มหาชีวาลัยอีสาน มหาวิทยาลัยชีวิตสร้างองค์ความรู้คู่ชาวอีสาน

30 สิงหาคม 2555 แหล่งเรียนรู้ 0

มหาชีวาลัยอีสาน ริเริ่มโดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง จ.บุรีรัมย์ ระยะแรกมหาชีวาลัยอีสานร่วมอยู่กับโครงการโรงเรียนชุมชนอีสาน ที่มี อ.สเน่ห์ จามริก พร้อมด้วยอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ และข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ จากนั้นครูบาสุทธินันท์จึงได้นำฐานความรู้นั้นมาขยายเพิ่มเติมให้กว้างขึ้นเป็นการสร้างชุดองค์ความรู้ที่เป็นของชุมชนเองขึ้นมา กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การนำโจทย์ชีวิตของคนในชุมชนรวมกับโจทย์ทางสังคมมาขบคิดและตีให้แตก เป็นการสร้างคนให้สอดคล้องกับชุมชน ซึ่งถ้าสามารถสร้างคนในแต่ละตำบลหรืออำเภอได้ เขาเหล่านั้นจะกลายเป็นตัวเชื่อมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีโครงการจัดการความรู้ชุมชน K.M. บุรีรัมย์ (Knowledge Management) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม 2548 ที่ี่บ้านปากช่อง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักวิชาการจากส่วนกลางและภูมิภาค ส.ส.ในพื้นที่ นักศึกษาฝึกงาน และนักศึกษาที่ได้รับทุนจากชีวาลัยอีสาน ซึ่งสร้างพันธมิตรทางวิชาการจะได้ร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ให้กับชุมชน

ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เล่าถึงความเป็นมาของ “ชีวาลัยอีสาน”มหาวิทยาลัยชีวิตบนที่ราบสูง สร้างองค์ความรู้ประจำหมู่บ้าน ว่าย้อนกลับไปในห้วงปี 2535-2536 มีสิ่งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัวพลาสติก” เกิดขึ้น สาเหตุเนื่องจากชาวบ้านได้รับวัวสายพันธุ์ออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงตามนโยบาย ของรัฐบาลสมัยนั้น แต่เมื่อนำมาเลี้ยงแล้ว กลับพบว่าไม่เป็นไปตามคำโฆษณาของเจ้าของโครงการ วัวสายพันธุ์ดังกล่าวไม่มีคุณภาพ ติดลูกยาก ไม่ได้ผลผลิตดีจริงตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญาพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เล่าถึงความเป็นมาของ มหาชีวาลัยอีสาน ว่าย้อนกลับไปในห้วงปี 2535-2536 มีสิ่งที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัวพลาสติก” เกิดขึ้น สาเหตุเนื่องจากชาวบ้านได้รับวัวสายพันธุ์ออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงตามนโยบาย ของรัฐบาลสมัยนั้น แต่เมื่อนำมาเลี้ยงแล้ว กลับพบว่าไม่เป็นไปตามคำโฆษณาของเจ้าของโครงการ วัวสายพันธุ์ดังกล่าวไม่มีคุณภาพ ติดลูกยาก ไม่ได้ผลผลิตดีจริงตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง

ชาวบ้านจึงนำวัวดังกล่าวมาเทียบกับการซื้อของปลอม หรือของที่เป็นพลาสติก ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตัวนโยบายจริงๆ เวลานำมาปฏิบัติมีสิ่งแอบแฝงอยู่มากมาย ชาวบ้านมักพบเจอแต่เรื่องไม่จริง เหมือนเป็นหนูทดลองยา มหาชีวาลัยจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นการปลุกให้ชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานตื่นขึ้นมา และหันหน้าเข้าหากัน เพื่อสรรค์สร้างชีวิตของพวกเขาเอง

ครูบาสุทธินันท์ เล่าว่า ในระยะแรกมหาชีวาลัยร่วมอยู่กับโครงการโรงเรียนชุมชนอีสาน ที่มี อ.สเน่ห์ จามริก พร้อมด้วยอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ เข้ามาร่วมมือกัน จากนั้นครูบาสุทธินันท์ จึงได้นำฐานความรู้จากที่นั่นมาขยายเพิ่มเติมให้กว้างขึ้น โดยการนำความรู้ที่เป็นศาสตร์สากลเข้ามาร่วมด้วย เพราะอยากให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สร้างชุดองค์ความรู้ที่เป็นของชุมชนเองขึ้นมา

