ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น

8 ธันวาคม 2557 แหล่งเรียนรู้ 0

ศูนย์เรียนรู้ มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่บ้านของครูสมทรงได้มีการรวมตัวกับกลุ่มชาวบ้านสาขาอาชีพต่างๆ จัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป ได้แก่ความรู้ด้านต่างๆ 6 ภาควิชา ได้แก่ การทำขนมไทย ผักและผลไม้แช่อิ่ม การทำนาเกลือ การทำน้ำตาลมะพร้าว การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาซักผ้า เป็นต้น ทุกคนมาช่วยเป็นวิทยากรด้วยใจ ไม่ได้คิดเงิน และมุ่งให้ความรู้กับเด็กหรือเกษตรกรที่สนใจนำไปเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับตนเอง

หลังจากกลุ่มองค์กรเกษตรกร และผู้นำท้องถิ่นหมู่ 4 ต.บางพรหม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ได้ตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และศูนย์การท่องเที่ยวทางการเกษตร ใช้กระบวนการเครือข่ายมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุทรสงคราม โดยใช้ความรู้ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาตัวเองเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการ ทำงานของศูนย์ มาตั้งแต่ปี 2544 และถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนและประชาชนที่สนใจและเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางการเกษตร

mahawitbann

ศูนย์แห่งนี้ ถ่ายทอดความรู้หลากหลายวิชา ทั้งเกษตรธรรมชาติ และพลังงานยั่งยืน การแปรรูผลผลิตการเกษตร อีกทั้งจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางพรมสร้างสรรค์ ผลไม้กลับชาติ กลุ่มปรับปรุงคุณภาพสวนส้มโอปลอดสารพิษ รวมถึงการเรียนรู้สมุนไพรไทย และแพทย์แผนไทย เมื่อเร็วๆนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พาสื่อมวลชลเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์แห่งนี้

mahawitchum

พิจิตร บริบูรณ์ เจ้าของสวนส้มโอวรมิตร บอกเล่าถึงปัญหาการผลิตส้มโอเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาผลผลิตในสวนส้มโอฟ่าม จึงทดลองใช้เกลือทะเล 1 กำมือใส่ต้นส้มโอพร้อมๆกันเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และใช้น้ำส้มควันไม้แก้ปัญหาเรื่องแมลง ปรากฏว่าผลผลิตของส้มโอที่ออกมาเนื้อนิ่มให้รสชาติกลมกล่อม ทั้งนี้การทดลองใช้เกลือ นั้น จำได้ว่าเมื่ออดีตแม่จะใช้เกลือ 1 กำมือใส่โคนต้นส้มโอ เพราะเกลือมีธาตุโปตัสเซียม ถ้าเกลือไม่มีใช้ขี้แดดนาเกลือแทนได้ ทำให้ให้ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่มีรสชาติดี ส่งผลให้สวนวรมิตรคว้ารางวัลการประกวดส้มโออยู่บ่อยครั้ง

เจ้าของสวนส้มโอวรมิตรเล่าว่า เคล็ดลับสำคัญของการทำสวนส้มโอคือการรักษาแหล่งน้ำในสวนให้สะอาดมีระบบถ่าย เทน้ำที่ดี โดยเลี้ยงแหนแดงในร่องสวน และมีตาข่ายกักวัชพืชเช่นผักตบชวา สาหร่าย ไม่ให้ไหลสู่ร่องสวน ไม่เช่นนั้นนำจะเสีย น้ำจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นของสวนส้มโอ ในช่วงหน้าแล้งหากสวนชุ่มชื้นมีไลเคนเกาะอยู่ตามต้นไม้ ส่งผลให้ส้มโอให้ผลได้ทั้งปีอีกทั้ง ปกติหน้าแล้งส้มโอจะมีปัญหาผลผลิตสีเหลือง แต่ควบคุมความชุ่มชื้นได้สวนให้ดีส้มโอจะให้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ

mahawitklong

ผลผลติของสวนยังไม่ถึงขั้นส่งออก เพราะเงื่อนไขการส่งออกมีเยอะแต่จะขายตรงที่ตลาดน้ำอัมพวา มีทั้งขายเป็นลูก และปอกเปลือกทำเป็นแพ็ค จะชิมส้มโอทุกลูกที่ปลอกเปลือกออกมา ถ้ารสชาติไม่ดีเราก็ไม่ขาย ดังนั้นการผลิตส้มโอแบบปลอดสารเคมีก็ทำให้ชีวิตเจ้าของสวนปลอดภัยด้วย เพราะเราต้องกินส้มโอที่เราปลูกอยู่ตลอดเวลาเจ้าของสวนเล่า

