มะพลับ เนื้อไม้มีรสฝาด บำรุงธาตุ

14 มีนาคม 2558 ไม้ผล 0

มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น มะพลับเป็นพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มต่ำบริเวณแนวกันชน ระหว่างป่าบกและป่าชายเลน บริเวณชายคลอง และชายป่าพรุ เหนือระดับน้ำทะเล 2-30 เมตร ทางภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros malabarica (Desv.) Kostel. var. siamensis (Hochr.) Phengklai
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ : Bo Tree
ชื่อภาษาไทยทั่วไป : ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่

ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดนครราชสีมา เรียก ขะนิง ถะยิง
ภาคกลาง เรียก ตะโกไทย
จังหวัดเพชรบุรี เรียก ตะโกสวน ปลาบ
จังหวัดสกลนคร เรียก มะเขื่อเถื่อน
จังหวัดลำปาง(ภาษา กะเหรี่ยง) เรียก มะสุลัวะ

maplubking

ลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8 – 15 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนดำ ทรงพุ่มกลมทึบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบสลับ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 4.00 x 8.00 เซนติเมตร ปลายแหลมมนและโคนใบมน ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกขนาดเล็กสีขาวนวล รูปคณโฑคว่ำ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.50 เซนติเมตร ผลสุกสีส้มเหลือง เมล็ดมี 8 เมล็ด สีน้ำตาลดำทรงรีแป้น ขนาดประมาณ 1.00 x 2.00 เซนติเมตร

  • มะพลับเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลปนเขียวอ่อน หรือปนดำ
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ตัวใบรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-20 ซม. โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวทู่ เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน หรือมีขนประปรายบ้างตามเส้นกลางใบด้านล่าง เส้นใบมี 6-12 คู่ แต่ละเส้นคดงอไปมา พอมองเห็นทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนประปราย
  • ดอก มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. มีขนหนาแน่น ดอกเพศเมียมักออกเดี่ยวๆ ตามกิ่งเล็กๆ ก้านดอกยาว 5-10 มม. มีขนคลุมแน่น
  • ผล กลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ผลแก่ค่อนข้างนุ่ม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงคลุม เกล็ดเหล่านี้หลุดง่าย กลีบจุกผลแต่ละกลีบเกือบไม่ติดกัน เกลี้ยงหรืออาจมีขนบ้างทั้งสองด้าน กลีบส่วนมากจะพับกลับ มีบ้างที่แผ่กางออก ขอบกลีบมักเป็นคลื่น ไม่มีเส้นลายกลีบ

maplubton maplubkai maplubsoog maplubpon

ประโยชน์ทางยา
อาทิ ตามตำรายาไทยกล่าวว่า เปลือกต้นและเนื้อไม้มีรสฝาดมีสรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับผายลม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด เป็นยาสมานแผล และห้ามเลือด, ผลแก่รับประทานได้

การใช้ประโยชน์
มีมากมาย อาทิ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึงและ แกะสลัก , เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง, ยางของลูกมะพลับให้สีน้ำตาลนำมาละลายน้ำใช้ย้อมผ้า แห และอวน เพื่อให้ทนทานเช่นเดียวกับตะโก แต่ยางของลูกมะพลับใช้ได้ดีกว่ามาก เพราะไม่ทำ ให้เส้นด้ายแข็งกรอบเหมือนผลตะโก จึงทำให้ยางของมะพลับมีราคาดีกว่าตะโกมาก จึงมีพ่อค้าหัวใส นำยางของผลตะโกปลอมขายเป็นยางมะพลับ จึงได้เกิดมีคำพังเพยว่า ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก

maplubpa

การปลูก
พบขึ้นตามป่าดงดิบ และตามบริเวณป่าชายเลน เหนือระดับน้ำทะเล 2-30 เมตร ทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

maplubkla

ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น เนื้อไม้

รสและสรรพคุณ
ตามตำรายาไทยกล่าวว่า เปลือกต้นและเนื้อไม้มีรสฝาดมีสรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง ขับผายลม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด
ขนาดและวิธีใช้

  1. บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม
  2. แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด นำเปลือกต้นและเนื้อไม้ ย่างไฟให้กรอบ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ชงดื่ม

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น