ทั้งนี้กระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญของชุมชน คือการนำโจทย์ชีวิตของคนในชุมชนรวมกับโจทย์ทางสังคมมาขบคิดและตีให้แตก โจทย์ชีวิตและโจทย์ทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวรวดเร็ว ถ้าใช้แนวทางการเรียนรู้แบบเดิม แก้ปัญหาไม่ทัน ต้องทำให้ความรู้อยู่กับคนและเป็นสิ่งที่ติดกับตัวคนไปตลอด ผลที่ได้จะเป็นการสร้างคนให้สอดคล้องกับชุมชน ซึ่งทำในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ โคราช และสุรินทร์

“ตัวหลักจริงๆ ของคนที่เข้าร่วมมีประมาณ 100 กว่าคน เพราะมันทำยากเหมือนกันนะ เวลาเราจะสร้างคนให้เป็นพระเอก มันจะต้องมาคัดและทำให้เข้มข้น จะทำในแบบเยอะๆ ไม่ได้ ถ้าในจุดใดจุดหนึ่งเราสร้างคนได้สักคนมันจะเห็นผลเลย ก็เหมือนกับพระพยอม กัลยาโณ เพียงรูปเดียว เมื่อเทียบกับพระรูปอื่นเยอะแยะ ทำไมบทบาทของพระพยอมถึงน่าสนใจ และศักยภาพในตัวท่านครอบคลุม มีความรอบรู้ และมันก็โดนใจคน ดังนั้นถ้าในแต่ละอำเภอหรือตำบลเราสร้างคนขึ้นมาได้ เขาก็จะกลายเป็นตัวเชื่อมในพื้นที่เหล่านั้น” ครูบาสุทธินันท์เล่าถึงโครงการใหม่ที่กำลังเริ่มขึ้นในชีวาลัยอีสาน

นั่นก็คือโครงการการจัดการความรู้ชุมชน K.M.บุรีรัมย์ (knowledge Management) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคมนี้ ที่บ้านปากช่อง อ.สตึก จ .บุรีรัมย์ โดยจะมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยนักวิชาการทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาค ส.ส. ในพื้นที่ รวมถึงนักศึกษาฝึกงาน และนักศึกษาที่ได้รับทุนจากชีวาลัยอีสาน ซึ่งพันธมิตรทางวิชาการทั้งหลายจะได้ร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ให้ กับชุมชน

ครูบาสุทธินันท์ได้ยกตัวอย่างการสร้างชุดความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการ เรียนรู้ร่วมกันของคนกลุ่มต่างๆ ว่า ต้องให้มีการทำเรื่องใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้านาย ก.ชอบปลูกแตง ก็ให้ลองปลูกแตงหลายๆ ชนิด แตงไทย แตงกวา แตงโม แตงญี่ปุ่น ฯลฯ ทำด้วยมือใน 1 ปี ก็จะได้ข้อสรุปว่าในพื้นที่นี้ควรปลูกแตงอะไรทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น เคยปลูกเพียงไม่กี่ชนิด แต่พอมาเป็นอาจารย์แตง ได้ปลูกจริงๆ หลายชนิด ต่อไปถ้าใครอยากจะมีความรู้เรื่องแตง อาจารย์แตงก็จะเล่าให้ฟังได้ว่ากระบวนการปลูก และพัฒนาสายพันธุ์เป็นอย่างไร และก็จะเป็นการสร้างชุดความรู้ใหม่ในพื้นที่

เช่นเดียวกันกับนาย ข. ชอบปลูกมะเขือก็ทดลองปลูกมะเขือหลายๆ สายพันธุ์แล้ว ก็สามารถมีความรู้เรื่องมะเขือชนิดรู้จริงและสามารถถ่ายทอดได้ ว่าในพื้นที่เรามะเขือชนิดใดเหมาะหรือไม่เหมาะสม ซึ่งเขาต้องค้นหาให้ได้ให้เจอ แต่ทว่าตอนนี้ความรู้ต่างๆ ยังไม่มี พอไม่มีความรู้ที่ชัดเจนมันก็อยู่ไม่ได้ คนถึงอยากมากรุงเทพฯมาเข้าโรงงาน