พื้นที่ของจ.สมุทรสงครามที่เต็มไปด้วยสวนผลไม้หลากหลายทั้งมะพร้าว ส้มโอ ลิ้นจี่ ผลไม้ท้องถิ่นประดามี ปลูกบ้างขึ้นเองตามธรรมชาติบ้าง ทำให้ที่นี่อุดมสมบูรณ์ทั้งแหล่งอาหารและอากาศอันบริสุทธิ์ ขณะเดียวกันภูมิปัญญาไทยด้านอาหารการกิน ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันยังถูกรื้อฟื้นเพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้กับ ชุมชน

mahawitsuan

กลุ่มแม่บ้านเกษตรบางพรมสร้างสรรค์ ผลไม้กลับชาติ(วิสาหกิจชุมชน) โนำผลไม้รสชาติเปรี้ยวขม มาแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม อาทิเช่น บอระเพ็ด มะระ มะนาว พริก ขิง กระชาย หรือแม้กระทั่งส้มโออ่อนซึ่งปกติต้องทิ้งสามารถนำมาทำเป็นของหวานได้อย่าง น่าอัศจรรย์ แต่กว่าจะได้ผลไม้กลับชาติต้องใช้ความอดทนรอนานนับเดือนกว่าที่น้ำตาลจะแทรก ซึมเข้าเนื้อผลไม้ กลับชาติจากผลไม้รสไม่รื่นลิ้นมาเป็นผลไม้แช่อิ่มหวานฉ่ำแถมคงสีสวยสดคงตาม ธรรมชาติ

ฉวีวรรณ หัตถกรรม ประธานกลุ่มเกษตรพัฒนา พืชผักผลไม้แช่อิ่มกลับชาติ เล่าว่าเดิมทีผลไม้กลับชาติเป็นสูตรลับของตระกูล เวลาทำจะแอบทำไม่ให้คนนอกครอบครัวรู้เห็น เน้นทำในโอกาสสำคัญไว้ถวายพระเลี้ยงแขกคนสำคัญ แต่เมื่อมาตั้งกลุ่มจึงนำสูตรนี้มาเผยแพร่ ผลไม้แต่ละตัวมีกรรมวิธีทำต่างกันเช่นบอระเพ็ดตัดมาสดๆ ล้างแล้วแช่เกลือ ล้างด้วนน้ำปูนใส โดยใช้น้ำตาลทราย 3 ก.ก.ต่อบอระเพ็ด 1 ก.ก. ทิ้วไว้ 15 วันจะจะนำมาจำหน่ายได้ ในราคากิโลกรัมละ 600 บาท สินค้าเก็บไว้ทั้งปี โดยมีจุดจำหน่ายอยู่ที่ที่กลุ่มและมีลูกค้ามาซื้อยังแหล่งผลิต ทำให้กลุ่มมีรายได้ต่อเดือนนับหมื่นบาท เพราะส่วนใหญ่ไม่ต้องลงทุนด้านวัตถุดิบ ผลไม้หาได้จากสวน เช่นตะลิงปิง ส้มโอ มะระกอ บอระเพ็ด มีบางส่วนที่ซื้อเช่นมะระ มะนาวเป็นต้น

mahawitka

กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงแห่งนี้ ยังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้วิชาชีพที่ใกล้ชิดกับชุมชุมและนำกลับไปใช้ประโยชน์ ได้เช่นการเพาะถั่วงอกมือถือ ปลอดภัยจากสารเคมี สามารถปลูกถั่วงอกที่บ้านได้เพียงใช้ถังพลาสติก และแผ่นกระสอบ หรือการน้ำส้มควันไม้ การทำถ่านผลไม้ดูดกลิ่น

สถาพร ตะวันขึ้น รองประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบางพรหม เล่าว่า การทำถ่านผลไม้หาผลไม้ได้จากสวน เช่นมะพร้าว น้อยหน่า กล้วย ต้องเป็นผลไม้ดิบซึ่งระหว่างการเผาผลไม้ให้เป็นถ่านจะเกิดน้ำส้มควันไม้ และสามารถนำพืชบางชนิดมาทำเป็นชาได้เช่นตะไคร้ ดอกอัญชัน เป็นต้น

ตอนแรกก็ลองผิดลองถูก การเผาถ่านผลไม้ใช้ความร้อน 100 องศา โดยใส่ในกระถางผลไม้ และใช้ใบตองสดช่วยจะผลไม้ถ่านที่ได้ออกมามีสันสวยงาม สถาพร ในฐานประธานกลุ่มคนเอาถ่านเล่า

กลุ่มคนเอาถ่านของสถาพรถ่ายทอดความรู้การทำน้ำส้มควันไม้ อย่างครบวงจรตั้งแต่การประดิษฐ์อุปกรณ์ และวิธีทำมาอบรมเป็นหมู่คณะสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 089-6795342

mahawittan

สมุทรสงครามที่กำลังมาแรงด้านการท่องเที่ยวแต่ในภาคการเกษตร โดยการรวมตัวของชาวบ้านเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่และยั่งยืนก็เป็นตัวอย่างน่า สนใจและเข้าไปศึกษาเรียนรู้พอกับการท่องเที่ยว

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น