งความมุมานะไม่ท้อ ส่งผลให้ปัจจุบันแม่พิมพ์ นับเป็นบุคคลที่ประสพผลสำเร็จในการเกษตร มีองค์ความรู้ทำเกษตรแบบผสมผสาน มีความชำนาญในองค์ความรู้เรื่องการเกษตรแบบผสมผสานบริหารจัดการทรัพยากรที่มีในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างพื้นที่ของตนเองที่เป็นนาทั้งหมดมาเป็นแปลงเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกผักปลอดสารพิษ ไม้ผล ไม้ดอก สมุนไพร ใช้สอยจัดสรรพื้นที่สร้างแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการทำการเกษตรเลี้ยงปลาเลี้ยงกบยังคงการทำนาไว้แต่เปลี่ยนเป็นการทำนาแบบอินทรีย์
นอกจากนี้ยังมีการทำมูลค่าการสร้างคุณค่าจากการทำการเกษตรเช่นการทำข้าวฮางสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองมากกว่าแต่ก่อนได้อย่างมั่นคงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จากแนวทางในการดำเนินชีวิตนางพิมพ์ โถตันคำ มีแนวคิดทางการเกษตรอย่างพออยู่พอกินเพื่อให้ครอบครัวมีความมั่นคงทางอาหารอย่างพอเพียง เป็นการลดรายจ่ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2542
ในปี พ.ศ.2548 สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้เล็งเห็นถึงความสำเร็จผลจากความพยายามไม่ย่อท้อเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต ได้คัดเลือกแปลงเกษตรของนางพิมพ์ โถตันคำ เป็นแบบอย่างการเรียนรู้ทางการเกษตร ในเรื่องเกษตรพอเพียงตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง เช่นการผลิตปัจจัยใช้เองและการผลิตในครัวเรือน ในปี พ.ศ.2550 สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสกลนครได้คัดเลือกแปลงเกษตรของนางพิมพ์ ให้เป็นแปลงเกษตรของปราชญ์ชาวบ้าน โดยเมื่อปี พ.ศ.2551 ตั้งให้เป็นแปลงเกษตรเรียนรู้ของกลุ่มเพื่อให้เกิดการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ในการดำเนินชีวิตและให้เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยการอบรมเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ให้ไปปฏิบัติจริง และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ผ่านกระบวนการการถ่ายทอดความรู้
มีทั้งการบรรยายการสาธิต การฝึกปฏิบัติในห้องเรียนที่ปลายกลุ่ม และการศึกษาดูงานประกอบด้วยฐานความรู้ 5 ฐาน ประกอบด้วย ฐานของใช้ ฐานเพาะปลา ฐานของกบ ฐานอาหารสัตว์ และฐานขยายพันธุ์พืช และเนื้อหาอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเลี้ยงปลานาข้าว ผักพื้นบ้าน ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ การตอนกิ่ง การเสียบยอด
ศูนย์เรียนรู้นางพิมพ์เปิดอบรมไปแล้ว 13 รุ่น อบรมไปแล้วนับพันคน จุดเด่นของศูนย์คือการให้ความรู้ทางการเกษตรและการดำเนินชีวิตประจำวันที่ลดรายจ่ายอยู่อย่างพอเพียง เนื้อหาการอบรมจึงครอบคลุมการเกษตรแบบผสมผสาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีการอบรมเรื่องการทำผงนัวแทนผงชูรส การทอผ้าพื้นบ้าน การนำศิลปะพื้นบ้านมาประกอบการอบรมเช่นกลอนพื้นบ้านแบบผสมผสานและกลอนรำพื้นบ้าน
นางพิมพ์ โถตันคำ กล่าวว่า ที่ดินที่จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรแห่งนี้ เดิมเป็นที่นาทั้งหมด 21 ไร่ หลังจากได้แนวคิดและแรงบันดาลใจ จากการศึกษาดูงาน จึงทำการปรับที่นาให้มีคันคูกว้าง พอที่จะปลูกผักสวนครัวต่างๆ ทั้งผลไม้ ไม้ยืนต้น ทั้งพืชที่มีอายุสั้นและพืชที่มีอายุยาว กล่าวคือ ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก การใช้ปุ๋ยใส่พืชผักสวนครัว แม่พิมพ์จะใช้ปุ๋ยชีวภาพ ที่ทำขึ้นเองทั้งหมด ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถสร้างรายได้ให้แม่พิมพ์ตลอดปี ทั้งขายปลา ขายผักสวนครัวต่างๆ หลังจากทำเกษตรผสมผสานได้ผลดี แม่พิมพ์แบ่งปันความรู้ ขยายแนวความคิดเป็นแบบอย่างของชุมชน บริหารจัดการทรัพยากรที่มีในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างพื้นที่ของตนเอง ซึ่งแต่ก่อนเป็นพื้นที่นาทั้งหมด มาเป็นแปลงผสมผสาน เป็นการสร้างมูลค่า และคุณค่าของผลผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนผู้นำสตรีในวิสาหกิจชุมชน ให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นฐานพลังในการขับเคลื่อนการจัดการผลิตและการตลาดอย่างมีระบบ เพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และ มีเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป หากใครต้องการเข้าศึกษาที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ที่หมายเลข 08-7048-4124
ประสบการณ์ (ความชำนาญ ความสามารถที่โดดเด่น เรื่องการเกษตร หรือเรื่องอื่นๆ)
ลักษณะกิจกรรมในศูนย์ต้นแบบ (กิจกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์ต้นแบบ เช่นการทำปุ๋ยหมัก ฯลฯ
โดยอธิบายขั้นตอนการเกิดกิจกรรม พร้อม รูปภาพประกอบ)
องค์ความรู้ (ความรู้ของเจ้าของศูนย์ต้นแบบ โดยการอธิบายองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น)
การทำข้าวฮาง
การดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
1. ความพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล
3. การมีภูมิคุ้มกัน ถึงแม้ชีวิตจะเลวร้ายแค่ไหนก็อยู่ได้ เพราะพออยู่ พอกิน พึ่งพาเราเองได้ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำให้ครอบครัวมีความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะข้าวเป็นอาหารหลัก
4. ความรอบรู้ ความรอบคอบ
5. คุณธรรมและจริยธรรม
93 หมู่ 19 บ้านนาขาม, ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร, 47180
ป้ายคำ : ปราชญ์