ส่วนเทคนิคการประสานงานให้คนทั้งหลายมารวมกัน ครูบาสุทธินันท์ บอกว่า “ใช้เสนอปัญหาในพื้นที่ไปว่า เป็นปัญหาสดๆ ร้อนๆ และเป็นปัญหาชีวิตของผู้คนไม่ได้ทำจากศูนย์ เราได้ทำอะไรให้ดูเยอะแยะเลย เราเตรียมคนเตรียมพื้นที่ไว้แล้ว ถ้าไม่มีคนเตรียมตรงนี้เขาก็ลงมาไม่ได้ เราเตรียมคนให้มีปัญหามีอะไรให้พร้อมให้ดู ทำให้เขามาได้ มาถึงก็มีการบ้านร่วมกัน เห็นแล้วก็แบ่งเป็นสายต่างๆ

เช่น สายปศุสัตว์ก็จัดเรื่องปศุสัตว์กัน สายสิ่งแวดล้อมก็จัดเรื่องสิ่งแวดล้อม สายสังคมก็จัดเรื่องสังคม สายการศึกษาจัดการศึกษา สายวิจัยก็จัดงานวิจัย ทุกคนได้ใช้ความรู้ความตระหนักของตนเองลงมาทำร่วมกับตัวชุมชน ซึ่งถือเป็นกระบวนการปฏิบัติการ ไม่ใช่เพียงการประชุมในห้องเฉยๆ มีการบ้านที่จะวิจัยทำร่วมกัน

สมมติว่าจะเลี้ยงไก่ไข่ จะเลี้ยงอย่างไร ชุดความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ในชุมชนกับชุดความรู้ของซีพีไม่เหมือนกัน นักวิชาการเองก็ได้ปรับวิชาการของเขา ยึดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก เพราะมีความสำคัญต่อฐานรากระดับล่าง เพราะฉะนั้นการที่จะพัฒนาข้ามขั้นมันจะไปไม่ได้ ถ้าไม่พัฒนาตรงนี้ให้ชัด ถ้าไม่ทำเรื่องพอเพียงให้ชัดมันจะเป๋ไปเลย

เมื่อพูดกันถึงตัวชี้วัดของงานหรือโครงการที่ทำ ครูบาสุทธินันท์คิดว่า ตัววัดผลของโครงการน่าจะเป็นสิ่งที่สมาชิกในกลุ่มออกมาพูดว่าเรียนแล้วมัน เปลี่ยนแปลงอะไรในตัวเขา และประโยชน์ที่ได้รับอยู่ตรงไหน ผลลัพธ์เป็นอย่างไร โดยก่อนเข้าร่วมโครงการจะให้สมาชิกทำระบบข้อมูลไว้ว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ทำอะไรอยู่ และพอมาร่วมโครงการแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง นั่นก็คือวัดประเมินผลจากคนที่เข้ามาร่วม ซึ่งจะเป็นคนบอกได้ดีที่สุดว่าประโยชน์ที่ได้รับคืออะไร

ความคาดหวังที่ว่าคนจำนวน 100 คน ที่เข้าร่วมในโครงการจัดการความรู้ชุมชน จะขยายเครือข่ายออกไปได้มากน้อยเพียงใดนั้น ครูบาสุทธินันท์เห็นว่า เรื่องนี้เป็นของใหม่ ที่ผ่านมาชีวาลัยอีสานมีหลายโครงการ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งมีสมาชิกหลายหมื่นคนแต่เป็นโครงการที่ไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายเฉพาะ กลุ่ม

แต่โครงการจัดการความรู้ชุมชนนั้นมีการตั้งเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้มันสร้างชุดความรู้ใหม่ขึ้นมา ซึ่งถ้าสร้างได้มันก็จะมีความน่าสนใจ มันเป็นเรื่องแปลก เรื่องใหม่ คนก็จะสนใจมาเรียนรู้ เช่น อีสานทำเรื่องหน่อไม้ฝรั่ง เมื่อก่อนไม่เคยปลูก พอปลูก คนปลูกก็จะเล่าให้ฟังได้ว่ามันดีกว่าการปลูกพืชผักเก่าๆ อย่างไร

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น